วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำนำหน้าชื่อที่ขึ้นต้นด้วย00X

ก่อนอื่นผมต้องขออภัยด้วยสำหรับหลายๆท่านที่ได้ติดบล็อกของผมมาโดยตลอด วันนี้ผมเพิ่งได้รับความกระจ่างจากทั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูลของสนย.และอาจารย์ของพวกเราอาจารย์สัมฤทธิ์ เรื่องคำนำหน้าชื่อที่จำเป็นต้องเป็น00X แทนที่จะเป็นเด็กชาย เด็กหญิง หรืออื่นๆเรื่องของเรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ ทางสนย.ต้องการคำนำหน้าชื่อเป็น 001 002 003 004 005 ฯลฯ แต่ผู้ใช้ของjhcisทั้งหลายกลับงงหรือไม่เข้าใจกับคำนำหน้าชื่อที่มันต้อง00x หลายๆคนอันนี้รวมถึงผมด้วย ก็เลยไปจัดการเปลี่ยนซะด้วยคำสั่ง mysql ที่หลายท่านคงได้ใช้ไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือเวลาที่ท่านเข้าไปที่เมนูประชากรแล้วดึงคนขึ้นมาปรับปรุงข้อมูลสิ่งที่ปรากฎคือคำนำหน้ามันหายไปต้องมาคลิ๊กใส่ใหม่ทุกครั้ง
สาเหตุที่เป็นแบบนั้น เพราะที่หน้าข้อมูลพื้นฐานประชากรมันจะแสดงค่าเป็น00X แล้วมันก็จะลิ้งค์ไปที่ตารางctitle จากนั้นที่ตารางctitle จะแปลค่าจาก00X มาแสดงที่หน้าข้อมูลพื้นฐานประชากรเป็น เด็กชาย เด็กหญิง ฯลฯ สำหรับท่านที่ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก00Xเป็นเด็กชาย ฯลฯ  แล้วนั้นขอให้ปฏิบัติดังนี้
log in เข้า jhcis ด้วย adm แล้วไปที่ ระบบข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
จากนั้นไปที่เมนูเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเดิม(free  text)เป็นรหัสคำหน้าชื่อ
เท่านี้jhcis ของท่านก็กลับมาเป็นปกติ สามารถส่งมูลข้อไปได้ทั้ง สนย.และสปสช.ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การคีย์ข้อมูลในJHCISเพื่อให้ออกที่แฟ้ม 19 20 21

การคีย์ข้อมูลในJHCISเพื่อให้ออกที่แฟ้ม 19 20 21
หลายๆท่านอาจกำลังสับสนว่าจะคีย์ข้อมูลอย่างไรในJHCIS ให้ปฏิบัติตามนี้นะครับ

1. แฟ้ม ncdscreen.txt => บันทึกที่เมนู .ระบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
2. แฟ้ม chronicfu.txt => บันทึกเพิ่มเติม ที่เมนู บริการ / คลิ๊กที่ปุ่มฯ NCD Screen & FU
3. แฟ้ม labfu.txt => บันทึกเพิ่มเติม ที่เมนู บริการ ดังนี้
3.1 คลิ้กที่ปุ่ม นํ้าตาล (ได้รหัส Lab 01 - 04) ดังนี้
01=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากหลอดเลือดดำ (FBS) หลังอดอาหาร
02=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากหลอดเลือดดำ (FBS) โดยไม่อดอาหาร
03=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากเส้นเลือดฝอย (DTX) หลังอดอาหาร
04=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากเส้นเลือดฝอย (DTX) โดยไม่อดอาหาร
3.2 ที่แทร็บตรวจมะเร็ง & บริการอื่น / คลิ้กที่ปุ่มฯ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น …(ได้รหัส Lab 05 – 13 )
ที่เมนูบริการ คลิ้กเลือกแทร็บ ตรวจมะเร็ง & บริการอื่น / แล้วคลิ้กที่ปุ่มฯ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น (Trigriceride - ….) โดยข้อมูลจะบันทึกลงตาราง visitlabchcyhembmsse และได้ข้อมูลออกมาในแฟ้ม LABFU.txt ในคอลัมภ์ LABTEST ( รหัส 05 - 13) โดยรหัส 05 – 13 นี้จะอยู่ในกลุ่ม Lab Chemeclinic ( กลุ่ม Chemeclinic(เคมีคลีนิค) โดยรหัสแล็ป ขึ้นต้นด้วย CH ) ดังนี้
05 – CH99 -> HbA1c
06 – CH25 -> Triglyceride
07 – CH07 -> Total Cholesterol
08 – CH14 -> HDL Cholesterol
09 – CH17 -> LDL Cholesterol
10 – CH04 -> BUN
11 – CH09 -> Creatinine
12 – Cha1 -> albumin ในปัสสาวะ(Urine Protein)
13 – CHc1 -> Creatinine ในปัสสาวะ
โดยข้อมูลจะบันทึกลงตาราง visitlabsugarblood และได้ข้อมูลออกมาในแฟ้ม LABFU.txt ในคอลัมภ์ LABTEST
เครดิต: อาจารย์ไชยาภรณ์  ใจอู่  สสจ.นนทบุรี ที่กรุณานำมาเผยแพร่ 

ป้องกันเงินหายได้อย่างไรเมื่อท่านต้องจ่ายยาสมุนไพร

หายๆแห่งประสบปัญหาจ่ายยาสมุนไพรไปตั้งเยอะ ทำไมมันถึงได้เงินจัดสรรมาน้อยจัง ทั้งๆที่ก็จ่ายยาสมุนไพรไปตั้งเยอะ  และสปสช.เอาข้อมูลมาจากใหนมาจัดสรร ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เงินในส่วนของการจ่ายยาสมุนไพรของเราหายไปโดยไร้ร่องรอย ให้มาดำเนินการดังนี้
1.กรณีที่มีแพทย์แผนไทย ที่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ก็ให้ใส่เลขใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยลงไป(คนส่วนน้อยของประเทศ)
2.กรณีที่ไม่มีแพทย์แผนไทย มีแต่เจ้าหน้าที่ทั่วไปเช่น พยาบาลวิชาชีพ(จะNP หรือRNก็แล้วแต่)
 นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข รวมถึงผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้คือคนส่วนใหญ่ในวงการสาธารณสุขและคนกลุ่มนี้ก็ไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ให้เอาเลขบัตรประชาชน13หลักใส่แทนในช่องใบวิชาชีพแผนไทย
login เข้าJHCIS ไปด้วย adm แล้วไปที่ ระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แล้วไปที่ผู้ใช้งานโปรแกรม(user)&แพทย์แผนไทย ที่ฟิลด์สุดท้ายเลขใบวิชาชีพแผนไทย ให้ใส่เลขที่บัตรประชาชน13หลักของเจ้าหน้าที่แต่ละคนเข้าไป เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วแถมวินิจฉัยโรคแพทย์แผนไทยได้ด้วย
คราวนี้ก็คำถามต่อไป  ใครหละที่จ่ายยาสมุนไพรได้ คำตอบคือใครก็จ่ายยาสมุนไพรได้ครับ จากการชี้แจงของสปสช.ในระยะแรกให้ใส่เลขที่บัตรประชาชนเข้าไปก่อน จากนั้นสปสช.เค๊าจะไปวิเคราะห์ดูว่ามียาสมุนไพรที่จ่ายโดยผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยกี่คน และจ่ายยาสมุนไพรโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยกี่คน
        ดังนั้นเราต้องติดตามสปสช.อย่างตาไม่กระพริบว่า หลังจากที่สปสช.ได้บอร์ดบริหารใหม่แล้ว แต่ละกองทุนกองทุนใหนบ้างมันจะเปลี่ยนไป
  

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การคีย์แพทย์แผนไทย

พอดีวันนี้คนที่คุ้นเคยจากสปสช.เขต โทรศัพท์มาแจ้งเรื่องการคีย์ข้อมูลแพทย์ไทยในโปรแกรมjhcis เพื่อรองรับการจ่ายเงินในกองทุนแพทย์แผนไทยปี 2555 ท่านได้แจ้งว่าข้อมูลแพทย์แผนไทยในปี  2555 ให้คีย์ออนไลน์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึง ธันวาคม 2554 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 สปสช.จะเอาข้อมูลมาจาก 21 แฟ้ม แล้วพวกเราหน่วยบริการทั้งหลายต้องอย่างไรบ้างหละ
1.ทุกสถานบริการที่เปิดนวด ต้องไปลงทะเบียนผู้ให้บริการนวดที่เวปสปสช.(เวปเดิมที่เคยคีย์ออนไลน์นั่นหละครับ)เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการmap ผู้นวดกับ21แฟ้ม
2.ในjhcis ที่เมนูuser เราต้องไปเพิ่มรายชื่อผู้ให้บริการนวดไว้
3.ในส่วนของเลขที่ใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ถ้าท่านใดมีก็ใส่ไปให้เรียบร้อย ส่วนท่านใดที่ไม่มีเลขประกอบวิชาชีพ ตอนนี้ข้อแนะนำที่ผมแนะนำให้ได้คือใส่เลขอะไรก็ได้ไปก่อน(เพื่อให้ท่านสามารถวินิจฉัยโรครหัสU ได้
4.เมื่อมีผู้มารับบริการนวดในรพ.สต. ให้วินิจฉัยโรคเป็น2ตัว คือมีรหัสM เป็น principle และมีรหัสUเป็น co-morbidity เช่น นาง ก.มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อหลายตำแหน่ง ตรวจแล้วแนะนำให้รักษาด้วยการนวด
วินิจฉัยโรค= M79.10 principle และ  U75.05 co-morbidity
จ่ายยา =9997811การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสำนักที่ไม่ระบุตำแหน่ง(ไม่ได้fixตายตัวรหัสนี้รหัสเดียว หัตถการก็จ่ายตามจริงตามตำแหน่งที่นวดครับ)
5.ในการคีย์ผู้ที่มารับบริการนวดในJHCISต้องใช้ login ของผู้ที่ลงทะเบียนนวดกับสปสช.ไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ log in ของผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนผู้นวดกับสปสช. ไปคีย์บริการนวดเด็ดขาด
ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านที่ได้ติดตามblogของผมมาโดยตลอด ที่ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้โพสบทความให้อ่าน พอดีช่วงนี้งานเข้าผมเยอะมากครับ เคลียร์ทุกวันงานก็ยังออกไม่หมดซะที

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การส่ง21แฟ้มจังหวัดอุดรธานี

แจ้งทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดอุดรธานี ขอแจ้งเรื่องการ
ส่งข้อมูล21แฟ้ม ให้ทุกสถานบริการส่งดังนี้
ครั้งที่1 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554(ส่งข้อมูลจากวันที่1-10 พฤศจิกายน) ตั้งแต่เวลา 20.30-23.59น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554(ส่งข้อมูลจากวันที่11-17 พฤศจิกายน) ตั้งแต่เวลา 20.30-23.59น.
ครั้งที่ 3 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554(ส่งข้อมูลจากวันที่ 18-24 พฤศจิกายน) ตั้งแต่เวลา 20.30-23.59น.
และครั้งสุดท้าย วันที่ 1ธันวาคม 2554 (ส่งข้อมูลจากวันที่25-30 พฤศจิกายน)ตั้งแต่เวลา 20.30-23.59น.
โดย สสจ.อุดรธานีจะส่งข้อมูลไป สปสช.ในทุกวันศุกร์ตอนเช้า
เพื่อป้องกันการส่งข้อมูลซ้ำซ้อน ขอให้ตรวจสอบวันที่ในการส่งข้อมูลในแต่ละครั้ง
เป็นไปได้ควรจัดทำทะเบียนคุมการจัดส่ง21แฟ้มไว้ด้วย เพื่อป้องกันในกรณีที่ข้อมูลมีปัญหา




วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การลงOPPP2554 version 2.0.5

ณ วันเมื่อวานนี้ สปสช.ก็ได้คลอดโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นoppp2554
ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น2.0.5 มาพร้อมกับความกังขาของหลายคน installไปแล้วทำไมมันerrorเยอะจัง
วันนี้ผมก็เลยต้องรีบมาเฉลยให้ จะได้ไม่ต้องตกใจแค่ตกใจกับน้องน้ำก็เครียดกันมากพอแล้ว
งั้นเรามาเริ่มกันเลย ขั้นแรกให้เปิดโปรแกรมmysql query browser ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็คลิ๊ก
เข้าโปรแกรมไป ที่มุม schemata ให้มองก้อนdatabase ที่ชื่อว่า oppp2554 เมื่อเจอแล้ว
ให้คลิ๊กขวาที่oppp2554 พร้อมกับเลือกdrop schema ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการในการถอด
ก้อนฐานข้อมูลเดิมทิ้งไป ขั้นต่อไปคือการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ ด้วยการเปิด
mysql query browser ขึ้นมาอีกครั้ง ไปที่เมนูfile เลือก open script ก็ให้browseไปหาไฟล์
oppp 2554.sql (ซึ่งต้องโหลดใหม่จากหน้าเวปสปสช. ห้ามใช้ตัวเดิม) จากนั้นก็สั่งexcute
รอจนกว่าจะครบร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ปิดโปรแกรมออกไป ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นในกระบวนการสร้างฐานข้อมูล
oppp 2554ตัวใหม่ ต่อไปก็เป็นการinstall โปรแกรม ผมแนะนำให้install จากไฟล์oppp2554.msi
การลงก็เหมือนเดิมนั่นหละครับ next next install ไปจนเสร็จสิ้น ก็closeออกมา
คราวนี้ก็ลองเข้าโปรแกรมดูด้วยการdouble clickที่shortcutของoppp2554เค๊าก็ฟ้องเหมือนเดิม
ว่าไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้ ก็ตอบok ไป เราก็ไปเปลี่ยนportเป็น3333และเปลี่ยน
passwordเป็น123456 แล้วก็คลิ๊กทดสอบ โปรแกรมก็จะบอกว่าเชื่อมต่อได้แล้วก็ตอบok
จากนั้นก็คลิ๊กที่บันทึกโปรแกรมก็จะบอกว่าทำการบันทึกและเชื่อมต่อฐานข้อมูลแล้วเราก็ตอบok
แล้วก็จะมีข้อความขึ้นมาอีกก็ให้ตอบokเท่านี้ครับ การเชื่อมต่อฐานข้อมูลก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ต่อไปก็ไปกำหนดสถานบริการให้เป็นของเราซะ เท่านี้ก็เป็นอันจบเสร็จสิ้นในการลงโปรแกรม
oppp2554 version 2.0.5 ครับ


วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คีย์คัดกรองNCDในJHCIS

เนื่องจากหลายๆท่านตอนนี้วิตกกังวลเป็นอันมาก ว่าถ้ามาคีย์คัดกรองตรงนี้แล้ว
เวลาตรวจกับoppp มันจะerror เพราะเข้าใจว่าเมื่อเราคัดกรอง เราไม่ได้ใส่วินิจฉัย
แล้วมันจะต้อง error ที่แฟ้ม serviceและdiag หนักกว่านั้นเมื่อเปิดไปเมนูบริการย้อนหลัง
แล้วคลิ๊กที่แก้ไข ก็ดันเจอคนที่คัดกรองไปแล้ว และไม่มีวินิจฉัยโรคด้วย(ยิ่งทำให้คิดหนักไปใหญ่)
จริงๆแล้วไม่มีอะไรน่าวิตกเลยครับ ทีมงานJHCIS ท่านได้ใส่วินิจฉัยมาแล้วตอนส่งออกข้อมูล
ดังนั้นคีย์คัดกรองโรคNCDในJHCIS ยังงัยก็ไม่เกิดerrorใน opppแน่นอนครับ
อย่าคิดมาก อย่าวิตกกังวล โปรดเชื่อมั่นในทีมพัฒนาโปรแกรมJHCIS ของศูนย์เทคฯ
กระทรวงสาธารณสุข ทีมงานJHCISไม่เคยทำให้ท่านผิดหวัง
รับรองทุกท่านที่ใช้JHCIS จะไม่ได้อยู่อย่างเดียวดายแน่นอน ทีมงานหลัก ทีมเสริม
ทีมช่วยเหลือ เยอะแยะครับ

การส่งคำถามเกี่ยวกับJHCISหรือOPPP

เนื่องจากมีหลายท่านได้ส่งคำถามมาที่ผม ด้วยการไปเขียนไว้ที่ตอบกลับจากบทความที่ผมโพสไว้
ผมก็ได้อ่านทุกคำถามที่ท่านได้ถามมาและก็ตอบกลับทุกคำถาม แต่เพื่อความเข้าใจของท่านๆที่ถามมา
ผมจึงขอแนะนำให้ท่านส่งคำถามมาที่mailผมโดยตรงดีกว่าครับ โดยส่งมาที่
jettapol.a@gmail.com
ขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามblogของผมมาโดยตลอด อยากทราบเรื่องอะไรก็ถามมาครับ
ผมจะพยายามหาคำตอบมาให้ท่านโดยเร็วที่สุด

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แก้ปัญหาerrorที่แฟ้มPPและMCH

เนื่องจากขณะนี้หลายๆจังหวัดได้ให้ทุกหน่วยบริการสาธารณสุขส่งออก21แฟ้ม
อาจจะทุกวันหรือทุกสัปดาห์(สาเหตุที่จังหวัดต้องให้ส่งแบบนี้เพื่อเป็นการลดขนาดของฐานข้อมูล
ทำให้ฐานข้อมูลมันเล็กลง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการส่งข้อมูลไปที่สปสช.)
ปัญหามันก็เลยมีอยู่ว่า เมื่อเราบันทึกข้อมูลในแฟ้มPPและMCHเมื่อไหร่ มันมักจะerror
เพราะข้อมูลที่เราคีย์เข้าไปยังมีไม่ครบ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ท่านตกใจกับerror
ผมจึงขอเสนอแนะว่าให้มาคีย์ข้อมูลในแฟ้มPPและMCHเมื่อมีข้อมูลครบ2ครั้งแล้วเท่านั้น
ซึ่งขณะนี้หลายๆท่านก็ได้ทำตารางควบคุมวันที่ที่จะต้องคีย์ข้อมูล2แฟ้มนี้อยู่แล้ว
ข้อควรจำ คีย์ข้อมูลแฟ้มPPและMCH เมื่อมีข้อมูลครบ2ครั้งแล้วเท่านั้น 


การส่งข้อมูล21แฟ้มอย่างไรไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน

สืบเนื่องจากขณะนี้หลายๆจังหวัด ได้ให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่งส่งข้อมูล21แฟ้ม
โดยมีทั้งการส่งแบบทุกวัน ทุกแบบส่งสัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ จะแบบใหนก็ตาม
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการส่งข้อมูลซ้ำซ้อน ในการส่งออก21แฟ้มแต่ละครั้ง
ขอให้จำให้ได้ว่า(หรือบันทึกไว้ว่า)ได้ส่งออกข้อมูล21แฟ้มถึงวันที่เท่าไหร่แล้ว
เพราะถ้าท่านลืมหรือบังเอิญส่งข้อมูลชุดที่ท่านเคยส่งเข้าไปแล้ว มันก็จะเกิดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน
ตัวอย่าง การส่งข้อมูลทุกสัปดาห์เช่น ครั้งที่ส่งระหว่างวันที่ 1-7
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 8-14
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 15-22
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 23-30 เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การคีย์เยี่ยมหลังคลอด

ทำไมมันเป็นปัญหากันจัง ทั้งๆที่มันก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่พวกเรากลับทำให้มันเป็นเรื่องยาก
ปัญหานี้จะไม่เกิดเลย ถ้าท่านไปอ่านกติกาการตรวจแฟ้มPP และMCHของสปสช.มา
สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาไปอ่านกฎ กติกา มารยาท ในการคีย์ ผมจึงขอสรุปง่ายๆให้ดังนี้
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 1 คุณจะเยี่ยมวันใหนแล้วแต่คุณ ขอแค่ให้คีย์ก่อนวันที่14
หลังจากวันที่เด็กเกิดแล้วครับ (คือตั้งแต่วันที่เด็กเกิดถึงวันที่14)
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 2 สปสช.เขียนกติกาไว้ชัดเจนว่า ต้องเยี่ยมครั้งที่2ห่างจาก
วันที่เด็กเกิด16วัน (โดยสรุปก็คีย์เยี่ยมครั้งที่2คีย์ได้หลังจากเด็กเกิด 16วันจนถึง29วัน
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 3ก็ตั้งแต่วันที่ 30ไปจนถึวันที่ 45ครับ
แต่โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรที่จะสามารถคีย์เยี่ยมหลังคลอดให้ได้2ครั้งในเดือน
สำหรับบางท่านหรือหลายๆท่านก็ไปงงหรือไปยึดกับสูตรในการเยี่ยมจนเกินไป
ผมก็เลยขอแนะนำว่าให้ปรับไปตามกฎ กติกา ด้านบนที่ผมได้เขียนไว้ เช่น
สมมุติว่าเด็กเกิดวันที่ 15 ตุลาคม 2554 จะคีย์อย่างไร เริ่มแรกก็ให้ไปคีย์คลอดก่อน
ในวันที่ 15 ตุลาคม 2554ให้เรียบร้อย จากนั้นก็คีย์เยี่ยมหลังคลอดครั้งที่1ในวันที่ 20 ตุลาคม2554
ส่วนการคีย์เยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 2ก็เป็นวันที่ 31 ตุลาคม 2554 ก็ได้ หรือหลังจากนี้ก็ได้
ส่วนการคีย์เยี่ยมครั้งที่ 3ต้องห่างจากวันเกิด 43 วัน

การดูแลลูกครั้งที่ 1  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 1 - 15 วันหลังคลอด 
การดูแลลูกครั้งที่ 2  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 16 - 42 วันหลังคลอด 
การดูแลลูกครั้งที่ 3  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 43 วันหลังคลอด 
ที่มาจาก สนย


แล้วถ้าเด็กที่เกิดหลังจากวันที่16 ของแต่ละเดือนหละทำอย่างไร ก็ยกยอดไปคีย์คลอด
และเยี่ยมหลังคลอดในเดือนถัดไปครับ
ดังนั้นการคีย์เยี่ยมหลังคลอดจะไม่เป็นปัญหาต่อไป ถ้าท่านทำตามกฎ กติกาที่สปสช.เขียนไว้
ปรับเปลี่ยนวันในการเยี่ยมให้ลงตัว 
โดยจำไว้ว่าเยี่ยมครั้งที่2ต้องห่างจากวันที่เด็กเกิดอย่างน้อย16วัน แต่ไม่เกิน30วัน





วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาอัพเจเวอร์ชั่น1ตุลา แล้วเพิ่มประชากรไม่ได้

ครับนี่ก็เป็นอีกคำถามนึงที่ผมได้รับมามากในช่วงนี้ครับ บอกว่าพออัพเดทJHCIS
เป็นเวอร์ชั่น1 ตุลาคม 2554 แล้วมันไม่สามารถเพิ่มคนทั้งในเขตและนอกเขตได้
ถ้าเจอปัญหานี้ไม่ต้องตกใจนะครับ มันเกิดจากว่าปรับโครงสร้างเหมือนจะสำเร็จ
แต่ไม่สำเร็จครับ วิธีแก้ไขก็ให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลใหม่อีกครั้งนะครับ
ระหว่างปรับโครงสร้างฐานข้อมูล ขอความกรุณานั่งเฝ้าไปด้วยนะครับ ประมาณนาทีที่
20-25ถ้าผมจำไม่ผิดมันจะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือน ให้ตอบตกลง รออีกแปล๊บ
ก็เป็นอันว่ากระบวนการปรับโครงสร้างฐานข้อมูลเสร็จสมบูรณ์จริงๆ คราวนี้รับรองว่า
เพิ่มประชากรได้แน่นอนครับไม่ว่าในเขตหรือนอกเขต

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กฎเหล็ก5ข้อในการจัดทำข้อมูลOPPPปี55

เป็นการสรุปจากการบรรยายของสปสช.จากหลายๆเวที แล้วผมนำมาประมวลเอานะครับ
1. การคีย์ข้อมูลผู้มารับบริการ มีผู้มารับบริการเท่าไหร่ให้คีย์เท่านั้น ไม่เอาที่มาขอรับคำปรึกษา
couselling unspecify(ไม่มีการmake ข้อมูลเพิ่ม)
2. ใช้รหัสต่างๆให้ตรงกับมาตรฐานที่กำหนด(ทั้งจากสนย.และสปสช.)
3. การให้หัตถการให้เน้นรหัสที่สำคัญ ทั้งหัตถการที่ต้องใช้เวลา ทรัพยากรเพื่อรักษาโรคในครั้งนั้น
โดยผู้เชี่ยวชาญเช่นแพทย์หรือพยาบาล (ไม่จ่ายหัตถการแบบมั่วๆเพื่อเอาadd on)
4. ระวังอย่าจงใจปั่นข้อมูลให้สูงจนเกินค่าปกติ เพราะจะเป็นที่สงสัยและจะโดนตรวจสอบ
ซึ่งอาจนำไปสู่การที่สปสช.จะไม่จ่ายเงินให้กับสถานบริการนั้นๆ
5. ข้อมูลจาก รพ.สต. ต้องเป็นชุดเดียวกันกับที่ส่งไปที่สสจ. สนย.และสปสช.
(สสจ.ห้ามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลของรพ.สต.สรุปคือต้นน้ำและปลายน้ำคือข้อมูลชุดเดียวกัน
)


วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แก้คำนำหน้าชื่อจากที่ขึ้นต้นด้วย00ให้กลับมาเหมือนเดิม

