วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การลงสาเหตุการตาย


                 ข้อพึงสังเกตในการลงสาเหตุการตาย
1.ถึงแม้ว่าทราบแน่ชัดว่าโรคติดเชื้อหรือปรสิตบางชนิดเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งบางอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในตับ แต่เวลาตายเราจะลงสาเหตุการตายเป็นโรคมะเร็ง ยกเว้น HIV ที่ทำให้เกิด kaposi’s  sarcoma แล้วตายกรณีนี้ให้สาเหตุการตายเป็นHIV
2. วัณโรคของระบบประสาทหรือวัณโรคอวัยวะอื่น ร่วมกับวัณโรคปอด ให้ลงสาเหตุการตายเป็นวัณโรคปอด ยกเว้นทราบแน่ชัดมาก่อนมาก่อนว่าเป็นวัณโรคปอด
3. ถ้าผู้ตายเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต (septicemia) หลังการบาดเจ็บเล็กน้อย    เช่น แผลถลอก ฟกช้ำ ห้อเลือด แมลงไม่มีพิษกัด first degree burn ให้ลงสาเหตุการตายเป็น Septicemia  หรือไฟลามทุ่ง   ไม่ใช่สาเหตุของการบาดเจ็บเล็กน้อย    แต่ถ้าบาดเจ็บมากกว่านั้นให้ลงสาเหตุการบาดเจ็บเป็นสาเหตุการตาย
4.ไม่ลงสาเหตุการตายว่าจากการสูบบุหรี่  ถึงแม้ว่าน่าจะเป็นสาเหตุ เช่น มะเร็งปอด    และหลอดลม  โรคหัวใจขาดเลือด ถุงลมปอดโป่งพอง  หรือโรคปอดเรื้อรัง  เช่นเดียวกับไม่ลงสาเหตุการตายว่าดื่มสุรา   ในผู้ที่ตายจากตับแข็งเพราะสุรา
5. ไม่ลงอัมพาต เป็นสาเหตุการตายถ้าทราบสาเหตุของอัมพาต
6.ไม่ลงความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตาย ถ้ามีความผิดปกติบางอย่างด้วย
     - ควรลงเป็นโรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง ถ้าหัวใจผิดปกติหรือมี   Heart failure
     - ควรลงเป็นโรคไตจากความดันโลหิตสูง  ถ้าไตผิดปกติ เช่น ไตวาย ไตหดเล็กลง
     - ควรลงเป็นโรคหัวใจและไต จากความดันโลหิตสูง ถ้าทั้งหัวใจและไตผิดปกติ
     - ควรลงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดถ้ามี Ischeamic heart disease
     - ควรลงเป็นเส้นเลือดสมองแตกหรือตีบตัน ถ้ามี CVA
7.ลงสาเหตุการตายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าพบ Ischeamic heart disease
ใน / ร่วมกับ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง  โรคไตจากความดันโลหิตสูง
Essential hypertension  หรือหลายโรคพร้อมกัน
8.ไม่ลงสาเหตุการตายเป็น Atherosclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของหลายโรคแต่ลงชื่อโรคไปเลย  เช่น  ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ     CVA
9.ไม่ลงสาเหตุการตายเป็น  ไข้หวัด (Common clod) หรือทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบเฉียบพลันถึงแม้จะเป็นเหตุนำของหลายโรค แต่ลงชื่อโรคไปเลย  เช่น  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  ฝีในสมอง  หูน้ำหนวก
10.ไม่ลงลักษณะของการบาดเจ็บหรือเป็นพิษที่เกิดจากสาเหตุภายนอกเป็นสาเหตุการตาย  แต่ให้ลงสาเหตุของการบาดเจ็บหรือเป็นพิษนั้น  เช่น  ลงสาเหตุตายเป็น ฆ่าตัวตายโดยกระโดดจากที่สูง  ไม่ลงว่าตายจากกะโหลกศรีษะแตกสมองฉีกขาด
11.ถ้ามีบาดแผลจากอะไรก็ตามแล้วเป็นบาดทะยักตาย ให้ลงสาเหตุตายเป็นบาดทะยัก
12. ถ้าเป็นลมชัก (Epilepsy) แล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงตายให้ลงสาเหตุตายเป็นโรคลมชัก
รูปแบบการตาย (MODE  OF  DEATH) ที่ห้ามเขียนคือ
1.คำที่แสดงว่า อวัยวะสำคัญหยุดทำงาน
2.เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตไม่นาน เช่น หัวใจล้มเหลว  หายใจล้มเหลว ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สมองหยุดทำงาน  หัวใจหยุดเต้น







วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การคีย์เยี่ยมหลังคลอด

จากการทดสอบการส่งข้อมูลเข้าไปที่สสจ.แล้วพบว่าการเยี่ยมหลังคลอด โปรแกรมprovisจะไม่กรองการเยี่ยมหลังคลอดไว้ให้ครบ2ครั้งแล้วค่อยส่งไปสปสช. ดังนั้นเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลแฟ้มPP และMCH จึงจำเป็นต้องรอเวลาให้ครบกำหนดเยี่ยมครั้งที่2 แล้ว เราค่อยมาคีย์เยี่ยมหลังคลอด เพื่อให้เวลาส่งออก21แฟ้ม จะได้มีข้อมูลการเยี่ยมแม่และลูกครบ2ครั้ง แต่จากการบอกเล่าของอาจารย์สัมฤทธิ์ สุขทวี แจ้งว่าJHCIS เวอร์ชั่นหน้า jhcis จะทำการกรองเอง โดยจะส่งข้อมูลออกไปที่21แฟ้ม เมื่อมีผลการเยี่ยมหลังคลอดครบ2ครั้งครับ 

