วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การแก้ไขกรณีหมู่บ้านนอกเขตหาย

สวัสดีครับหลังจากที่ผมได้ห่างหายการอัพข้อมูลในบล๊อคผมซะตั้งนาน พอดีมันมีงานหลายอย่างเข้ามาก็เลยไม่ได้มาอัพเดทข้อมูลอะไรเกี่ยวกับjhcis พอดีส่วนใหญ่ช่วงนี้โพสแต่ที่ทางเฟสบุ๊คครับ วันนี้ผมขออธิบายซั๊กเรื่องดีกว่า ตอนนี้ไม่ไหวจะรีโมทไปแก้ไขข้อมูลให้แล้ว ในกรณีที่หมู่บ้านนอกเขตหายไปกลายมาเป็นหมู่บ้านในเขตหมด การแก้ไขก็ไม่ได้ยากมากมายอะไรหรอกครับ ทำตามขั้นตอนนี้นะครับ
1. ท่านต้องไปหาให้ได้ก่อนว่าคนนอกเขตของท่านมีhcode เป็นเท่าไหร่ ง่ายสุดตอนนี้ก็เปิดnavicatขึ้นมาแล้วไปที่คิวรี่ เลือก new query จากนั้นพิมพ์คำสั่งนี้เข้าไปครับ


SELECT pid,hcode
FROM person
WHERE mumoi='0' OR '00';
เท่านี้ท่านก็จะได้ว่าคนนอกเขตของท่านมีhcodeเท่ากับเท่าไหร่
2. เมื่อท่านได้hcodeมาแล้ว ก็ให้เปิดตารางที่ชื่อว่า house ขึ้นมา เลื่อนหาhcodeที่ท่านได้จากข้อ1 
 สมมุตินะครับว่าได้hcode=1 มา จากนั้นให้ท่านไปทำการเปลี่ยนเลข2หลักสุดท้ายที่ฟิลด์villcode โดยแก้ไขเลข2หลักสุดท้ายเป็น "00"
เพียงเท่านี้ท่านก็ได้หมู่บ้านนอกเขตของท่านกลับคืนมาแล้วครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขการใช้JHCISครับ 
พบกันใหม่บทความต่อไปครับ จะพยายามมาอัพเดทข้อมูลให้ทุกสัปดาห์นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกข้อมูลโภชนาการ0-60เดือน



คู่มือการบันทึกโภชนาการเด็ก0-60 เดือน
Jhcis version ที่ใช้จัดทำคู่มือฉบับนี้คือ 1 กรกฎาคม 2557
เขียนและเรียบเรียง โดย เจตพล  เกษแก้ว
แก้ไข ครั้งที่ 2 11/07/2557
          การบันทึกข้อมูลงานโภชนาการสำหรับเด็กอายุ 0-60 เดือน ปกติจะทำการบันทึกกันในเดือน ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม (แต่ในปีงบประมาณ2558นี้ รายละเอียดยังไม่ได้แจ้งออกมา ฉะนั้นเราเคยทำอย่างไรก็ควรทำอย่างนั้นไปก่อนนะครับ จนกว่าจะมีหนังสือหรือเอกสารให้เปลี่ยนแปลง) การบันทึกข้อมูลในjhcis ก็สามารถบันทึกได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล การบันทึกข้อมูลเริ่มต้นดังนี้
1.       Log in เข้าjhcisไปด้วย userที่สามารถให้บริการได้
2.       คลิ๊กเข้าไปที่เมนู เด็ก0-227 เดือน ชั่งน้ำหนัก วัคซีน ตรวจพัฒนาการ
เมื่อคลิ๊กเข้าไปได้แล้วให้คลิ๊กที่เลือกที่ หมู่บ้าน  วันที่ตรวจ และติ๊กเครื่องหมายถูกหน้ากล่องข้อความ แรกเกิด-5ปี(60เดือน)
การเลือกเด็กกลุ่มเป้าหมายแนะนำให้เลือกเป็น 0,1,3
คราวนี้ก็มาการบันทึกข้อมูลโภชนาการกันแล้วนะครับ
วิธีที่ 1 ให้นำเม้าท์ไปคลิ๊กที่ชื่อเป้าหมายแล้วคลิ๊กขวา เลือกที่เมนู บันทึกการตรวจโภชนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เมื่อคลิ๊กเลือกจะปรากฏกล่องข้อความตามภาพ
ให้กดที่ปุ่ม yes จะปรากฏตามภาพ
ให้บันทึกข้อมูล น้ำหนัก โดยให้บันทึกเป็นกิโลกรัม และบันทึกส่วนสูง โดยให้บันทึกเป็นเซนติเมตร จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม บันทึก
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าการบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็กคนนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ต่อไปจะเป็นพิสูจน์ว่า เมื่อบันทึกด้วยวิธีการนี้แล้ว ผลงานจะถูกส่งออกมาหรือไม่ ดูกันต่อไปครับ เมื่อเราไปที่เมนูรายงานเพื่อส่งออก21แฟ้ม เรียบร้อยเมื่อมาตรวจสอบที่text fileที่แฟ้มnutri จะพบข้อมูลดังนี้