จากที่หลายๆท่านประสบปัญหาที่ว่าหลังจากอัพเดทjhcis เป็นเวอร์ชั่น1ตุลาคม2554
แล้วนั้น พบว่าคำนำหน้าชื่อได้เปลี่ยนไปเป็น 001 002 003 004 005 ทำให้หลายๆ
ท่านตกใจว่ามีอะไรผิดไปหรือเปล่า จริงๆแล้วมันก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับแต่คนดู
อาจจะดูแปลกๆไป วันนี้ผมก็เลยจะพาท่านมาเขียนคำสั่งsql ง่ายๆเอาไว้ใช้กัน
เริ่มต้นจากให้เปิดโปรแกรมที่เขียนtext ได้ ตัวที่มีในทุกเครื่องก็น่าจะเป็นnotepad
หลังจากเปิดnotepad ขึ้นมาแล้วก็เริ่มต้นเขียนคำสั่งกันเลยนะครับ
สิ่งที่เราจะทำกันก็คือเปลี่ยนคำนำหน้า(ฟิลด์prename) จาก001 002 003 004 005
ให้เป็น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว และนาง ครับ คำสั่งคือ
update person set prename='เด็กชาย' where prename='001';
update person set prename='เด็กหญิง' where prename='002';
update person set prename='นาย' where prename='003';
update person set prename='นางสาว' where prename='004';
update person set prename='นาง' where prename='005';
จากนั้นก็บันทึกครับ ตั้งชื่อว่า เปลี่ยนคำนำหน้า.sql ส่วนด้านล่างให้เลือกเป็นall files
ส่วนencoding ให้เลือกเป็น utf8 กดบันทึกก็เป็นอันจบการเขียนคำสั่งครับ
ต่อไปจะเอาคำสั่งนี้ไปใช้ยังงัยก็ไปเปิด mysql query brower ขึ้นมาครับ
เลือกที่ เมนู file แล้วเลือก open script จากนั้นก็เลือกมาที่ไฟล์ที่เราเขียนคำสั่งไว้
เสร็จแล้วก็excute
เท่านี้คำนำหน้าชื่อก็จะกลับมาเหมือนเดิมครับ จะได้ไม่งงกับ00xต่อไป
ขอให้สนุกสนานกับการใช้โปรแกรมJHCIS ครับ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

งงมากครับกับOPPP2554 version2.0

                  นี่คือflow การตรวจสำหรับแฟ้มperson นะครับ
pe1101      จะเกิดเมื่อไม่มี pcucodeครบ5หลัก
pe1102      จะเกิดเมื่อไม่มี cid ครบ13หลัก
pe1103      จะเกิดเมื่อไม่มี pid ไม่เป็นค่าว่าง
pe1107      จะเกิดเมื่อไม่มี sex=1 or 2
pe1109      จะเกิดเมื่อไม่มีbirth=yyyymmdd yyyyเป็นปีค.ศ.
pe1110      จะเกิดเมื่อไม่มี mstatus=1-6 or 9
pe1111      จะเกิดเมื่อไม่มี occupaมีครบ 3-4หลัก
pe1112      จะเกิดเมื่อไม่มี nation มีครบ3หลัก
pe1140      จะเกิดเมื่อไม่มี typearea=0-4
                  แล้วก็จบการตรวจ
พอเรามาตรวจกับOPPP2554 version 2.0 01102554
ในtext file ก็มีเห็นๆอยู่ว่าoccupa มี3หลักครบ แต่กลับerrorที่ OPPP2554
ผมเองก็โง่ไปได้ตามโครงสร้าง4.0 อาชีพมันต้องเป็นเลข4หลัก
งั้นเราก็มาลองแก้ไขรหัสอาชีพให้มันเป็น4หลัก แล้วลองมาตรวจดูOPPP2554ดู
ปรากฏว่าผ่านหมดครับ งั้นก็พอจะบอกได้แล้วนะครับว่า ทำยังงัยถึงจะผ่านในทุกแฟ้ม
เมื่อตรวจข้อมูลด้วยOPPP2554 version2.0
แต่วันนี้4 ตุลาคม 2554สปสช.ได้ออกOPPP2554 version 2.0.1 ออกมาแล้ว อาชีพเดิมของjhcis
ซึ่งเป็น3หลัก พอเอาตรวจผ่านOPPP v2.0.1 ก็พบว่าผ่านทุกแฟ้ม
งั้นผมขอสรุปเลยแล้วกันนะครับว่าอาชีพในjhcis พวกเราก็ยังคงใช้ตัวเดิมอยู่ต่อไปครับ




วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

การตรวจสอบ structure แฟ้ม person op individual record

หลังจากที่เริ่มมีอาการคัน มาหลายวัน คันในที่นี้ไม่ใช่คันหูนะครับ(อันนั้นของน้องจ๊ะเค๊า)แต่เป็นคันมือหลังจากที่ไม่ได้เขียนอะไรมาให้ท่านได้อ่านกันหลายวัน พอดีวันนี้ผมไปอ่านแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกปีงบประมาณ2555 มา ก็เลยจะสรุปเป็นตัวหนังสือมาให้ท่านอ่านน่าจะเข้าใจมากว่าที่เป็นflow มาสำหรับแฟ้ม person สิ่งที่ต้องมีและขาดไม่ได้เลยคือ
1. pcucode ครับ ต้องมีครบทั้ง5หลัก ถ้าไม่มีหละจะเป็นอย่างไรก็เกิดerror pe1101งัยครับ
2. ต้องมี cid ครบ13หลัก แล้วถ้าไม่มีหละก็จะเกิดerror pe1102 งัยครับ
3. ต้องมีpid คือไม่เป็นค่าว่าง แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1103งัยครับ
4. ต้องระบุเพศว่าเป็นชายหรือหญิง แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1107 งัยครับ
5. ต้องระบุวันเกิดเป็นyyyymmddและyyyyเป็นปีค.ศ.แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1109
6. ต้องมีสถานะสมรสmstatus แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1110 ครับ
7. ต้องมีอาชีพครบ3หรือ4หลักoccupaแล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1111ครับ
8. ต้องมีสัญชาติnationครบ3หลัก แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1112ครับ
9. ต้องระบุtypearea ว่าเป็น0,1,2,3,4 แล้วถ้าไม่มีหละ จะเป็นอย่างไร ก็เกิดerror pe1140ครับ
    สรุปแล้วจากโครงสร้างperson 33 ฟิลด์ สปสช.ตรวจจริงๆก็แค่9ฟิลด์เองครับ ดังนั้นเมื่อท่านตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลท่านในโปรแกรมJHCIS อย่าตกหล่นใน9ฟิลด์นี้โดยเด็ดขาด ไม่งั้นท่านจะมีปัญหากับการที่ต้องมาแก้ไขที่แฟ้มpersonแน่นอนครับ
    ส่วนการแก้ไขerror ตามpe ต่างๆ ท่านคงพอรู้แล้วนะครับว่าต้องแก้ไขตรงใหน
เจอกันอีกครั้ง กับการคีย์jhcis อย่างไรตามโครงสร้าง4.0 ให้ข้อมูลออกมาสมบูรณ์ที่สุดครับ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

หัตถการที่ใช้บ่อย

ช่วงนี้ก็มีคำถามเข้ามามากเลยครับว่านอกจากหัตถการปัญญาอ่อนแล้วยังมีอะไรบ้างที่ได้ใช้กันบ่อยๆแล้วเราก็ลืมใส่ทำให้ข้อมูลแฟ้มproced ลดลง เริ่มต้นเลยครับที่ตัวนี้
7282170  ใช้ได้กับการเจาะdtx การเจาะ hct
9082100  ใช้ได้กับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ
2330011  การตรวจและการประเมินสภาพช่องปากทั้งปาก และการวางแผนการรักษา
2330010 การตรวจและการประเมินสภาพช่องปากเฉพาะตำแหน่งหรือที่มีอาการฉุกเฉินรวมถึงการตรวจเพื่อติดตามผล
9390200  การตรวจวัดสายตา

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

Zใหนจะเป็นOPและZใหนจะเป็นPP

ตอนนี้หลายท่านที่ได้ศึกษาเกณฑ์การจ่ายเงินของกองทุนOP-PP คงกำลังสับสนกับวินิจฉัยรหัสZ อันใหนจะได้เงินอันใหนจะไม่ได้เงิน จากการที่สปสช.ชี้แจงเมื่อวันที่7 กันยายน2554 ที่อมารีแอร์พอร์ท ได้เงินทุกตัวครับแต่ต้องแยกหมวดออกไปว่าZใหนคือOPและZใหนคือPP แล้วจะรู้ได้ยังงัยหละอันใหนคือOP อันใหนคือPPหละ ผมขอสรุปจากpowerpointที่ได้จากการประชุมมาเขียนให้อ่านนะครับ
Zที่เป็นOP คือ Z03-Z04  Z08-Z09 Z40-Z51 Z54  Z93 Z94 และZ95-Z97
Zที่เป็นPPคือ Z00-Z13 Z00 Z01 Z02 Z10 Z11 Z12 Z13 Z20-Z29 Z30-Z39 Z53 Z55-Z65 Z57 Z80-Z99
คราวนี้วินิจฉัยให้เป็นOPหรือPPก็พิจารณาไปตามนั้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผมไม่อยากให้ท่านเป็นกังวลกับวินิจฉัยโรครหัสZ ท่านทำกิจกรรมใดก็ให้วินิจฉัยโรคไปตามกิจกรรมนั้นเลยอย่าสนใจว่าจะเป็นOPหรือPP เราทำงานเพื่อได้งานดีกว่าครับ ส่วนเงินคือผลพลอยได้ที่จะตามมา ผมไม่อยากให้เราไปยึดมั่นกับเงินเป็นปัจจัยหลักแล้วก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินเยอะๆ โดยลืมคิดไปว่าเราต้องนำข้อมูลกลับมาใช้ในการพัฒนางานสาธารณสุขเรา

การจ่ายยาตั้งแต่ต.ค.54 ต้องระวังให้ดี

จากที่ประชุมoppp individual 2555 ทางสปสช.ได้ชี้แจงเรื่องperformanceของแฟ้ม drug ซึ่งเดิมขอแค่มียาที่ถูกต้องตัวเดียวก็ถือว่าผ่านได้point แต่ปี55ไม่เป็นอย่างนั้น กรณีตัวอย่าง
จ่าย para 500 ไป1ตัว รหัสถูกต้อง ได้100เต็ม แต่
ถ้าสมมุติว่าจ่ายยาไป4ตัว ใน4ตัวมีรหัส24หลักที่ผิดหรือไม่มีอยู่2ตัว ท่านจะได้คะแนนแค่50
ดังนั้นตอนนี้สิ่งที่ผมจะแนะนำทุกท่านได้ในขณะนี้ก็คือขอให้ตรวจสอบรหัส24หลักของยาทุกตัวที่มีใช้ในรพ.สต.ของท่าน ว่าขณะนี้ทุกตัวมีรหัสที่ถูกต้องอยู่แล้วหรือไม่ถ้าไม่ถูกต้อง(ยาพวกนี้จะerrorที่โปรแกรมoppp)ขอให้ดำเนินการmapping 24หลักของยาให้เรียบร้อย เพราะมันจะมีลต่อทั้งperformance และadd on

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงสร้าง21แฟ้มปี2555 รีบศึกษาโดยด่วนครับ

http://dl.dropbox.com/u/28878454/structur%2021%20%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%A1%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%2055%281%20%E0%B8%AA%E0%B8%8454%29.xls
มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มากเท่าไหร่ครับ ในเวอร์ชั่น4นี้คงต้องปรับขบวนการในการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมJHCISพอประมาณจาก3แฟ้มที่เพิ่มใหม่คือ ncd_screen , chronic_fu และlab_fu (ซึ่ง3แฟ้มนี้ก็มีอยู่แล้วในjhcis แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้บันทึกข้อมูลให้มีความสมบูรณ์เท่าไหร่ ส่วนในแฟ้มอื่นๆอีก18แฟ้ม มีปรับบ้างแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ครับ

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลerrorมากผิดปกติ ตรวจสอบตรงใหน

ช่วงนี้ผมได้รับโทรศัพท์เข้ามามากเลยครับ(สงสัยกำลังจะส่งข้อมูลเข้าสสจ.กัน )ด้วยคำถามที่ว่าพอปรับjhcis เป็นเวอร์ชั่น 18 สิงหาคม 2554 แล้วพอส่งออก18แฟ้มมาตรวจกับoppp2554 พบว่ามีerror เกิดขึ้นมามากกว่าปกติ จริงๆแล้วมันไม่เกี่ยวกับJHCISนะครับ JHCISเค๊าก็ส่งออกข้อมูลของเค๊าออกมาได้ตามปกติของโปรแกรม(ถ้าคุณคีย์ถูกต้องตามกติกาของโปรแกรม) แต่สิ่งที่คุณควรตรวจสอบคือโปรแกรมOPPP2554 (ที่เครื่องผมก็เป็นไม่ทราบสาเหตุเหมือนกัน) ขั้นตอนการตรวจสอบ OPPP2554
1. เป็นOPPP2554 version 1.2.4 หรือไม่ ถ้าใช่ก็ไปข้อต่อไปครับ
2. ตรวจสอบว่าOPPP2554 ของท่านได้ทำการอัพไฟล์ drugs.zip และicd9_op.zipแล้วหรือยัง วิธีตรวจสอบ
เปิดเข้าโปรแกรมOPPP2554 เข้าไป จากนั้นไปที่เมนูตารางที่เกี่ยวข้อง แล้วคลิ๊กเลือกที่ ตารางรหัสยา ที่ช่องใส่รหัสยาหรือชื่อยาที่ต้องการค้นหา ให้ลองพิมพ์คำว่า  ขมิ้น จากนั้นคลิ๊กที่ค้นหา ถ้าโปรแกรมoppp2554 บอกว่าค้นพบข้อมูลจำนวน 13รายการ แสดงว่าoppp2554ท่านไม่มีปัญหาใดๆใช้การได้ปกติ แต่ถ้าบอกว่าค้นพบข้อมูลจำนวน 0 รายการแสดงว่าOPPP2554 ของท่านมีปัญหาแล้ว ให้ไปทำการอัพไฟล์drugs.zip และicd9_op.zip
               จากการที่หลายๆท่านได้ส่งไฟล์F18มาให้ผมตรวจสอบ(ซึ่งท่านบอกว่ามีerrorเกิดขึ้นมามากกว่าปกติหลังจากปรับเวอร์ชั่น) จากการตรวจสอบของผมพบว่าที่error ไม่ใช่จากโปรแกรมJHCISแน่นอน แต่เกิดจากโปรแกรมOPPP2554 เพราะทุกไฟล์ที่ท่านส่งมาให้ผมตรวจมันก็ผ่านปกติ และไม่มีerrorใดๆที่ผิดไปจากปกติ
                ดังนั้นก่อนที่จะตรวจสอบข้อมูลทุกครั้ง ขอให้ตรวจสอบโปรแกรมOPPP2554ก่อนทุกครั้ง ว่าโปรแกรมที่ท่านใช้อยู่มันปกติดีอยู่หรือเปล่า หากตรวจสอบOPPP2554แล้วว่าเป็นปัจจุบัน และมีerrorที่มากผิดปกติ ค่อยส่งไฟล์F18มาให้ผมตรวจสอบให้นะครับโดยส่งมาได้ที่ jettapol.a@gmail.com ยินดีให้ความช่วยเหลือและแนะนำวิธีการแก้ไขให้ครับ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกop/pp individual data 2555