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การคีย์ความครอบคลุมการคลอดกรณีเราไม่ได้ทำคลอดเอง

เนื่องจากทุกวันกรณีservice หรือไม่ใช่service ทำให้หลายๆท่านอาจจะงง แล้วก็มาเจอตอกับการคีย์คลอดกรณีที่เราไม่ได้ทำคลอดเอง(ผมว่าตอนนี้น้อยมากที่ รพ.สต.ทำคลอดเอง) ส่วนใหญ่ตอนนี้ก็คลอดที่โรงพยาบาลกันเป็นส่วนใหญ่ เริ่มเลยนะครับ
คราวนี้ลองศึกษาจากไฟล์วีดีโอดูบ้างนะครับ เผื่อเข้าใจง่ายกว่าการอ่านเอา แต่ขออภัยด้วยด้วยเนื่องจากอัดสดไม่มีสคริป ทำแบบรีบด่วน เนื่องจากมีน้องๆหลายๆท่านถามมาแล้วอธิบายดูท่าจะไม่เข้าใจ ลองศึกษาวีดีโอดูนะครับถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็แจ้งกลับมานะครับ จะพยายามหาวิธีมาอธิบายให้เข้าใจ
http://dl.dropbox.com/u/28878454/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94.avi

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

jhcis version 20 สิงหาคม 2555

หลายๆท่านคงได้ใช้jhcis ในเวอร์ชั่นนี้กันบ้างแล้วนะครับ และก็น่าจะเจอปัญหากันเข้าไปบ้างแล้ว ดังนั้นวันนี้ผมเลยมาขออนุญาตแนะนำเบื้องต้นในการจัดการjhcis version 20 สิงหาคม 2555นะครับ
1.หลังจากที่ได้อัพเวอร์ชั่นแล้ว ขอให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลให้เรียบร้อย
2.จากนั้นให้ทำการนำเข้ารหัสโรค(icd10 tm version5) ที่ปรับปรุงใหม่ ตามประกาศสปสช.(ปี2555) จำนวน41147 รายการ
เท่านี้ jhcis ของท่านก็น่าทำงานได้แล้วครับ แต่จากการทดลองใช้มา2 วัน พบว่าปัญหาคือมันไม่สามารถวินิจฉัยรหัสโรคกลุ่ม U ได้ วิธีแก้ไขอย่างง่ายๆ(เอาแบบเฉพาะหน้าไปก่อนนะครับ) คือเปิดฐานข้อมูลแล้วไปที่ตารางcdisease จากนั้นก็ตามไปดูที่ฟิลด์สุดท้ายที่ชื่อว่า valid score แล้วแก้ไข จาก n ให้เป็นy
ส่วนท่านใดที่มีความสามารถด้านsql ก็เขียนคิวรี่จัดการเอาเองนะครับ
ปัญหาอีกอันคือเรื่องโภชนาการ ในกรณีที่เด็ก0-5 ปี ที่มารับวัคซีนที่รพ.สต. เราไม่สามารถใส่น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศรีษะได้ (หรือว่ามันคีย์ได้แต่ผมหาไม่เจอเอง) ตอนนี้กำลังหาวิธีคีย์อยู่ครับ
เท่าที่เห็นปัญหาก็ประมาณนี้ครับ 

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รหัสโรคของjhcis version 18 สิงหาคม 2555

ตอนนี้ก็เห็นมีหลายท่านนะครับที่ได้ทดลองใช้jhcis version 18 สิงหาคม 2555 ไปกันบ้างแล้ว หลายๆท่านก็มีคำถามเข้ามาว่าทำไมโรคในjhcisยังมีเท่าเดิมคือมี40841 โรค ทำอย่างไรโรคถึงจะมีครบตามประกาศ
อันนี้ไม่ยากครับ หลังจากที่ท่านได้ทำการปรับโครงสร้างฐานข้อมูลของเวอร์ชั่น18สิงหาคม 2555เสร็จสิ้นแล้ว ให้ท่านไปทำการนำเข้ารหัสโรค(ICD10TM v5)ที่ปรับปรุงใหม่ตามประกาศสปสช.ปี2555 จำนวน41147 รายการ โดยคลิ๊กเข้าที่ปุ่มนี้ในjhcis ใช้เวลาพอประมาณก็จะนำเข้ารหัสโรคเสร็จครับ
เท่านี้jhcis ของท่านก็จะมีรหัสโรคเพิ่มเป็น 41147โรคครับ และกลุ่มโรคเรื้อรังก็เป็นไปตามประกาศของสนย./สปสช.ครับ 

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

jhcis เวอร์ชั่นเฉพาะกิจครับ

http://dl.dropbox.com/u/28878454/jhcis.jar
หลังจากdownloadไปแล้ว ให้นำไฟล์นี้ไปวางที่ drive c >>programe files>>>jhcis ก่อนจะวางrename jhcis.jar ตัวเดิมไว้ก่อนก็น่าจะดีนะครับ เวอร์ชั่นนี้สามารถส่งออกประชากรทั้งหมดและผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมดได้ครับ ส่วนอื่นๆก็น่าจะเหมือนกับjhcis version 3 กรกฎาคม 2555