ซึ่งก็สรุปได้ว่าถ้าบันทึกข้อมูลตามวิธีการข้างต้น เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลถูกส่งออกแน่นอน
วิธีที่ 2 การบันทึกข้อมูลโภชนาการผ่านเมนู บันทึกโภชนาการของเด็กทุกคนตามรายชื่อที่ปรากฏ
เมื่อคลิ๊กเข้าได้ตามเมนู เสร็จก็ให้บันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง ตามภาพ
สมมุติว่าบันทึกข้อมูลเสร็จทุกคนแล้วก็ให้คลิ๊กปิดกากบาทที่แดงออกไป
คราวนี้เรามาตามไปดูว่า2 คนที่เราบันทึกไปเมื่อกี้ เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลออกมาหรือไม่ สังเกตนะครับว่าตอนที่ผมส่งออก21แฟ้ม ผมไม่ได้ติ๊กส่งออกโภชนาการนะครับ
เมื่อไปตรวจสอบที่ text file แฟ้ม nutri จะเห็นว่ามีข้อมูลถูกส่งออกมา ดังนั้น การบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็ก0-60 เดือน ตามทั้ง 2 วิธีถ้าส่ง21แฟ้ม จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน และการส่งออก21 แฟ้มก็ไม่จำเป็นต้องไปติ๊กที่ส่งออกโภชนาการ 
          สุดท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่า การบันทึกข้อมูลไม่มีความจำเป็นต้องไปบันทึกข้อมูลอะไรที่เยอะแยะจนทำให้คนคีย์เกิดความเบื่อหน่าย จนไม่อยากจะคีย์ เช่น การบันทึกภาวะโภชนาการ บางท่านแนะนำให้คีย์ตรวจฟันเด็กไปด้วย คีย์เยี่ยมบ้านไปด้วย ในความเป็นจริงขณะที่เราเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกปฏิบัติงานในหมู่บ้านเช่นการชั่งน้ำหนักเด็กเราสามารถตรวจฟันเด็กไปพร้อมได้ด้วยครับ แต่เราไม่สามารถตามไปเยี่ยมบ้านเด็กที่มาชั่งน้ำหนักกับเราจนครบทุกคนได้แน่ๆในหนึ่งวัน ดังนั้นการบันทึกข้อมูลควรบันทึกไปตามความเป็นจริงที่เราไปปฏิบัติมา ทำอะไรก็บันทึกไปเท่านั้นครับ  
          ขอบคุณครับพบกันเรื่องต่อไป อยากทราบวิธีการคีย์เรื่องใดเสนอแนะมาได้ที่  
                  https://www.facebook.com/groups/689473301121036/
                                                                                RAMBO_ZAA
                                                                                  11/07/2557


วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

รู้แระcid notmatch มันโผล่มาจากใหน

รู้แระ CID notmatch มันโผล่มาจากใหนทั้งๆที่เราก็ตรวจสอบกันซะถี่ถ้วน
หลายๆท่านก็คงงงพอๆกับผมว่าทำไมเวลาส่งข้อมูลไปสปสช.ทั้งๆที่เราก็ตรวจสอบด้วยโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแล้ว แล้วก็พบว่าข้อมูลผ่านหมด100%ทุกแฟ้ม แล้วมันจะมีerror cid notmatchได้งัย ตามภาพเลย

  
จากภาพตัวอย่างจะเห็นว่าผลการตรวจข้อมูลออกมาผ่าน 100% แล้วมันจะมีerrorยังงัย
คราวนี้ท่านลองนำเม้าท์ไปคลิ๊กที่แฟ้มบริการดูครับ เช่น fp anc epi service ถ้าท่านคลิ๊กแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ฟ้องerrorอะไรแสดงว่าข้อมูลของท่านผ่าน100%แน่ๆ แต่ถ้าท่านคลิ๊กแล้วพบว่าเป็นแบบนี้หละจะทำกันยังงัยหละ
สังเกตมั๊ยครับว่าเมื่อเอาเม้าท์ไปคลิ๊กที่แฟ้มservice ปรากฎว่ามีเอ๋อโผล่มาคือ เลขประชาชนไม่ถูกต้องตามหลักของมหาดไทย จากนั้นพวกเราก็จะมีคำตอบขึ้นมาว่า อ้าวก็คนที่โผล่เอ๋อขึ้นมามันไม่ใช่คนไทยครับ เค๊าเป็นต่างด้าวจะให้ทำอย่างไร ก็ในเมื่อเค๊ามารับบริการจริง แล้วถ้าข้อมูลตัวนี้ถูกส่งไปถึงสปสช.มันจะทำให้คุณภาพข้อมูลของเราลดลงหรือไม่ ผมเองก็ตอบทุกท่านไม่ได้ครับ แต่ผมเดาว่ามันคงมีผลต่อคุณภาพข้อมูลเราแน่ๆ ส่วนจะแก้ไขกันยังงัยผมขอให้ท่านผู้อ่าน แฟนๆบล๊อคของผมไปคิดต่อเอาเองนะครับว่าจะทำยังงัยดี
เจอกันใหม่ครับ เมื่อมีปัญหาใหม่เข้ามา ขอบคุณครับ