ผมขออนุญาตสรุปโดยภาพรวมนะครับเนื่องจากเอกสารที่ได้มาตั้ง40หน้า บทความนี้ผมขอเน้นเฉพาะที่ข้อมูลผู้ป่วยนอกนะครับ
1.ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก(OP Individual Data)
    การตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกจะตรวจสอบจากชุดข้อมูลผู้ป่วยนอก(OP Package) ที่กำหนดซึ่งได้แก่แฟ้ม PERSON SERVICE DIAG PROCED และDRUG ตามโครงสร้างมาตรฐาน18แฟ้ม เชื่อมโยงให้เกิดข้อมูลการให้บริการซึ่งสรุปได้ดังนี้
              มาตรฐานโครงสร้าง                  แฟ้มที่ใช้ตรวจสอบ                  ฟิลด์ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล
                         18แฟ้ม                          person.txt*                                       pid
                                                              service.txt*                                      seq
                                                              diag.txt*                                          date_serv
                                                              proced.txt                                        clinic
                                                              drug.txt        *=จำเป็นต้องมีข้อมูล
เงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก
1.ตรวจสอบข้อมูลให้ครบและถูกต้องตามฟิลด์ที่กำหนดในแต่ละแฟ้ม
2.ตรวจสอบPCUCODE ต้องมีรหัสอยู่ใน สนย.รหัส5หลัก
3.ต้องสามารถเชื่อมโยงการการให้บริการกับข้อมูลบุคคล(เชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มservice กับแฟ้มperson โดยฟิลด์pid  ทั้งนี้หากข้อมูลในแฟ้มperson ตรวจสอบไม่ผ่านจะถือว่าไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลได้
4.รหัสคลินิกถูกต้องตามาตรฐานที่กำหนด โดยตรวจสอบจากตำแหน่งที่2-3
5.ต้องมีข้อมูลการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเชื่อมโยงการให้บริการได้(สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มdiag กับ service ได้โดยใช้ฟิลด์pid seq date_serv clinic ทั้งนี้การให้รหัสการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง มีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องมีการให้รหัสโรคหลัก (principle diagnosis)อย่างน้อย1รหัสที่ถูกต้องตามicd10หรือ icd10tm
- หากให้รหัสโรคถูกต้องตามหลักการให้รหัสโรคตามicd10 จะตรวจสอบความสอดคล้องของการให้รหัสโรคตาม appendixA3-A4 ของ DRG4.0
- ตรวจสอบประเภทการวินิจฉัยต้องมีค่าตั้งแต่1-5
เงือนไขการคิดpoint
1.เป็นข้อมูลการให้บริการตั้งแต่1 กรกฎาคม 2554- 30 มิถุนายน 2555
2.มีเลขประชาชน13หลักในฐานข้อมูลประชากรของ สปสช.
3.การให้บริการผู้ป่วยนอก1คนใน1วันจะได้1point
4.การคิดpoint จะพิจารณาเฉพาะรหัสการวินิจฉัยที่เป็นการให้บริการผู้ป่วยนอกเท่านั้น(ข้อมูลจากการสำรวจ การเยี่ยมบ้านที่ไม่ใช่บริการ ไม่สามารถนำมาบันทึกเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอกและสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้
หมายเหตุ สปสช. จะมีการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอก(op) เพิ่มเติม โดยหากหน่วยบริการใดมีอัตราการใช้บริการ(utilization rate) เบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานเกินจริง(ค่ามาตรฐานจะแยกตามระดับหน่วยบริการและสปสช.เขต)จะถูกระงับจ่ายไว้ก่อน(pending)เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการนั้นต่อไป
ที่มา: สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน สปสช

               
                                                             

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการติดตามการจัดทำข้อมูลOP/PPของสปสช.กลาง

เครดิต: สสจ.ยโสธร
ประเด็นที่สปสช.ติดตาม
1.ข้อมูลOP/PP individual records ที่มีอยู่ใน รพ.สต.มีความถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน และน่าเชื่อถือเพียงใด สามารถเชื่อมโยงให้เห็นภาพของการให้บริการระดับปฐมภูมิเพียงใด
2.เจ้าหน้าที่ของรพ.สต.มีความเข้าใจเรื่ิองOP/PP Individual Records ที่มีในรพ.สต.เพียงใด จะต้องพัฒนาในด้านใดบ้าง
ผลการติดตาม สปสช.แยกเป็น4ด้านดังนี้
1.ด้านข้อมูล
2.ด้านเจ้าหน้าที่
3.ด้านโครงสร้างIT
4.ด้านการบริหารจัดการ
1.ด้านข้อมูล
1.1 ข้อมูลมีความผิดปกติ โดยสปสชได้สุ่มทั้งหมด24แห่ง จาก12จังหวัด (ในที่นี่ไม่ขอเปิดเผยชื่อรพ.สต.นะครับ)สรุปผลการตรวจคือทุกแห่งจะมีvisitที่สูงมาก ซึ่งเมื่อแยกเป็นผู้ป่วยOpที่แท้จริง โดยตัดการวินิจฉัยโรคในกลุ่มZ ที่มิใช่เป็นการวินิจฉัยผู้ป่วยนอกออกแล้ว พบว่ามีสัดส่วนลดลงมาก ซึ่งรหัสZที่พบมากๆคือ Z71.9, Z13.6, การให้บริการในกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ(PP) ANC FP EPI PP เป็นต้น
ต่อมาคือความผิดปกติของจำนวนหัตถการ เทียบสัดส่วนต่อจำนวนvisit รวมนั้นดูสูงมาก ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของหัตถการพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยโรค และอาการของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังเอารหัสหัตถการที่ไม่มีความหมายว่าเป็นหัตถการมาใข้ เช่น9999 เป็นการบันทึกเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของadd on เท่านั้น
ต่อมาเป็นความผิดปกติของการจ่ายยาในบางรายการสูงมากผิดปกติ หรือจ่ายยาไม่เหมาะสมเช่นจ่าย paracetamol ครั้งละ1-2เม็ด หรือ20เม็ด ในผู้รับบริการเยี่ยมบ้าน คัดกรอง หรือบริการส่งเสริมอื่นๆ
1.2 การบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลของผู้มารับบริการมากกว่าความเป็นจริง โดยการบันทึกเพิ่มผู้มารับบริการที่มาเพียง1ครั้งให้เป็นการมารับบริการ2-3ครั้ง และแยกเป็นหลายๆวัน
- นำข้อมูลการคัดกรองต่างๆเช่นตรวจมะเร็งเต้านม เยี่ยมบ้าน และส่งเสริมป้องกันมาเป็นOP โดยเฉพาะข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้บริการเอง
- นำข้อมูลบริการอนามัยโรงเรียนเช่นการจ่ายยาFBC ป้องกันโรคโลหิตจางในนักเรียนมาบันทึกเป็นข้อมูลOP โดยมีการวินิจฉัยโรคและจ่ายยาFBC คนละเม็ดทุกสัปดาห์
- บันทึกรหัสโรค ICD10 ไม่สัมพันธ์ักับอาการ และยาที่ใช้ และมีการหลีกเลี่ยงการให้รหัสโรคในกลุ่มZ โดยเลือกรหัสICD10 อื่นๆแทนโดยการสุ่มตามใจชอบ
- บันทึกรายการยาไม่ถูกต้อง
- ใช้เทคนิคด้านIT เพื่อนำเข้าและปรับปรุงข้อมูล
- ไม่บันทึกข้อมูลผู้รับบริการลงในเอกสารหรือทะเบียนรายงาน ส่งผลให้ข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ไม่ตรงกับเอกสาร
- มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล มาช่วยบันทึกข้อมูลใน รพ.สต.ซึ่งลูกจ้างเหล่านี้ไม่มีความรู้ในระบบงานการให้บริการสาธารณสุข จึงบันทึกข้อมูลได้ไม่ถุกต้อง
- ละเลยการบันทึกข้อมูลOP เนื่องจากคิดว่ามีความยุ่งยาก และมีขั้นตอนในการบันทึกมาก
2. ด้านเจ้าหน้าที่
2.1 ทัศนคติในการจัดทำข้อมูล
- มีจุดมุ่งหมายในการบันทึกข้อมูลเพื่อเอาเงินกับสปสช.
- ไม่ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจจะตามมาจากการทำข้อมูลที่ขาดคุณภาพ
- มีความเข้าใจว่าการจัดทำข้อมูลของ รพ.สต. ในปัจจุบันนั้นถูกต้องเนื่องจากว่าหลายๆแห่งก็ทำและไม่มีใครทักท้วง
2.2 ขาดความรู้
- ขาดความรู้เรื่องการให้รหัสโรคICD10 รหัสหัตถการ และการให้ยาที่ถูกต้อง
- ขาดความรู้ความเข้าใจในเงื่อนไขการตรวจสอบ และระบบรับ-ส่งข้อมูลของสปสช.
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม เช่น JHCIS HOSXP
- ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพ
3.โครงสร้างด้านIT
3.1 HARDWARE
-  ขาดการบำรุงรักษา ซ่อมแซม บางแห่งมีมากเกินความจำเป็น
3.2 Software ในที่นี่ขอพูดถึงเฉพาะโปรแกรมJHCISนะครับ
- มีการออกแบบฟังก์ชั่นที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อเงื่อนไขการจ่ายเงินของ สปสช.มากกว่าการประโยชน์ของรพ.สต.เช่น มีการวินิจฉัยอัตโนมัติ  มีฟังก์ชั่นการจ่ายยาเป็นชุด  การออกรายงานบางชนิดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง(สปสช.ได้แจ้งทีมงานJHCISในการปรับโปรแกรมให้มีความถูกต้องแล้ว)
3.3 Network
- มีระบบinternet ความเร็วสูงในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
- มีระบบสำรองทดแทนเช่น aircard modem
3.4 ระบบความปลอดภัย
- มีการสำรองข้อมูล แต่ในบางรพ.สต. ก็ยังไม่มีการบันทึกข้อมูล
- การป้องกันไวรัสยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
4.ด้านการบริหารจัดการ
- นโยบายด้านข้อมูลOP/PP Individual ของสสจ เจ้าหน้าที่รพ.สต.ไม่ได้ปฏิบัติตาม
- สสอ.กำหนดKPI ในการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ไม่เหมาะสมทำให้สร้างแรงกดดันกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
- ปัญหาการจัดสรรเงินจากCUPล่าช้า
บทสรุป(จากสปสช)
1. เจ้าหน้าที่รพ.สต.มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการจัดทำข้อมูล รวมทั้งขาดความรู้ในเชิงด้านสาธารณสุขเช่นการให้รหัสโรคที่ถุกต้อง การให้หัตถการที่ถุกต้อง
2. โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูงฃลมีการบิดเบือนข้อมูลไปจากข้อเท็จจริง
3. ระบบบริหารจัดการตลอดจนนโยบายมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินงานOP/PP Individual
4. ขาดการประชาสัมพันธ์ และการประสานงานระหว่าง สสจ สสอ และรพ.สต.
ข้อเสนอแนะ(นี่ก็จากสปสช,นะครับ)
1.ควรมีการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ ในเรื่องการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากรพสต.
2.ควรมีการอบรมให้ความรู้และทักษะเรื่องการให้รหัสโรค รหัสหัตถการ และการจ่ายยาที่ถูกต้อง
3.ควรส่งเสริมให้มีการปรับเทคนิค ขั้นตอนให้บริการ และการบันทึกข้อมูลแบบ Real Time
4.กรณีการจ้างลูกจ้างบันทึกข้อมูล ต้องมีการควบคุมคุณภาพ และอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด
5.โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูล ควรปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล หน้าจอรับข้อมูล ตลอดจนฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีผลทำให้ผู้ใช้บันทึกข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
6.สนับสนุนให้มีการใช้ข้อมูลOP/PP Individual Records เพื่อการวางแผนงานหรือโครงสร้างงานด้านสาธารณสุข
7.มีกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานOP/PP Individual Records จากทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
8.ควรมีการทบทวนเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การตรวจสอบข้อมูลของสปสช.ส่วนกลางให้มีความรัดกุมมากขึ้น
9.ควรมีการปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของสปสช.ในกรณีOP/PP Individul Records จากรูปแบบGlobal budget รายเขต เป็นGlobal Budget รายจังหวัด ภายใต้ขอบของเขต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระบบจัดสรร และลดการแข่งขันในการจัดทำข้อมูลระหว่างจังหวัด
10.ควรมีเกณฑ์หรือแนวทางในควบคุมการจัดทำข้อมูล OP/PP Individul Records ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง
11.ควรปรับลดหรืองดการจัดสรรเงินในกลุ่มAdd On
12.ควรจัดให้มีงบประมาณหรือรางวัลที่มากพอในการสร้างแรงจูงใจในการจัดทำข้อมูลให้มีคุณภาพ และควรมีการลงโทษในกรณีที่เจตนาหรือตั้งใจทำข้อมูลให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