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

chronicfu

ช่วงนี้ก็คงเป็นช่วงที่แต่รพ.สต.คงกำลังง่วนอยู่กับการแก้ไข ปรับปรุง ตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ทันส่งสปสช.ในเดือนนี้กันนะครับ พอดีวันนี้เห็นน้องๆจากหลายๆที่กังวลมากเรื่องchronicfu ว่าตรวจอย่างไรก็ไม่ผ่าน มีแต่บอกว่าน้ำหนักกับส่วนสูงต้องเป็นจุดทศนิยม 2หลัก น้องๆหลายคนตามเข้าไปดูในเจก็เห็นมีอยู่2 หลักแล้วมันจะerrorได้ยังงัย ครับจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรหรอกครับ คือมันเป็นอย่างนี้ตัวโปรแกรมjhcisของเรามันส่งค่าออกมาเป็นทศนิยมหลักเดียวครับ วิธีแก้ไขเฉพาะหน้าให้ทำตามนี้ไปก่อนนะครับ คาดว่าjhcisเวอร์ชั่นใหม่ออกมาวางเมื่อไหร่คาดว่าปัญหานี้น่าจะหมดไปครับ วิธีแก้ไขเฉพาะหน้าขณะนี้คือให้ไปเติมเลข 0ใส่ในฟิลด์ของน้ำหนักและส่วนสูงครับ เมื่อทำเสร็จหมดทุกคนแล้วก็zip แล้วค่อยเอาไปตรวจใหม่ คราวนี้ผ่านแน่ๆครับ ตัวอย่างตามข้างล่างครับ
pcucode|pid|seq|date_serv|weight|height|waist_cm|sbp|dbp|foot|retina|d_update|cid
04600|3314|134944|20120727|51.00|160.00|72|120|70|1|9|20120727085622|3411100057111
04600|4775|134918|20120726|47.00|155.00|72|128|70|1|9|20120726163054|3411100050516
04600|1816|134915|20120726|53.00|165.00|78|136|76|1|9|20120726162441|3411100018922
04600|4809|134911|20120726|89.00|150.00|107|160|100|1|9|20120726161631|3460900066009
04600|6318|134909|20120726|58.00|150.00|93|128|82|1|9|20120726160913|3471300060710
04600|6880|134908|20120726|80.00|155.00|82|140|100|1|9|20120726155243|3411100863312
04600|4712|134904|20120726|40.00|150.00|82|118|70|2|9|20120726153728|3411100005839

เห็นมั๊ยครับ jhcis มันง่ายง่ายนิ๊ดเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

home visit version ล่าสุด 2.0.12 ครับ

สำหรับหลายๆท่านที่ได้ติดตามโปรแกรมhome visit และได้เฝ้ารอ เวอร์ชั่นใหม่ วันนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ในกรณีที่ท่านอยู่ในจังหวัดอุดรธานี และท่านได้ลงพิกัดหลังคาเรือนไว้ที่serverของสสจ.อุดรธานีแล้วนั้น(google map) ท่านสามารถนำเข้าพิกัด lat long จากserver สสจ.อุดรธานี กลับเข้าที่โปรแกรมhomevisit และjhcisได้แล้วครับ ส่วนจังหวัดอื่นๆ แนวทางการพัฒนาต่อไปคือให้home visit ทำหน้าที่เก็บพิกัด จากนั้นก็ส่งพิกัดนี้เข้าที่server แต่ละสสจ.ครับ
คู่มือตัวใหม่จะรีบจัดทำให้ครับ ท่านสามารถdownload โปรแกรมได้ที่
http://203.157.168.8/homevisit/

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาชีพ และสิทธิในโปรแกรมjhcisเวอร์ชั่น 3 กรกฎาคม 2555

เนื่องจากมีหลายๆท่านได้เกิดวิตกกังวล เรื่อง อาชีพ และสิทธิในโปรแกรมjhcisว่า เราจะต้องไปปรับให้อาชีพเปลี่ยนจาก3หลักเป็น4หลักมั๊ย และสิทธิก็ต้องเปลี่ยนจาก2หลักเป็น4หลักมั๊ย คำตอบคือท่านไม่ต้องไปทำอะไรครับ ในjhcisเวอร์ชั่นนี้ทางทีมงานjhcisได้ทำการmap ให้ท่านแล้วเรียบร้อยครับ โดยท่านสามารถตามไปดูที่ได้ดังนี้
1.ทำการlog in เข้าjhcisด้วย adm แล้วไปที่โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
2.คลิ๊กเข้าไปที่อาชีพ/สิทธิ ท่านจะพบว่าทางทีมงานได้mapไว้ให้แล้ว
3.ส่วนสิทธิทางทีมงานก็ได้จัดทำไว้ให้แล้วเช่นเดียวกันครับ
http://dl.dropbox.com/u/28878454/Book1.xls

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้สั่งการนวด

เนื่องจากขณะนี้มีหลายๆจังหวัดได้มีผู้ผ่านการอบรมเป็นผู้สั่งการนวด แล้วท่านผู้สั่งการนวดทั้งหลายก็เข้าใจผิดในการคีย์ข้อมูลการนวด โดยท่านผู้สั่งการนวดเข้าใจว่าตัวท่านสามารถคีย์ข้อมูลการนวดได้
1.ผู้สั่งการนวดมีหน้าที่สั่งการนวด ไม่ใช่ผู้นวด แต่ถ้าผู้สั่งการนวดผ่านอบรมหลักสูตรนวดมากรณีนี้ท่านอาจจะต้องแสดงตัวใน2บทบาทคือเป็นทั้งผู้สั่งการนวด และเป็นผู้นวดไปด้วย แบบนี้เวลาคีย์นวดในjhcis ท่านสามารถใช้ log in ของท่านได้ไม่ผิดกติกาและวันนึงนวดได้ไม่เกิน5คน
2.ในกรณีที่รพ.สต.ท่านมีแต่ผู้สั่งการนวด แต่ไม่มีคนนวดไม่ว่าจะเป็นนักการแพทย์แผนไทยหรือผู้ช่วยแพทย์แผนไทย กรณีนี้ถ้าท่านคีย์ข้อมูลการนวดเข้าไปในjhcis โดยที่ท่านไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสปสช.ไว้ กรณีนี้ท่านน่าจะฟาวล์ครับ
3.การเปิดบริการนวดในแต่ละรพ.สต. ท่านต้องไปขอขึ้นทะเบียนกับสปสช.ตามเขตที่ท่านอยู่
4.การวินิจฉัยกรณีนวดหรือจ่ายยาสมุนไพร อันนี้คงแล้วแต่ละสปสช.ของแต่ละเขตว่าจะเอาอย่างไร เพราะบางเขตก็ไม่จำเป็นต้องมีรหัสuร่วมด้วย บางเขตก็ต้องมีรหัสu ด้วย
หวังว่าคงพอกระจ่างขึ้นสำหรับน้องๆที่ปรึกษามาช่วงเช้านะครับ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