จากข้อมูลที่ทางสปสช.ออก audit รพ.สต. จำนวน 24แห่ง จาก12จังหวัด ก็พอจะชี้ให้เห็นแล้วนะครับว่า เราควรจะทำข้อมูลให้มีคุณภาพ ทำข้อมูลจากความจริงสู่ความจริงไม่มีการบิดเบือนข้อมูล ทำข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านสาธารณสุขจริงๆ ไม่ใช่ทำข้อมูลเพื่อมุ่งเน้นที่เอาเงินจาก สปสช.ฝ่ายเดียว ตั้งแต่นี้ต่อไปการบันทึกข้อมูลคงต้องเน้นที่การบันทึกข้อมูลแบบ Real Time เน้นการให้รหัสโรคให้ถูกต้อง ให้หัตถการที่ถูกต้อง และต้องจ่ายยาให้ถูกต้องโดยต้องสัมพันธ์กับอาการและการวินิจฉัยโรค  และสุดท้ายเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็อย่าลืมสำรองข้อมูลเก็บไว้ด้วยนะครับ
ถ้าเป็นแบบนี้คงพอจะมองเห็นแล้วว่าขณะนี้ทั้งสปสช.และสนย.ได้พยายามร่วมกันผลักดันให้ทีมงานรพ.สต.เราให้ผลิตข้อมูลOP/PP Individul Records ให้มีคุณภาพ(ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมโยงการให้บริการในระดับปฐมภูมได้)




วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คีย์วัคซีนBCG และHBVอย่างไรไม่ให้error

คำถามนี้มาบ่อยมากครับช่วงนี้ ทำไมแฟ้มepi error แก้ไขอย่างไร พอไล่ไปดูจริงๆพบว่าตัวที่ทำให้errorคือbcg กับ hbv การคีย์วัคซีนทั้ง2ตัวนี้ ถ้าตั้งใจจะเข้าไปคีย์แบบความครอบคลุม ของวัคซีนทั้ง2ตัวคีย์ยังงัยก็error ครับ ผมจึงขอเสนอวิธีแก้ไขง่ายๆดังนี้คือ ปกติเราเจอกับเด็กที่มารับวัคซีนที่ รพ.สต.อายุประมาณ2-3เดือนเป็นครั้งแรก(หรือคนใหม่ที่เพิ่งมารับวัคซีนที่เราและเป็นคนในเขตเราด้วย) ก็ให้เราดึงเด็กเข้าบริการตามปกติ พอไปหน้าโภชนาการ&วัคซีน  ก็ระบุวัคซีนที่เค๊าจะได้รับไป จากนั้นให้ไปคลิ๊กที่บันทึกความครอบคลุมวัคซีน คราวนี้หละครับเราค่อยระบุวันที่ที่เด็กวัคซีนตามสมุดสีชมพู(ปกติไม่น่าจะเกิน48ชั่วโมงหลังเกิด) จากนั้นก็ไประบุสถานที่ที่เด็กรับวัคซีน ถ้าคีย์แบบนี้แฟ้มepiไม่errorแน่นอนครับ ที่ต้องคีย์แบบนี้เพราะเราต้องอาศัยเอาseq จากวัคซีนที่เด็กได้รับไป ขออนุญาตยกตัวอย่าง
เด็กชายเจตพล อายุ2เดือน มารับบริการฉีดวัคซีนที่ รพ.สต. โดยที่ยังไม่ได้บันทึกวัคซีนbcgกับhbv
เริ่มต้นก็ดึงเด็กชายเจตพล เข้ามารับบริการ จากนั้นไปที่หน้าโภชนาการ&วัคซีน ให้วัคซีน DHB1กับOPV1 แล้วให้ที่บันทึกความครอบคลุมการรับวัคซีน ก็จะมีตารางโผล่ขึ้นมา จากนั้นก็ให้ระบุวันที่ที่เด็กรับวัคซีนลงไป แล้วก็บันทึกวัคซีน BCG และHBVลงไป จากนั้นก็ไประบุสถานที่ที่เด็กรับวัคซีนมา(ส่วนใหญ่ก็เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอ) แล้วก็ไปวินิจฉัยโรค Z27.1 principle Z24.6 co-morbidity และ Z24.0 co-morbidity ในกรณีนี้ไม่ต้องวินิจฉัยbcgกับhbv จ่ายหัตถการออกไปหนึ่งเอา9038170 ก็ได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การลงโปรแกรมjhcisบนwindows7ทั้ง32และ64bit

เนื่องจากสมาชิกหลายๆท่านแจ้งเข้ามามาก ว่าช่วยเขียนวิธีลงโปรแกรมJHCIS บนwindows 7 ทั้ง32bit และ 64 bit พอดีวันนี้ไม่มีงานหนักๆเข้ามาก็เลยต้องเขียนให้ทุกๆได้อ่านตามที่สัญญาครับ(แต่คงไม่ลงรายละเอียดมากนักเนื่องจากว่าขั้นตอนการลงมันก็มีหลายขั้นตอนเหมือนกัน เน้นเฉพาะในส่วนหลักๆที่มักจะเป็นปัญหาเวลาinstall ข้อมูล)
เริ่มแรกขั้นตอนที่1 เราต้องไปหักเขี้ยวเล็บของwindows 7 ก่อน โดยที่ control panal แล้วก็ไปที่action center
จากนั้นก็ให้มองไปที่มุมบนด้านซ้ายมือของจอหาตัวที่ชื่อว่าchange user account control settings คลิ๊กเข้าไปจะเจอเหมือนสเกล ปกติมันจะอยู่ตรงกลางให้ลากสเกลนั้นลงมาที่ต่ำสุด(never notify) เท่านี้windows7 ก็หมดเขี้ยวเล็บไปหนึ่ง ตอนนี้ท่านสามารถแตกไฟล์อัพเดทjhcisได้ โดยที่ไม่ต้องคลิ๊กขวาrun as asministrator แต่ถ้าไม่ทำขั้นตอนดังกล่าวก็จะเกิดปัญหาในการแตกไฟล์ตามมา
ขั้นตอนที่2 อันนี้ใช้แก้ไขกรณีที่โปรแกรมjhcis แสดงผลเป็นภาษาต่างดาว หรือ???????
วิธีทำคือ ไปที่ control panal >>>region and language>>ที่format ให้เลือกเป็นthai(Thailand) ในช่องshortdate ให้เลือกเป็น dd/MM/yyyy จากนั้นให้มองไปที่มุมบนแถบที่2ที่ชื่อว่าLocation
ในช่อง current location ให้เลือกเป็นthailand  จากนั้นก็ให้มองไปที่มุมบนที่แถบที่4asministrative
เลือกหาปุ่มที่ชื่อว่า change system local  คลิ๊กเข้าไปแล้วให้ตรวจสอบว่าที่current system locale ใช่
thai(Thailand)ถ้าไม่ใช่ให้เปลี่ยนเป็นthai แต่ถ้าเป็นthaiอยู่แล้ว ก็ถือว่าจบขั้นตอนการกำหนดเรื่องภาษาสำหรับjhcisแล้วครับ ต่อไป
ขั้นตอนที่3 กำหนดปิด firewall  ควรจะปิดขณะลงโปรแกรม วิธีทำก็ไปที่ windows firewall >>turn windows firewall on or off ให้เลือกที่turn off windows firewall
ก็หมด3ขั้นตอนในการเตรียมเครื่องเพื่อให้สามารถลงโปรแกรมjhcisได้อย่างไม่มีปัญหา
ส่วนการinstall โปรแกรมjhcis ในwindows xp และ windows 7 32bit การลงเหมือนกันครับ(ทำตามคู่มือเดิมที่ทางอาจารย์ทำออกมาก็ได้) ส่วนที่แตกต่างกันwindows7 64 bit เค๊าจะมีprogram files อยู่2ตัว การinstall โปรแกรม ก็เหมือนกับ xp และ32 bit แต่ที่แตกต่างคือถ้าเป็น64bit มันจะมี(x86) เวลาinstall โปรแกรม jhcis ก็แค่ให้ลบ(x86)ทิ้งไป ให้เหลือแค่ C:program file\jhcis
windows 7 64 bit ให้ลบ(x86)ออกทุกครั้งที่เจอเวลาinstall โปรแกรม เท่านี้การลงโปรแกรมjhcis บนwindows7 ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร 
หลายๆท่านที่เป็นuserจริงๆอาจจะไม่เข้าใจเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้เนื่องการลงโปรแกรมมันค่อนข้างจะละเอียด เดี๋ยวผมจะทำfile vdo การinstall jhcis อย่างละเอียดให้ในโอกาสหน้านะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

jhcis version 3 สิงหาคม 2554

หลายๆท่านคงได้ทดสอบการกันไปแล้วนะครับ แล้วหลายๆท่านก็ประสบปัญหาพบว่าไม่สามารถวินิจฉัยโรคและจ่ายยาได้(จริงๆแล้วด้วยความเห็นส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับทีมงานjhcis ที่ต้องการกำหนดให้แต่userมีหน้าที่อะไร ทำอะไรได้บ้าง) ผมขอแนะนำวิธีการง่ายๆเพื่อให้แต่ละuser สามารถวินิจฉัยโรค จ่ายยา หรือทำกิจกรรมอื่นๆได้ ดังนี้ 
1.เข้าjhcis ด้วย log in adm 
2. ไปที่ ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3. ไปที่ปุ่ม ผู้ใช้งานโปรแกรม(users)&แพทย์แผนไทย
4. จากนั้นให้คลิ๊กขวาที่ชื่อผู้ใช้(คนที่คุณต้องการกำหนดสิทธิให้) แล้วให้เลือกแถบที่3 กำหนดสิทธิการใช้งานเมนูบริการ (tab 1-8)จากนั้นก็กำหนดว่าuserนี้จะสามารถทำอะไรได้บ้างหรือจะกำหนดหมดทั้ง8ข้อโดยมีหัวข้อดังนี้
1.วินิจฉัย-จ่ายยา
2.ตรวจครรภ์(anc)
3.คลอด(บันทึกรายละเอียดการคลอดทั้งมารดาและทารก)
4.ดูแลมารดาหลังคลอด
5.ดูแลทารกหลังคลอด
6.โภชนาการ&วัคซีน
7.วางแผนครอบครัว
8.ตรวจมะเร็ง(เฉพาะการตรวจมะเร็ง)
เท่านี้แต่ละuser ก็สามารถทำอะไรได้ตามที่กำหนดไว้ครับ

การคีย์เยี่ยมหลังคลอดสำหรับjhcisตั้งแต่เวอร์ชั่น6กรกฎาเป็นต้นไป

จากการที่หลายๆท่านได้ทดลองใช้โปรแกรมjhcis version 6 กรกฎาคม แล้วก็มา22 กรกฎาคมและล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม 2554 นั้น พบว่าเมื่อส่งออก18แฟ้ม ปรากฎว่าข้อมูลที่แฟ้มPP.txt และMCH.txt ไม่มีข้อมูลออกมาทั้งๆที่ก็คีย์ข้อมูลเข้าไป ผมขอแนะนำการคีย์เยี่ยมหลังคลอดอีกครั้ง เพื่อให้สามารถส่งออก18แฟ้ม ได้ครบทุกแฟ้ม โดยที่ไม่ขาดแฟ้ม pp และ mch(ตามโปรแกรมjhcis )
มาตรฐานครั้งที่ 1 คือเยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ไม่เกิน 7 วันนับถัดจากวันคลอด(หรือไม่เกิน 8 วันนับจากวันคลอด)
มาตรฐานครั้งที่ 2 คือ
เยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ตั้งแต่ 8 วัน และไม่เกิน 15 วันนับถัดจากวันคลอด
มาตรฐานครั้งที่ 3 คือเยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ตั้งแต่ 16 วัน และไม่เกิน 45 วันนับถัดจากวันคลอด(หากมีการตรวจครั้งที่ 3 โปรแกรมฯ จะบันทึกไว้ในฐานข้อมูล แต่จะไม่ส่งออกมาใน mch.txt และ pp.txt)
ข้อมูลในแฟ้ม mch.txt และ pp.txt จะไม่ถูกส่งออกมา
หากการบันทึกข้อมูลการตรวจหลังคลอด(มารดา และทารก) ยังไม่ครบ 2 ครั้งมาตรฐานในรอบการส่งนั้น
(แม้จะบันทึกข้อมูลครบ 2 ครั้ง แต่ถ้า 2 ครั้งนั้นไม่เข้าเกณฑ์ การตรวจตามมาตรฐาน ก็จะไม่ส่งออกมาเช่นกัน 
)
เนื่องจากสปสช.ออกเกณฑ์การตรวจสอบปี55ออกมาใหม่ เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการคีย์ใหม่เพื่อให้ได้2point  กติกาคือ
pcare3>pcare2>pcare1 โดยกติกาการตรวจครั้งที่2ต้องห่างจากวันที่เกิดไม่น้อยกว่า16วัน
โดยสรุปเพื่อทุกท่านจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับวันที่ผมแนะนำว่าครั้งที่1คือห่างจากวันคลอด5วัน ครั้งที่2ห่างจากวันคลอด20วัน และครั้งที่3ห่างจากวันคลอด 35 วัน(5,20,35) เด็กที่เกิดหลังจากวันที่ 21ของแต่ละเดือนให้ยกยอดไปคีย์คลอดและเยี่ยมหลังคลอดในเดือนถัดไป เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ จะทำให้ท่านสามารถคีย์ข้อมูลการเยี่ยมหลังคลอดทั้งแม่และลูกได้ถูกต้อง

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการตรวจสอบข้อมูลการป่วยและตาย(สนย.)

1.การตรวจสอบรหัสโรคสำหรับการป่วย
       1.1 การให้รหัสโรคครบทุกคนที่มารับบริการ หรือไม่อย่างน้อย1รหัสโรค(คน/ครั้ง)
       1.2 การจำแนกประเภทของผู้รับบริการ ถูกต้องหรือไม่ จำแนกได้4ประเภท แยกเป็น
       1.2.1 มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ (ควบคุม ป้องกัน)เช่น ANC EPI FP รวมถึงการมาตรวจคัดกรองในโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
      1.2.2 มาบำบัดรักษาโรคและความเจ็บป่วย
      1.2.3 การดูแลติดตามหลังรักษา เช่นผู้ป่วยที่นัดมารับบริการที่รพ.สต.
      1.2.4 มารับบริการอื่นๆ เช่น มาขอใบส่งตัว ใบรับรองการรักษา
2. การตรวจสอบความถูกต้องการให้รหัส
    2.1 การให้รหัสผู้มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ และการให้บริการอื่นๆ รหัสICDจะใช้ในบทที่21
ระหว่าง Z00-Z99
    2.2 การให้รหัสบำบัดรักษาโรค แบ่งเป็น2กรณี
    2.2.1 ให้บริการรักษา
    2.2.1.1 ถ้าสามารถวินิจฉัยโรคได้ ให้รหัสICD ของโรคนั้นๆใช้รหัส A00-Q99,S00-T99
    2.2.1.2 ถ้าวินิจฉัยโรคไม่ได้ ให้ใช้อาการเป็นรหัสในการวินิจฉัยใช้รหัส R00-R99
    2.2.2 ให้บริการหลังการรักษาหรือผู้ป่วยทีนัดหมายไว้แบ่งได้ตามอาการดังนี้
    2.2.2.1 อาการหรือโรคเดิมหายไปแล้ว ให้รหัสZ099
    2.2.2.2 อาการหรือโรคเดิมยังไม่หายแต่ดีขึ้น ให้รหัส Z54.8
    2.2.2.3 อาการคงเดิมให้รหัสเดิมที่เป็นอยู่
3. การตรวจสอบสาเหตุการตาย
    3.1 ต้องเลือกสาเหตุการตาย ที่เป็นสาเหตุต้นกำเนิด ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาจนทำให้ตาย
    3.2 ไม่บันทึกอาการและรูปแบบการตายที่เป็นสาเหตุการตาย เช่นหัวใจล้มเหลว ชรา ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ฯลฯ คือรหัสที่อยู่ในR00-R99
    3.3 สาเหตุการตายจากการบาดเจ็บ ให้เอาสาเหตุของการบาดเจ็บเป็นสาเหตุการตาย เช่น การบาดเจ็บเกิดจาก พลัดตก หกล้ม จมน้ำ อุบัติเหตุการจราจรให้บอกชนิดของยานพาหนะ รหัสที่ใช้จะอยู่ระหว่างW00-Y99
    3.4 S,T เป็นรหัสที่บอกถึงการบาดเจ็บของอวัยวะไม่ใช่สาเหตุการตาย
    3.5 ตรวจสาเหตุการตายว่าเป็นของเพศชาย เพศหญิง หรือเด็กตายต่ำกว่า1ปี เช่น แม่ตายรหัสO00-O09 เด็กตายต่ำกว่า 1ปี รหัสP00-P99 เป็นต้น
4. การบันทึกอาการ ให้บันทึกให้ละเอียดโดยยึดหลัก 5W+2H บันทึกให้ครอบคลุม
5. การวินิจฉัยโรคให้วินิจฉัยจากอาการและวินิจฉัยโรคให้ครบตามอาการที่บันทึกไว้
6. การจ่ายยาให้จ่ายยาให้สอดคล้องกับวินิจฉัยและอาการ
ตัวอย่าง นาย ก. มาด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ เป็นมาแล้ว2วัน ตรวจร่างกายพบทอลซิลอักเสบ และมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
วินิจฉัย= J03.8 principle และ M79.10 co-morbidity
จ่ายยา= para500  amoxy250 ยาอมมะแว้ง norgesic diclofenac50mg.

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การวินิจฉัยโรคกรณีฉีดวัคซีน

ก่อนอื่นผมต้องขอโทษทุกท่านที่เคยได้อ่านบทความของผมก่อนหน้านี้ในเรื่องการวินิจฉัยโรคกรณีฉีดวัคซีน ซึ่งผมได้แนะนำให้วินิจฉัยกรณีDHB ว่าให้วินิจฉัยเป็นZ27.3 และZ24.6 จากการตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของสนย.และอาจารย์จากกรมควบคุมโรค ท่านทั้ง2 ได้แนะนำดังนี้
BCG =Z23.2  principle + Hbv1=Z24.6 co-morbidity
DHB(1,2,3)=Z27.1 principle+Z24.6 co-morbidity+Z24.0 co-morbidity
MMR 9เดือน= Z27.4 principle
DTP4= Z27.1 principle+ OPV4=Z24.0 co-morbidity +JE1=Z24.1 co-morbidity
JE2=Z24.1 principle
JE3=Z24.1 principle
DTP5=Z27.1 principle+ OPV5 = Z24.0 co-morbidity
MMRนักเรียนป.1=Z27.4 principle
DT นักเรียนป.6=Z23.5 principle+Z23.6 co-morbidity
ไข้หวัดใหญ่(815) =Z25.1 principle
               

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

jhcis version 22 กรกฎาคม 2554

จากการที่ผมได้ทดสอบการใช้งานโปรแกรมjhcisในเวอร์ชั่น22กรกฎาคม 2554 ขอสรุปว่าเวอร์ชั่นนี้น่าใช้กว่าเวอร์ชั่น6กรกฎาคม 2554 แน่นอน อย่างน้อยคุณก็ไม่ต้องไปปวดหัวกับเรื่องน้ำหนักส่วนสูง เพราะในเวอร์ชั่นนี้ยังคงส่วนสูงไว้ให้ ส่วนที่บอกว่าเป็นปัญหากันในงานโภชนาการ ผมว่าคงเป็นการเข้าใจผิดกันมากกว่า เพราะโดยวัตถุประสงค์ของแถบเมนูนี้(ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ)ผู้เขียนน่าจะเจตนานำเอามาใช้กับเด็กอายุไม่เกิน72เดือนมากกว่า ข้อสังเกตุคือถ้าเป็นเด็กอายุประมาณนี้จะคีย์ข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงได้ปกติ ส่วนผู้ใหญ่จะคีย์ไม่ได้เลย ซึ่งผมว่า(นี่ก็ความเห็นส่วนตัวอีกหละ)ไม่น่าจะเข้าไปใช้ที่แถบเมนูนี้ ใช้ที่หน้าการบริการก็น่าจะพอแล้ว ในส่วนของการคีย์ข้อมูลผมว่าดีกว่าเวอร์ชั่น6กรกฎาคม 2554แน่นอน ในส่วนของรายงานซึ่งหลายอำเภอ หลายจังหวัดรอใช้อยู่ก็ออกมาใหม่ๆหลายตัวเหมือนกัน เช่นตรวจพัฒนาการเด็ก คลังยาแยกเป็นคลังยาใน คลังยานอก แถมใบเบิกวัคซีนแบบว3/1ให้ด้วย ส่วนรายงานที่ยังใช้ไม่ได้ก็ยังมีหลายตัวเหมือนกัน รายงานสรุปยาที่เป็นปัญหาเวอร์ชั่น6กรกฎาคม ในเวอร์ชั่นนี้ก็ไม่มีปัญหา โดยภาพรวมผมว่าดีกว่า6กรกฎาคม ช่วงนี้ถ้าท่านใดจะเปลี่ยนไปเป็น22กรกฎาคม ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถึงแม้ว่าclient จะยังเป็นเวอร์ชั่น6กรกฎาคม  ส่วนตัวเต็มจะออกวันใหนก็ค่อยติดตามตอนไปก็แล้วกันนะครับ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อัพเวอร์ชั่นแล้วคลิ๊กที่shortcut jhcis แล้วเงียบเลย

ปัญหานี้ก็เจอบ่อยครับ คือหลังจากที่อัพเวอร์ชั่นของjhcis แล้ว พอจะคลิ๊กเข้าโปรแกรม ปรากฎว่าเงียบฉี่เลย ไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาเลย แล้วจะแก้ไขอย่างไร อันนี้ไม่ยากครับ จากการที่ไปไล่ในโปรแกรมพบว่ามันมีไฟล์นึงที่ชื่อว่าdatabase.properties มันน่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น การแก้ไขก็ไปcopy ไฟล์นี้ในเครื่องที่ไม่มีปัญหาในการเข้าโปรแกรมjhcis copyแล้วก็เอาไปวางทับอันเดิมเลยครับ โดยเอาไปวางที่drive c: >>program file >>jhcis
เท่านี้ก็เข้าโปรแกรมjhcisได้แล้วครับ
เห็นมั๊ยครับ jhcis ง่ายนิ๊ดเดียว

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำสั่งย้ายวัคซีนที่ผิดหนีไปอยู่ที่อื่น

เนื่องจากว่าหลายท่านจากเชียงใหม่ถามมาผมก็เลยจำเป็นต้องเอาขึ้นมาให้อ่านนะครับ
กรณีที่ทำคือการย้ายวัคซีนที่รหัสมันผิดหนีไปที่อื่น เพื่อให้เหลือแต่วัคซีนที่ถูกต้องเท่านั้น จะได้ไม่มีใครไป
คลิ๊กวัคซีนที่ผิดขึ้นมาใช้
เริ่มจาก เปิด mysql query brower ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำสั่งนี้เข้าไปครับ

update cdrug set drugtype='91' where drugcode='816';

ในกรณีนี้วัคซีนที่ต้องการย้ายคือ816 แต่ถ้าคุณมีวัคซีนที่หลายตัวแต่ต้องการย้ายก็เพียงแค่เอารหัสวัคซีนที่ผิดไปใส่แทน816 แล้วก็กดexcute เท่านี้วัคซีนที่ผิดก็ไม่อยู่กวนใจให้ท่านต้องคลิ๊กผิดอีกต่อไปครับ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีแก้ไขไม่ให้น้ำหนักคนแรกตามไปที่คนที่สอง

จากปัญหาที่ได้รับมา ผมก็เลยลองหาวิธีคีย์ที่่จะไม่ทำให้น้ำหนักคนที่หนึ่งตามไปหลอกหลอนกับคนที่มารับบริการต่อๆไป สุดท้ายก็มาจบลงที่ หลังจากที่คุณบันทึกกิจกรรมต่างๆจนครบแล้ว ใส่อาการ วินิจฉัย จ่ายยาเสร็จเรียบร้อย ห้ามคลิ๊กค้นหาเพื่อดึงคนต่อไปมารับบริการ ให้คลิ๊กที่จบ โปรแกรมก็จะกลับมาที่เตรียมให้บริการ แล้วค่อยพิมพ์ชื่อคนที่จะมารับบริการคนต่อไป  ผมทดลองมาประมาณ20คน น้ำหนักคนแรกก็ไม่ตามไปนะครับ
เจอกันปัญหาหน้าครับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการแตกไฟล์สำหรับตัวอัพเจเวอร์ชั่น6กรกฎาคม