e-mail ผมครับและlinkโหลดhomevisit

jettapol.a@gmail.com
นี่เป็นe-mail ที่ใช้ติดต่อผมหรือจะส่งรายงานที่ต้องการให้มีในhomevisit ก็ส่งมาที่mailนี้นะครับ
นี่เป็นlink สำหรับโหลดโปรแกรมhomevisitจากdropboxผมครับ
http://dl.dropbox.com/u/28878454/homevisit2.0.11_setup.rar

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รหัสICD10ที่ถูกยกเลิกในงานระบาด

รหัส506        ICD10-TM             ชื่อโรคภาษาอังกฤษ                    เหตุผลที่ยกเลิก
4                    A04               Other bacterial intestinal infection            ยกA04ไปไว้ที่acute diarrhea
7                    A01                Typhoid and paratyphoid fevers             A01เป็นICD10รวมของA010-A014
13                 B171               Acute hepatitis C                                  ติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งไม่  
                                                       ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำและไม่มีผลกระทบต่อการควบคุมโรค
32และ34     A15และA16    Respiratory tuberculosis                         โรคในกลุ่มTBควรใช้ระบบTB registy
33                A17,A18 A19 B20 J65 K230 K930 K673 M011 M490 N330 N740 N741
35               A30                   Leprosy                                                 ควรใช้ข้อมูลจากระบบleprosy registy
47 48 49 50 51 ยกเลิกเพราะโรคในกลุ่มEn-Occและinjury มีการพัฒนาระบบรายงาน506/2และinjury
                                                                                                                                                 surveillance
56 57 58 59 60 61 62 63 64 67 69 75 77 ถูกยกเลิก
กลุ่มโรคที่เพิ่มคือ 85 A051 Botulism  เหตุผลที่เพิ่มคือขอแยกจากfood poisoning อื่นๆเนื่องจากมีความรุนแรงสูง

การแยกประเภทเตียงในโปรแกรมhome visit

เนื่องจากหลายท่านได้สอบถามเข้ามามากว่าประเภทเตียงในโปรแกรมhome visit เป็นอย่างไรและแยกอย่างไรวันนี้ผมก็เลยขอมาอธิบายในส่วนนี้นะครับ
1.การจัดระบบ Home Ward 
         โดยใช้เขตหมู่บ้านเป็นขอบเขตของward และมีครัวเรือนเป็นเตียง โดยแบ่งภาวะสุขภาพครอบครัว(เตียง)เป็น3ประเภทคือ ดี/เสี่ยง/ป่วย/ผู้พิการ เน้นในกลุ่มเป้าหมาย CANDO
2.การจัดแยกประเภทเตียง
         ในครอบครัวที่มีปัญหาด้านสุขภาพและมีความจำเป็นต้องติดตามเยี่ยมบ้าน(Round ward)อย่างต่อเนื่องและให้แบ่งประเภทเตียงเป็น3ประเภทตามระดับความต้องการการดูแล

เตียงประเภทที่3 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซับซ้อน มีความยุ่งยากในการดูแล ต้องการการดูแลจากผู้อื่นเกือบทั้งหมด มีสหสาขาวิชาชีพร่วมการดูแลกับพยาบาลประจำ รพ.สต.และนสค.ประจำหมู่บ้าน มีผู้ดูแล(care giver) ดูแลประจำทุกวันและเป็นcare giver ที่สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายได้จริง ผ่านการฝึกอบรม หรือฝึกทักษะการดูแลเฉพาะราย

เตียงประเภทที่2 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาทางสุขภาพหรือเจ็บป่วยและเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนแต่ยังสามารถดูแลตัวเองได้บางส่วน พยาบาลประจำ รพ.สต.และนสค.ประจำบ้านสามารถดูแลได้ และส่งปรึกษากับสหวิชาชีพ/ผู้เชี่ยวชาญในรายที่มีความจำเป็น มีcare giver/อสม./นสค.ประจำบ้านเป็นผู้ดูแล

เตียงประเภทที่1 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี มีนสค.ประจำบ้านและอสม.ประจำคุ้มเป็นผู้ดูแล
3.จัดลำดับตามความสำคัญในการดูแลโดยการ Round Ward

เตียงประเภทที่3 Round ward โดย NP/RN+นสค.ประจำบ้าน+อสม+Care giver+สหวิชาชีพ ในสัปดาห์ที่
1-2 และRound Ward อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)จนกว่าจะย้ายเป็นเตียงประเภท2

เตียงประเภทที่2 Round ward โดยพยาบาลประจำรพ.สต.และนสค.ประจำบ้าน+อสม.+care giver ในสัปดาห์ที่2-3และเยี่ยมอย่างน้อย3เดือนต่อครั้ง(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)เมื่อมีความจำเป็นจนกว่าจะย้ายเป็นเตียงประเภท1

เตียงประเภทที่ 1 Round ward โดยนสค.ประจำบ้าน+อสม.ประจำคุ้ม และเยี่ยมทุก6เดือน(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)

สำหรับครอบครัวสุขภาพดีและสุขภาพเสี่ยง ให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลคัดกรองภาวะเสี่ยงตามกลุ่มอายุ โดยทีมสุขภาพของ รพ.สต.+นสค.ประจำบ้าน+อสม.1ครั้ง/ปี

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำสั่ง sql อัพหมอประจำบ้าน

update person
set privatedoc='xxxx  xxxx'# ใส่ ชื่อ  นามสกุลของหมอประจำบ้านเข้าไป
where mumoi='x'#'ใส่หมู่บ้านที่รับผิดชอบ'
and subdiscodemoi='xx' #เลขตำบล2หลัก
ถ้าจะให้ดี ควรมีsubdiscodemoiด้วย เผื่อพลาดครับให้เข้าเฉพาะตำบลที่เราผิดชอบ

การวินิจฉัยโรคกรณีที่จ่ายยาสมุนไพร

จากการที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนที่ทำงานที่สปสช.หลายๆเขต เพื่อนๆผมหลายๆคนได้เสนอมาว่าในกรณีที่เราจ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้มารับบริการ เพื่อป้องกันการขาดตกบกพร่องของข้อมูลหลายท่านๆได้แนะนำว่าเมื่อเราวินิจฉัยโรคตามicd10ของWHOแล้ว ให้วินิจฉัยโรครหัสUตามไปด้วยเช่น
นาย ส.มารับบริการที่รพ.สต.แห่งหนึ่งด้วยอาการไข้สูง ไอ เจ็บคอ เป็นมาแล้ว 3 วัน จากการตรวจร่างกายพบว่าทอนซิลบวมแดงทั้ง 2 ข้าง และในcaseเราต้องการจ่ายยาสมุนไพรออกไปกรณีนี้ก็จะมี
ทอนซิลอักเสบ"J03.8" เป็นprinciple และมี
ทอนซิลอักเสบ "U65.31" เป็นco-morbidity
ผมก็เลยถามว่าทำไมต้องวินิจฉัยรหัสUร่วมด้วย ได้รับคำตอบแบบไม่มีคำตอบว่า ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ในเรื่องนี้จาก..... แต่ทำแบบนี้ไว้เผื่อกันพลาด เนื่องจากเงินของกองทุนแพทย์แผนไทยก็เยอะเหมือนกัน ดังนั้น ณ บัดนี้
"เมื่อคุณจ่ายยาสมุนไพรออกมา ขอให้มีวินิจฉัยร่วมรหัสUเสมอ" 

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการลงโปรแกรมhome visit

http://dl.dropbox.com/u/28878454/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20home%20visit.doc
ดาวน์โหลดไปอ่านเลยครับ

โปรแกรม home visit

วันนี้ขออนุญาตใช้บล๊อกตัวเอง แนะนำโปรแกรมที่ตัวเองร่วมพัฒนากับอาจารย์มรกต พิมพาเลีย หน่อยนะครับ เนื่องจากว่าตอนนี้หลายๆค่ายก็ปล่อย application ที่ทำงานบนipad หรือandroid เช่น jhcis for ipad ,ffc for android แล้วคราวนี้สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเราๆที่ไม่มีทั้งipad และ galaxy tab แต่มีnotebook คู่ใจ หรือnetbook คู่ใจ แล้วอยากไปเยี่ยมบ้านแบบsmart ได้งานกลับมาโดยที่ไม่ต้องมีคีย์ซ้ำจะทำอย่างไร
นี่คือทางออกสำหรับท่านที่มีnotebook หรือnetbook ที่อยากออกไปเยี่ยมบ้านโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน เยี่ยมบ้านแบบsmart  แถมสุดท้ายมีรายงานที่ตอบสนองต่อผู้บังคับบัญชาด้วย" Home visit" คือคำตอบตรงนี่ครับ
ดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้ได้ครับ ไม่กั๊ก ไม่มีหมดอายุ ที่สำคัญใช้ฟรีครับ ดาวน์โหลดได้เลยที่
203.157.168.8/homevisit
เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ 2.0.11นะครับ เวอร์ชั่นนี้สามารถส่งผลการเยี่ยมบ้านจากhome visitกลับเข้ามาที่jhcis และncd screen ได้โดยที่ไม่ต้องกลับมาคีย์ซ้ำครับ เวอร์ชั่นหน้าทางทีมงานเราคุยกันไว้ว่าจะให้ออกรายงานได้มากกว่านี้ อันนี้ก็คงแล้วผู้ใช้ที่ต้องการรายงานแบบใหน(เสนอแบบรายงานได้ด้วยการส่งแบบฟอร์มรายงานที่ต้องการมาที่ jettapol.a@gmail.com ) สามารถถ่ายรูปได้ ลงพิกัดหลังคาเรือนแล้วให้ส่งค่ามาเก็บที่JHCISได้ครับ
            ส่วนการ install โปรแกรมจะนำเสนอในบทความต่อไปครับ


วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การแก้ไขerrorไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ในการคัดกรองncd