เนื่องจากมีหลายท่านได้ถามเข้ามา ผมก็เลยจำเป็นต้องมาเขียนให้อ่านนะครับ
สำหรับwindows xp และ windows 7 32 bit ก็ใช้ตัวธรรมดาไป ก็ให้แตกไฟล์ไปที่
C:\program files(x86)\jhcis
ส่วนตัว windows 7 64 bit ก็ให้แตกไฟล์ไปที่
C:\Program Files\jhcis
เท่านี้ครับเครื่องคุณก็จะอัพjhcis ตรงตามเวอร์ชั่นครับ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

link download jhcis version 6 กรกฎาคม 2554

link download jhcis version 6 กรกฎาคม 2554 จากdropboxของผมครับ
สำหรับwindows xp /windows7 32 bit
http://dl.dropbox.com/u/28878454/2011-07-06/jhcis-server.exe
http://dl.dropbox.com/u/28878454/2011-07-06/jhcis-client.exe
สำหรับwindows7 64 bitครับ
http://dl.dropbox.com/u/28878454/2011-07-06%20for64bit/jhcis-server-64bit.exe
http://dl.dropbox.com/u/28878454/2011-07-06%20for64bit/jhcis-client-64bit.exe

jhcis version 6 กรกฎาคม 2554

หลังจากที่ผมได้ทดสอบjhcis เวอร์ชั่นนี้แล้วนะครับ ภาพรวมถือว่าดีเลยหละครับ เริ่มจากที่หน้าตาของโปรแกรมก็เปลี่ยนไป(ดูดีมีตระกูลขึ้นเยอะ) มีส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือมีรายงานที่มีความถูกต้องมากขึ้น หลังจากปรับโครงสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้วเรียบร้อย ผมได้เข้าไปดูที่ฐานข้อมูลพบว่าฐานข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของสิทธิบัตรยังอยู่ปกติดีไม่เปลี่ยนเป็นXXหรือ71แน่นอนครับ(ตามที่หลายๆท่านตั้งกระทู้ไว้)ถ้าเปลี่ยนไปผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าไม่ได้เกิดจากJHCISแน่ ส่วนที่เพิ่มมาใหม่ที่เห็นชัดๆคือเรื่องเวบเซอร์วิส อันนี้ขอชมครับว่าเยี่ยมยอดเลย เมื่อเราคลิ๊กที่ตรวจสอบสิทธิจากฐานสปสช. ก็จะมีข้อมูลขึ้นมา เมื่อคุณคลิ๊กที่ต้องการใช้สิทธิ์นี้ในการรับบริการหรือไม่ เมื่อตอบตกลง สิทธิจากฐานสปสช.ก็จะวิ่งเข้ามาบันทึกที่โปรแกรมJHCISเลย และจากการตามไปดูที่ฐานข้อมูลก็พบว่าฐานข้อมูลเปลี่ยนไปตามสิทธิสปสช.ครับ
มีดีมามากแล้วขอตินิ๊ดเดียวครับ เรื่องน้ำหนักกับส่วนสูงในความคิดเห็นส่วนตัวผม ผมว่าเอาบันทึกอันเก่าไว้นั่นหละดีแล้ว ถ้าผู้ปวยมารับบริการแล้วน้ำหนักเค๊าเปลี่ยนไปก็ค่อยเปลี่ยน แต่เวอร์ชั่นนี้มาแบบว่างๆให้เอาใส่น้ำหนักกับส่วนสูงเข้าไปเอง แถมเมื่อดึงคนต่อมามารับบริการน้ำหนักกับส่วนสูงของคนแรกยังตามมาหลอกหลอนที่คนที่สองอีก ถ้าไม่ระวังในการคีย์ผมว่าวันนั้นน่าจะมีน้ำหนักกับส่วนสูงเท่ากันทุกคน
โดยสรุปผมว่าเวอร์ชั่นนี้น่าใช้ครับ ทดสอบแล้วผ่านครับเชิญโหลดไปใช้ได้เลย ขอขอบคุณคณะทีมงานjhcisทุกท่านที่มุ่งมั่นพัฒนาโปรแกรมให้พวกเราใช้ครับ

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจเวอร์ชั่น4กรกฎา

ครับหลังจากไม่ได้เขียนมาหลายวัน วันนี้ช่วงเช้าก่อนขึ้นสอนก็เลยคิดว่าเขียนอะไรซั๊กอย่างดีกว่างั้นเราก็เอาเรื่องใกล้ตัวเราแล้วครับ จากการที่ทางศูนย์เทคกระทรวงได้จัดทำตัวอัพเจเวอร์ชั่น4 กรกฎาออกมา จากการที่ทดสอบ ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งใช่้เวอร์ชั่นนี้เพราะมันมีปัญหาค่อนข้างมาก ถ้าปรับไม่เป็นงานเข้าเต็มๆ
ช่วงนี้ก็ใช้6พฤษภาไปก่อน หรือ22มิถุนาไปก่อนก็ได้นะครับ เวอร์ชั่นใหม่น่าจะออกมาประมาณอาทิตย์นี้อีกเวอร์ชั่น สำหรับวัยรุ่นอย่าเพิ่งใจร้อนรีบโหลดมาใช้นะครับ ขอทดสอบดีๆก่อนจะแจ้งให้ทราบ

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สปสช.เอาแน่ ถ้าคุณยังmakeข้อมูลอยู่

ตามที่สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน (สบจ.) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยนอกและข้อมูลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล (OP/PP Individual Data) ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ สำนักบริหารการจัดสรรกองทุนร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตต่างๆ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อรับทราบปัญหาและให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูลฯ ทั้งนี้จากการดำเนินงานดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปและกำหนดหลักเกณฑ์การบันทึกข้อมูลฯ เพื่อแจ้งหน่วยบริการ โดยข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาบันทึกในระบบข้อมูลผู้ป่วยนอก มีดังนี้
๑) ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการเอง เช่น ให้ อสม. ออกสำรวจ เป็นต้น
๒) ข้อมูลการรับบริการใน ๑ ครั้ง นำมาแยกบันทึกเป็นหลายๆวันและหลายครั้ง
๓) ข้อมูลที่ไม่ได้เกิดการให้บริการจริง นำมาบันทึกและใส่รหัสการวินิจฉัยโรค
๔) การบันทึกข้อมูลรหัสหัตถการ ที่ไม่ได้มีการทำหัตถการกับผู้มารับบริการจริง หรือใช้รหัสที่ไม่มีความหมาย เช่น รหัสที่มีความหมายว่า อื่นๆ (Other)รวมถึงหัตถการปัญญาอ่อน เป็นต้น
๕) การบันทึกข้อมูลการให้ยา โดยไม่ได้มีการจ่ายยาให้กับผู้มารับบริการจริง
ทั้งนี้หากมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเข้ามาและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบพบ จะดำเนินการระงับการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยตามอัตราการใช้บริการไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
สุดท้ายผมว่าตอนนี้เรามาทำข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์จริงๆในงานสาสุขเราดีกว่า หยุดMOหยุดMAKE ดีกว่าครับ เอาตามจริงตรงไปตรงมา

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปัญหาodbc fails

วันนี้ก็เจอปัญหามาอีกเหมือนเดิมครับ วันนี้เจอodbc fail ไป3เครื่องครับ ตอนแรกก็คิดหมูๆลงmysql3.51ใหม่ก็คงหาย พอเอาเข้าจริงๆกับไม่หายตายหละหว่าจะเอางัยดี พอดีวันนี้อาจารย์ใหญ่ไปด้วยเลยสบาย ปล่อยให้อาจารย์จัดการก็เลยได้ความรู้มาว่า กรณีที่root ไม่สามารถใช้งานได้ ให้ไปgrant สิทธิให้ทุกสิทธิใช้ได้คือ ไปที่ C:program files>>>jhcis>>>แล้วไปคลิ๊กที่create_ jhcisdb_all_grant_bat  ปรากฎว่าหายไป2เครื่อง ยังเหลืออีกหนึ่ง เครื่องนี้โหดหน่อยคือodbcตายสนิท เอางัยดีหว่า อาจารย์ผมก็เลยไปโหลดตัวนี้ใส่http://dl.dropbox.com/u/28878454/mysql-connector-odbc-3.51.28-win32.ปรากฎว่าหาย
สรุปต่อไปodbc failก็คงไม่เป็นปัญหาต่อไปถ้าใช้2วิธีนี้จัดการ

ปัญหาjhcisเวอร์ชั่น22มิถุนายน 54

พอดีวันนี้เจอทีเด็ดเข้าครับ เจอปัญหาคือเมื่อปรับjhcisเป็นเวอร์ชั่น22มิถุนายน54 ปรากฎว่า
1.เมื่อlog in เข้าโปรแกรมมันจะดีดออกทันที
2.เมื่อlog in เข้าไปมันจะค้างอยู่อย่างนั้นไปใหนก็ไม่ได้
จากปัญหาข้างบนเกิดกับเครื่องที่ปรับjhcisจากเวอร์ชั่น 19 พฤศจิกายน และจากเวอร์ชั่น 8 มีนาคม
มาเป็น22มิถุนายน  การแก้ไขนะครับ
1. ผมลองเอาตัวอัพเดทของjhcisเวอร์ชั่นเก่าๆมาแตกไฟล์ออกเช่นเวอร์ชั่น 28พฤศจิกายน52 เวอร์ชั่น 11มกราคม53 แล้วก็มาเวอร์ชั่นมีนาคม 19 พฤศจิกา 8 มีนา แล้วก็มา6 พฤษภา และสุดท้ายเป็น22มิถุนายน54 ไล่ปรับโครงสร้างมาเรื่อยๆ ปรากฎว่าแก้ปัญหาได้ไป1เครื่อง
2.คราวนี้ผมก็เลยใช้java runtime ซื่งเดิมที่มากับJคือเวอร์ชั่น2 จะมีส่วนหนึ่งที่ได้อัพ java runtime มาเป็นเวอร์ชั่น18 ลองอัพเป็น18แล้วก็ยังเข้าไม่ได้ ผมก็เลยใช้ตัวjava runtime เวอร์ชั่น 26  install เข้าไป พร้อมกับrestart เครื่องใหม่อีกหนึ่งครั้ง ปรากฎว่าเข้าโปรแกรมjhcisได้ไปอีกเครื่อง ยังเหลือปัญหาแบบบิ๊กเบิ๊มมากอีกเครื่อง เครื่องนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังใหม่วันหน้านะครับ เอาเป็นว่าถ้าอัพเจเป็นเวอร์ชั่น22มิถุนายน54แล้ว เกิดปัญหาดังกล่าวก็ลองนำวิธีการที่ผมทำมาไปแก้ไขได้นะครับ

ปัญหาjhcisเวอร์ชั่น22มิถุนายน 54

พอดีวันนี้เจอทีเด็ดเข้าครับ เจอปัญหาคือเมื่อปรับjhcisเป็นเวอร์ชั่น22มิถุนายน54 ปรากฎว่า
1.เมื่อlog in เข้าโปรแกรมมันจะดีดออกทันที
2.เมื่อlog in เข้าไปมันจะค้างอยู่อย่างนั้นไปใหนก็ไม่ได้
จากปัญหาข้างบนเกิดกับเครื่องที่ปรับjhcisจากเวอร์ชั่น 19 พฤศจิกายน และจากเวอร์ชั่น 8 มีนาคม
มาเป็น22มิถุนายน  การแก้ไขนะครับ
1. ผมลองเอาตัวอัพเดทของjhcisเวอร์ชั่นเก่าๆมาแตกไฟล์ออกเช่นเวอร์ชั่น 28พฤศจิกายน52 เวอร์ชั่น 11มกราคม53 แล้วก็มาเวอร์ชั่นมีนาคม 19 พฤศจิกา 8 มีนา แล้วก็มา6 พฤษภา และสุดท้ายเป็น22มิถุนายน54 ไล่ปรับโครงสร้างมาเรื่อยๆ ปรากฎว่าแก้ปัญหาได้ไป1เครื่อง
2.คราวนี้ผมก็เลยใช้java runtime ซื่งเดิมที่มากับJคือเวอร์ชั่น2 จะมีส่วนหนึ่งที่ได้อัพ java runtime มาเป็นเวอร์ชั่น18 ลองอัพเป็น18แล้วก็ยังเข้าไม่ได้ ผมก็เลยใช้ตัวjava runtime เวอร์ชั่น 26  install เข้าไป พร้อมกับrestart เครื่องใหม่อีกหนึ่งครั้ง ปรากฎว่าเข้าโปรแกรมjhcisได้ไปอีกเครื่อง ยังเหลือปัญหาแบบบิ๊กเบิ๊มมากอีกเครื่อง เครื่องนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังใหม่วันหน้านะครับ เอาเป็นว่าถ้าอัพเจเป็นเวอร์ชั่น22มิถุนายน54แล้ว เกิดปัญหาดังกล่าวก็ลองนำวิธีการที่ผมทำมาไปแก้ไขได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

jhcis version 22 มิถุนายน 2554

ทดสอบแล้วเวอร์ชั่นนี้work ครับ  ทดลองใช้มาแล้ว2วัน ยังไม่เจอปัญหาอะไร
http://dl.dropbox.com/u/28878454/jhcis-server.rar