เนื่องจากขณะนี้ในหลายๆจังหวัดได้ให้ทุก รพ.สต.ให้เร่งทำการคัดกรองncdในกลุ่มประชากรอายุ15ปีขึ้นไปให้เสร็จ พอทุกรพ.สต.คัดกรองเสร็จแล้วและนำไปตรวจด้วยโปรแกรมoppp2010ซึ่งพัฒนาโดยสปสช.เขต8 อุดรธานี พบว่ามีerror เกิดขึ้นคือ"ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบริการได้" แล้วหลายๆท่านก็ติดปัญหาว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไรหละ วันนี้ผมมีวิธีการแก้ไขปัญหาตรงนี้ง่ายๆมานำเสนอครับคือ ให้เราเข้าไปที่หน้าคัดกรองncdในjhcis ที่เมนูหมู่บ้านให้เลือกทุกหมู่ในเขต ที่เมนูประชากรให้เลือกประชากรทั้งหมดในเขต จากนั้นก็ให้เอาpidหรือhn ของคนที่error นำมาใส่ที่ช่องHN แล้วคลิ๊กค้นหา ก็จะปรากฎว่าข้อมูลของpidนั้นขึ้นมา จากนั้นผมแนะนำให้คลิ๊กที่ลบ เพื่อลบข้อมูลทั้งหมดของpidนี้ จากนั้นค่อยบันทึกข้อมูลการคัดกรองncdเข้าไป เมื่อข้อมูลครบให้กดที่บันทึก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการแก้ไขerror ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบริการได้ครับ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

PPE specific ขุมทรัพย์สำคัญสำหรับรพ.สต.ที่ใช้jhcis

ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ติดตามบล็อคผมมาโดยตลอดที่ไม่ได้มาอัพข่าวสารในบล็อคตั้งนาน เนื่องจากช่วงนี้ติดภาระกิจอะไรก็ไม่ทราบครับ ติดรับนิเทศ รับประเมิน วงการสาธารณสุขเราก็คงเป็นแบบนี้หละมั้งครับ นิเทศ ประเมิน เสร็จแล้วก็ประเมินและประเมิน ผมว่าเรากลับมาที่หัวข้อที่ผมตั้งไว้ดีกว่า ทำไมผมถึงว่าPPE specific เป็นขุมทรัพย์สำคัญสำหรับรพ.สต.ที่ใช้jhcis คำตอบง่ายนิดเดียวก็เพราะคีย์ข้อมูลง่ายๆมากๆแล้วก็ได้เงินมาง่ายมากแถมได้เงินมากด้วย ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักก่อนนะครับว่าเจ้าPPE specific นี่มีอะไรบ้าง หลักๆก็กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด, เด็ก 0-5 ปี ,เด็ก6-12ปี,กลุ่มอายุ30-60ปี และสุดท้ายอายุ60ปีขึ้นไป
กลุ่มที่1 หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดมีอะไรบ้าง และเราต้องคีย์อะไรบ้างในjhcis
1.1 ANC 4 ครั้งคุณภาพ เป้าหมายที่ทางสปสช.ตั้งมาคือ7%ของหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ25-45ปี ความครอบคลุมคิดที่100% (อันนี้คงแล้วแต่จังหวัด และสปสช.เขตนะครับ บางที่ก็แค่ANCครบตามเกณฑ์แต่อายุไม่อยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้เงิน) ANC 4 ครั้งคุณภาพ ที่จังหวัดอุดรธานีให้เลย 2100 บาท
ดังนั้นการที่ท่านจะคีย์ข้อมูลANCในJHCIS ต้องให้ครบ4ครั้งคุณภาพนะครับ เพราะเงินที่ได้มันคุ้มค่ากับการบันทึกข้อมูลครับ
1.2 PNC อันนี้ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่แค่ท่านไปเยี่ยมหลังคลอดมาให้ครบ2ครั้งแล้วก็คีย์เข้าไปในJHCISให้ครบทั้ง2ครั้ง เท่านี้ก็ได้เงินแล้วครับครั้งละ120 บาท 2ครั้งก็240บาทต่อคน การคีย์เยี่ยมหลังคลอดก็คีย์ทั้งแม่และลูกนะครับ หวังว่าคงจำได้คีย์อย่างไร
1.3 FP อันนี้ก็แค่บันทึกไม่กี่ฟิลด์ในJHCIS ก็ได้แล้วครับ ครั้งละ100 บาท
1.4 Depression screening หญิงตั้งครรภ์และคลอด อันนี้ท่านก็ใช้หลัก 2Q ท่านผ่านทั้ง2ข้อก็ปกติ แต่ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง2ข้อ ก็ถือว่าเสี่ยงหรือมีภาวะซึมเศร้า ท่านก็ใช้ตัว9Qคัดกรองต่อ แต่เนื่องจากว่าในJHCISไม่มี2Q หรือ9Q เวลาที่ท่านจะบันทึกการคัดกรองในjhcis แนะนำให้ถามก่อนที่จะบันทึกข้อมูลนะครับ เพราะว่ามันบันทึกข้อมูลตรงนี้ง่ายมากแค่ไปที่ปุ่ม"กรองเฉพาะโรค"ที่ฟิลด์โรคที่คัดกรองก็คลิ๊กเลือกที่C01 โรคซึมเศร้า แล้วที่ผลการคัดกรองถ้าใครผ่าน2Qก็ลงผลได้เลยปกติครับ ส่วนใครไม่ผ่าน2Qก็ลงไปเลยผิดปกติ แล้วก็ไปที่หน้าวินิจฉัยพร้อมกับวินิจฉัยว่าZ13.3 จะเป็น principleหรือ co-morbidity หรือotherก็แล้วแต่กรณีที่มารับบริการครับ อ้อลืมบอกไปครับค่าคัดกรองข้อนี้ได้55 บาทต่อคนครับ
2.กลุ่มเด็กอายุ0-5 ปี อันนี้ก็คือการคีย์วัคซีนปกติที่ทุกท่านเคยคีย์นั่นหละครับ อันนี้ไม่ยากรายละเอียดก็แยกไปตามนี้สำหรับจังหวัดอุดรธานีนะครับ ส่วนจังหวัดอื่นก็แล้วจังหวัดจะพิจารณาตั้งค่าวงเงินเอาไว้
0-1 ปี 60 บาท/ครั้ง 2-3 ปี 30 บาท/ครั้ง4-5 ปี 20 บาท/ครั้ง แถมถ้ามีตรวจพัฒนาการร่วมด้วย เอาไปอีก10บาท/ครั้ง ดังนั้นทุกครั้งที่ฉีดวัคซีนอย่าลืมตรวจพัฒนาการเด็กด้วยนะครับ
3.กลุ่มเด็ก6-12 ปี กิจกรรมก็มี
3.1 การตรวจสุขภาพทั่วไป/การติดตามการเจริญเติบโต
3.2 ตรวจการได้ยิน
3.3 ตรวจวัดสายตา
3.4 EPI เด็ก ป1.และป.6 
เงินที่ได้แยกจากการคีย์MMR+ตรวจตา หู 70 บาท/ครั้ง dT+ตรวจตา หู 70บาท/ครั้ง
4.กลุ่มอายุ30-60ปี
4.1 คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ก็รับไป250บาท/คน
4.2 คัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็รับไป55 บาท/ครั้ง การคีย์เหมือนที่ได้แนะนำไปแล้ว
4.3 คัดกรองmetabolic และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็รับไป25 บาท/ครั้ง  การคีย์ในJHCIS ก็ไปที่หน้าคัดกรองโรคNCD จากนั้นท่านก็กรอกข้อมูลเข้าไปให้ครบประมาณไม่เกิน10ฟิลด์ วินิจฉัยในกิจกรรมนี้คือZ13.8 และZ13.1 
5.กลุ่มผู้สูงอายุ
5.1คัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็รับไป55 บาท/ครั้ง การคีย์เหมือนที่ได้แนะนำไปแล้ว
5.2 คัดกรองmetabolic และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็รับไป25 บาท/ครั้ง  
จากกิจกรรมจาก5กลุ่มหลักๆถ้าเราบันทึกข้อมูลในJHCISครบทุกกิจกรรม ก็เป็นอันยืนยันได้ว่าท่านจะได้เงินจากกองทุนPPE Specific เป็นกอบเป็นกำแน่ครับ 
จำไว้ว่า ให้บันทึกทุกกิจกรรมที่ทำ ส่วนมันจะเป็นop หรือ pp ค่อยว่ากันทีหลัง และที่สำคัญเราทำข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลครับ ส่วนเงินที่ได้ตามมาถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ
พบกันบทความหน้าครับ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อco-morbidity ในjhcis เวอร์ชั่น 27 มกราคม 2555 หายไป

เนื่องจากหลายท่านอาจจะยังงงๆ หรือสงสัยว่าprinciple กับco-morbidity มันต่างกันอย่างไร วันนี้ผมก็เลยไปรวบรวมข้อมูลมาให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

PRINCIPAL DIAGNOSIS (การวินิจฉัยหลัก)
การวินิจฉัยหลัก (principal diagnosis หรือ main condition)

ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

1. การวินิจฉัยหลักมีได้เพียงการวินิจฉัยเดียวเท่านั้น แพทย์ผู้บันทึกต้องเขียน
คำวินิจฉัยโรคไว้เพียงโรคเดียว

2. การวินิจฉัยว่าโรคใดเป็นการวินิจฉัยหลักให้กระทำเมื่อสิ้นสุดการรักษาแล้ว
เท่านั้น เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย
(final diagnosis) ซึ่งจะเป็นคำวินิจฉัยโรค
ที่ละเอียดชัดเจนมากที่สุด ดังนั้นการวินิจฉัยหลักอาจแตกต่างไปจากการวินิจฉัย
เมื่อแรกรับ
(admitting หรือ provisional diagnosis)
3. ในกรณีของผู้ป่วยใน โรคที่บันทึกเป็นการวินิจฉัยหลักต้องเป็นโรคที่เกิดขึ้น
ในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาล มิใช่โรคแทรกที่เกิดขึ้นมาภายหลัง

ถึงแม้โรคแทรกที่เกิดมาภายหลังจะทำให้สูญเสียทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายในการรักษา
มากกว่า แพทย์ก็มิอาจเลือกโรคแทรกมาบันทึกเป็นการวินิจฉัยหลักได้
4. ในผู้ป่วยที่มีโรคหลายโรคปรากฏขึ้นพร้อมๆกันตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาใน
โรงพยาบาล ให้เลือกโรคที่ได้ทำการรักษาเป็นการวินิจฉัยหลัก หากรักษาหลายโรค
พร้อมๆกัน ให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก หากโรคที่รักษาพร้อมๆกัน
หลายโรคมีความรุนแรงใกล้เคียงกัน ให้เลือกโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุด
เป็นการวินิจฉัยหลัก
5. ในผู้ป่วยบางรายที่แพทย์วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดไม่ได้จนสิ้นสุดการรักษาแล้ว
(ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้ป่วยเสียชีวิตโดยยัง
วินิจฉัยโรคไม่ได้ หรือส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลอื่น
) ให้แพทย์บันทึกอาการ
(symptom) หรือ อาการแสดง (sign) หรือ กลุ่มอาการที่สำคัญที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก
ตัวอย่างที่ 1 ผู้ป่วยประวัติเดิมเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง, โคเลสเตอรอลสูง
ได้รับการรักษาต่อเนื่องมาตลอด ครั้งนี้มีอาการปวดศีรษะ แพทย์ตรวจพบว่า
ความดันโลหิตสูง
200/140 mm Hg วินิจฉัยว่าเป็น malignant hypertension
รับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การวินิจฉัยหลัก : Malignant hypertension
การวินิจฉัยร่วม : Diabetes mellitus type 2, Hypercholesterolemia
…………………………………………………………………………

การวินิจฉัยร่วมและการให้รหัส

การวินิจฉัยร่วม (Comorbidity / Pre-admission comorbidity)
โรคที่เป็น การวินิจฉัยร่วม (comorbidity) คือ โรคที่ปรากฏร่วมกับโรคที่เป็น
การวินิจฉัยหลักและเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความ
เสี่ยงชีวิตสูงมากขึ้น หรือมีการดำเนินการตรวจ วินิจฉัย หรือรักษาเพิ่มขึ้นระหว่าง
การรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนั้น
A. องค์ประกอบที่สำคัญตามคำจำกัดความของโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วม ได้แก่
1. เป็นโรคที่พบร่วมกับการวินิจฉัยหลัก หมายความว่า เกิดขึ้นก่อน หรือ พร้อมๆ
กับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก คือเป็นโรคที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้
รักษาในโรงพยาบาล มิใช่โรคแทรกที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก
เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือ พิการระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ต้อง
เพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติมจากแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญแผนกอื่นๆ ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. แพทย์สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุด
ที่จะบันทึกได้
B. โรคที่มักเป็นการวินิจฉัยร่วม ได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคประจำตัวผู้ป่วย เช่น systemic lupus
erythematosus, old cerebrovascular accident ฯลฯ ในกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บ
หลายตำแหน่ง มักมีบาดแผลต่างๆที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบาดแผลหลักเป็นโรคร่วม
อยู่เสมอ
Common comorbid diseases accompanying principal diagnosis
Chronic diseases
- Diabetes mellitus type 2 - Chronic renal failure
- Rheumatoid arthritis - Hypertension
- Ischemic heart disease - Systemic lupus erythematosus
การให้รหัสการวินิจฉัยร่วม (Comorbidity / Pre-admission comorbidity coding)
การให้รหัสโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วมทุกรหัส ต้องมีการวินิจฉัยโรคอย่างเป็น
ลายลักษณ์อักษรของแพทย์ผู้ดูแล หรือร่วมกันรักษาเป็นหลักฐานรับรองการบันทึกรหัสเสมอ
ผู้ให้รหัสไม่สามารถนำเอาผลการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจพิเศษอื่นใด
ที่มิใช่คำวินิจฉัยโรคของแพทย์มาตีความเป็นการวินิจฉัยร่วมเองโดยพลการ ถ้าหากมีข้อสงสัย
ว่าผู้ป่วยจะมีโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วมอื่นใดที่แพทย์ลืมบันทึก ผู้ให้รหัสอาจส่งเวชระเบียน
ให้แพทย์พิจารณาทบทวนวินิจฉัยโรคเพิ่มเติมได้ก่อนให้รหัส
ตัวอย่าง ผู้ป่วยเดินข้ามถนนถูกรถยนต์ชน ไม่รู้สึกตัว แพทย์ตรวจพบว่าความดันต่ำ
ไม่ค่อยรู้สึกตัว ทำผ่าตัดช่องท้อง พบ
ruptured spleen ทำผ่าตัด splenectomy
ตรวจ
CT Scan ศีรษะพบ left frontal cerebral contusion รักษาโดยให้ยาลดสมองบวม
ตรวจ
X-rays pelvis พบ fracture pubic rami รักษาโดยใส่ external fixator
ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล 30 วัน จึงกลับบ้าน
การวินิจฉัยที่ผิด
การวินิจฉัยหลัก : Car accident with ruptured spleen with cerebral contusion with
fracture pelvis
การวินิจฉัยร่วม : -
External cause : -
การวินิจฉัยที่ถูก
การวินิจฉัยหลัก : Ruptured spleen
การวินิจฉัยร่วม : Cerebral contusion left frontal, Fracture pelvis
External cause : Pedestrian in collision with car in traffic accident  


EXTERNAL CAUSE OF INJURY AND POISONING (สาเหตุภายนอก)
(กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)
กลไกการบาดเจ็บหรือกลไกการได้รับพิษ (external cause of injury and poisoning)
คือ ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าบาดเจ็บมาอย่างไร เป็นอุบัติเหตุ
ถูกทำร้าย ฆ่าตัวตาย ฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเป็นสาเหตุ
ให้สูญเสียประชาชนไทยก่อนวัยอันควร แพทย์ต้องระบุกลไกการบาดเจ็บของผู้ป่วย
บาดเจ็บทุกราย
A. องค์ประกอบที่สำคัญของ กลไกการบาดเจ็บ ได้แก่
1. บอกลักษณะกลไกการบาดเจ็บได้อย่างละเอียด เช่น บรรยายว่านั่งซ้อนท้ายรถ
จักรยานยนต์จะไปทำงาน แล้วรถจักรยานยนต์สะดุดก้อนหินลื่นล้มเอง หรือ
บรรยายว่าถูกฟันด้วยมีดอีโต้ขณะไปเที่ยวที่งานวัด
2. ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย หรือเป็นการฆ่าตัวตาย หรือ
ทำร้ายตัวเอง
B. ผู้ให้รหัสมีหน้าที่สำคัญยิ่งในการบันทึกรหัสผู้ป่วยบาดเจ็บ ถ้าหากแพทย์ไม่ระบุ
กลไกการบาดเจ็บ หรือ ระบุกลไกไม่ชัดเจน ผู้ให้รหัสต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
จากเวชระเบียน เพื่อให้รหัส external cause ได้ครบถ้วนและถูกต้องตรงตามมาตรฐาน
การให้รหัสผู้ป่วยบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสกิจกรรม, รหัสสถานที่เกิดเหตุ และ
รหัสตำแหน่งผู้ป่วยในยานพาหนะแต่ละแบบ