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

jhcis version 22มิถุนายน 2554

สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามblogของผมเป็นประจำ และขอบคุณเพื่อนๆและน้องๆจากสสอ.เมืองหนองบัวลำภู ที่ได้มาช่วยต้อนรับอาจารย์สัมฤทธิ์ สุขทวี และขอขอบพระคุณอาจารย์สัมฤทธิ์ที่ช่วยกรุณาให้โปรแกรมjhcis version 22 มิถุนายน 2554มาทดสอบ จากการทดสอบตลอดช่วงเช้าของวันนี้ โดยสรุปถือว่าผ่านครับ จากการทดลองการคีย์ข้อมูลโดยการดึงข้อมูลประชากรจากกลุ่มสิทธิต่างๆ มารับบริการพบว่าสิทธิไม่เปลี่ยนดึงขื้นมาสิทธิใหน ก็ยังคงเป็นสิทธินั้น ขอยืนยันว่าเวอร์ชั่นนี้ไม่มีxxแน่ ส่วนอื่นๆก็คงเหมือนกับเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ที่มีเปลี่ยนคือเลขหมู่บ้านจากการที่หลายๆรพ.สต.ได้เปลี่ยนจากรหัสหลักเดียวเป็น2หลัก เมื่อปรับโครงสร้างเสร็จ รหัสหมู่บ้านจะกลับมาเป็นเลขหลักเดียว ซึ่งผมแนะนำว่าไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน ปล่อยไว้อย่างนั้นหละ ที่เห็นๆหลักๆก็คงมีเท่านี้ครับสำหรับผู้ต้องการโหลดไปใช้ก็รอแป๊บครับ เย็นๆจะอัพขี้นให้โหลด

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การค้นยารหัสยาและหัตถการจากโปรแกรมOPPP2554

เนื่องจากช่วงนี้มีหลายๆท่านได้ขอรหัสต่างๆไม่ว่าจะเป็นยา ยาสมุนไพร หรือแม้แต่หัตถการ มาที่ผม ช่วงนี้ก็พอดีงานเข้าผมเยอะครับ อาจจะตอบท่านช้าไปหน่อย วันนี้ผมก็เลยกะจะมาสอนให้คุณๆค้นหารหัสจากโปรแกรมOPPP2554 เอาเองเลย เพราขอมาที่ผมๆก็ค้นเอาจากโปรแกรมนี้หละครับ ก่อนอื่นอย่าลืมว่าคุณต้องไปอัพโปรแกรมOPPP2554ก่อนนะครับ รายละเอียดตามบทความก่อนหน้านี้
คราวนี้ถ้าคุณจะค้นหารหัสยาก็ไปเปิดโปรแกรมOPPP2554ขึ้นมา จากนั้นก็ไปคลิ๊กที่ตารางที่เกี่ยวข้อง เลือกตารางยา คุณต้องการยาตัวใหนก็แค่พิมพ์ชื่อยาเข้าไปแล้วคลิ๊กที่ค้นหา ยาที่คุณต้องการก็จะปรากฎขึ้นมาให้คุณเลือกเอา เช่น พิมพ์คำว่า ขมิ้นชัน แล้วคลิ๊กที่ค้นหา ก็จะมีรายการยาปรากฎมาให้เราเลือกเอาตามบริษัทหรือชื่อยาที่เรามี ส่วนการค้นหารหัสหัตถการ ก็ไปเลือกที่ตารางที่เกี่ยวข้อง แล้วเลือกตารางรหัสหัตถการ พิมพ์ชื่อคุณต้องการเข้าไปแล้วคลิ๊กค้นหา เท่านี้การค้นหารหัสสำหรับคุณก็จะไม่เป็นปัญหาต่อไปแล้วครับ
ทุกปัญหาของJHCISที่คุณถามมา ผมจะพยายามเอามาเขียนไว้ที่blogนี้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม

ขอรหัสยาสมุนไพรเพิ่ม

ครับคุณขอมา ผมก็จำเป็นต้องจัดให้ ที่คุณขอมาเป็นยาสมุนไพรของบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย งั้นก็เริ่มเลยนะครับ ตามที่ขอมา
มะขามแขกของบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมันมีตัวเดียวครับคือยาเม็ดมะขามแขกรหัส410000000499155820382755
ครีมพญายอ=410000000389300440182755
ส่วนกรีเซอรีนพญายอของผลิตภัณฑ์สมุนไพรมันจะชื่อว่าพญายอกรีเซอรีน รหัส410000000389500450382755
ส่วนครีมใบบัวบก หาหมดทุกที่แล้วไม่มีครับ มีแต่ยาแคปซูลใบบัวบก  ขออภัยด้วยลองถามเภสัชกรในอำเภอเราที่สั่งซื้อดูครับ
ที่มาของรหัส:จากโปรแกรมOPPP2554

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไปเยี่ยมบ้านมาแล้วจะวินิจฉัยอะไรได้บ้าง

เป็นคำถามสุดhotขณะนี้ที่ผมได้รับทุกวัน ผมก็เลยไปสรุปมาจากหนังสือicd10 tm for pcu มาให้นะครับ
ผมเน้นว่าเฉพาะการเยี่ยมบ้านนะครับ
Z71.9 การให้คำปรึกษา(ให้คำแนะนำทางการแพทย์)
Z71.8 การให้คำปรึกษาอื่นที่ระบุรายละเอียด
Z58.8 ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ(ใช้ในกรณีที่ได้แนะนำเรื่องสุขาภิบาล)
Z58.9ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่ระบุรายละเอียด(ใช้ในกรณีที่ได้แนะนำเรื่องสุขาภิบาล)
Z60.2 การอยู่คนเดียว(แบบธงไชย แมคอินไตย์) ใช้สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวไม่มีผู้ดูแล
ส่วนถ้าหาวินิจฉัยไม่ได้จริงๆค่อยกลับมาพึ่งZ00.0 กับZ00.1 โดยภาพรวมผมแนะนำว่าตั้งแต่Z55.0ไปจนถึงZ99.9 เราสามารถเอามาวินิจฉัยให้ตรงตามcaseที่เราไปเยี่ยมบ้านได้ครับ 
ขอบคุณครับที่หลายท่านเฝ้าติดตาม จะพยายามหาปัญหาที่พบในการใช้jhcisมาเขียนให้อ่านครับ

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อัพjhcisจาก8มีนาเป็น6พฤษภาแล้วserviceกับdiag error เพียบเลย

กรณีนี้ที่โทรมาปรึกษาผมก็เยอะเหมือนกันครับ กรณีนี้ไม่ได้เกิดกับทุกเครื่อง ส่วนสาเหตุผมยังไม่ได้เจาะเข้าไปดู แต่น่าจะมีปัญหาที่ตารางcdisease  กับตารางcdrug แน่ๆหละครับ หรือไม่ก็ปรับโครงสร้างไม่ได้
ส่วนวิธีการแก้ไข เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าแต่ละคนมันจะวินิจฉัยอะไร ก็เลยไม่สามารถเล่นแร่แปลธาตุได้ การแก้ไขก็คงต้องกลับไปเติมวินิจฉัยใหม่ให้กับทุกserviceที่มันerror แค่นี้service กับdiagน่าจะผ่านopppหมดครับ เจอกรณีนี้เข้าไปเหนื่อยหน่อยครับ ดังนั้นถ้าไม่อยากเหนื่อยก็พยายามอย่าตกรุ่นครับติดตามความเคลื่อนไหวของโปรแกรมให้สม่ำเสมอ อัพเวอร์ชั่นให้เป็นปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลบคนไม่มีเลขบัตรประชาชนทำยังงัยดีหว่า

นี่ก็เป็นปัญหานึงที่ผมที่ผมได้รับมามากช่วงนี้ แต่เนื่องจากมันค่อนข้างซับซ้อนนิ๊ดนึงแต่ผมจะพยายามเขียนออกมาให้ผู้ที่ต้องการลบคนไม่มีเลข13หลักออกจากฐานข้อมูล สามารถลบคนที่คุณไม่ต้องการเก็บไว้ออกให้ได้ เริ่มต้นเลยนะครับ
1.ถ้าคุณใช้J_LINK ให้เปิดJ_LINKไปที่แบบสอบถาม(query) แล้วให้ไปเลือกหาคิวรี่ที่ชื่อว่าQ_ตรวจสอบผู้ไม่มีเลข13หลัก เมื่อคลิ๊กเข้าไปมันก็จะโชว์รายชื่อคนที่ไม่มีเลข13หลักขึ้นมา เสร็จแล้วก็ให้จดpidของคนที่เราต้องการลบออกมา
2.ไปเปิดตาราง(table) ที่ชื่อว่าvisitขึ้นมา ที่คอลัม pid ให้คุณคลิ๊กขวาแล้วเลือก filter for(ภาษาไทยน่าจะประมาณว่าตัวกรองสำหรับ) ก็ให้ใส่เลขpidของคนที่คุณต้องการลบเข้าไป จากนั้นให้คุณจดvisitnoของคนคนนี้ไว้ให้หมดทุกvisit
3.เมื่อได้ข้อมูลvisitnoทุกvisitของpidนี้แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาต้องไปพึ่งmysqlแล้วครับ โดยให้ไปเปิด mysql query browser ขึ้นมา เพื่อให้mysql connect database jhcis ผมแนะนำให้ตั้งdefault schema เป็นjhcisdb จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งนี้เข้าไปครับ
delete from visitdrug where visitno='xxxx' or visitno='xxxx' or visitno='xxxx' or visitno='xxxx';
xxxx=visitno ส่วนจะorมากหรือน้อยแล้วแต่visitnoของpidที่เราต้องการลบออกครับ จากนั้นก็ให้กดexecute ถ้าpidนี้ไม่ติดserviceไปที่ตารางอื่น ที่ด้านล่างของmysql query brower ก็จะไม่มีอะไรฟ้องขึ้นมา อนุมานว่าตอนนี้มันน่าจะลบคนคนนี้ได้แล้ว
4.กลับมาที่J_LINKอีกครั้ง เปิดคิวรี่ Q_ตรวจสอบผู้ไม่มีเลข13หลัก จากนั้นก็เอาเม้าท์ไปคลิ๊กที่ชื่อคนที่เราต้องการลบทิ้ง คลิ๊กที่เครื่องหมายdelete record ถ้าไม่ติดserviceไปที่ตารางอื่นเราก็จะลบคนคนนี้ออกจากฐานข้อมูลเราได้เลย แต่กดลบแล้วมันฟ้องว่ามีserviceไปที่ตารางใหนก็ตามไปลบที่ตารางนั้น เช่นมีserviceที่ตารางvisitanc ก็ให้ไปเปิดตารางvisitanc ขึ้นมา ที่คอลัมpidคลิ๊กขวากรองสำหรับก็เอาpidที่เราจดไว้นั่นหละครับใส่เข้าไป กดenter มันก็จะขึ้นมา อะไรขึ้นมาแนะนำให้ลบทิ้งทั้งหมด จากนั้นก็กลับที่คิวรี่Q_ตรวจสอบผู้ไม่มีเลข13หลัก คลิ๊กที่ชื่อคนที่เราต้องการลบ คราวนี้ไม่น่าจะเหลือแล้วหละต้องลบได้แน่ๆ แต่ถ้ามันยังมีserviceไปที่ตารางอื่นๆอีกก็ตามมันไปทุกตาราง ลบทิ้งให้หมด
หวังว่าคุณๆคงทำได้ ยังงัยเดี๋ยวผมจะทำวีดีโอการลบคนออกจากฐานข้อมูลอัพตามมาให้ดูนะครับ
เจอกันบทความหน้า อยากรู้เรื่องใหนเกี่ยวกับJHCIS ส่งเรื่องที่คุณต้องการทราบมาได้ที่jettapol.a@gmail.com ผมจะไปความรู้มาเขียนให้ทุกท่านได้อ่านต่อไป
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามblogของผมมาโดยตลอด

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฉีดวัคซีนแล้วจะวินิจฉัยโรคว่าอะไร

เนื่องจากเวลานี้แต่ละรพ.สต.ก็มีน้องเจ้าหน้าที่ใหม่ๆเข้ามามาก แล้วก็พบว่าส่วนใหญ่น้องๆจะยังวินิจฉัยโรคไม่ค่อยถูกต้อง วันนี้ผมก็เลยจะสรุปเอาการวินิจฉัยโรคในงานEPIมาให้น้องๆได้ไปนำไปใช้กันนะครับ เริ่มจาก
BCG=Z23.2 principle,HBV1=Z24.6 co-morbidity
DHB1+OPV1=Z27.3 principle, Z24.6 co-morbidity
DHB2+OPV2=Z27.3 principle, Z24.6 co-morbidity
DHB3+OPV3=Z27.3 principle, Z24.6 co-morbidity
MMR9เดือน =Z27.4 principle
DTP4+OPV4+JE1=Z27.3 principle , Z24.1 co-morbidity
JE2 =principle
JE3 =principle
DTP5+OPV5=Z27.3 principle
วัคซีนนักเรียนซึ่งก็คงจะฉีดกันไม่เดือนนี้ก็เดือนหน้า
เด็กป.1 MMRป.1=Z27.4 principle
DTS1+OPVS1=Z27.8 principle
DTS2+OPVS2=Z27.8 principle
DTS3+OPVS3=Z27.8 principle
ป.6 DTS4=Z27.8 principle
อย่าลืมนะครับว่าการฉีดวัคซีนท่านจะได้เงินในส่วนPP-itemmize เข็มละ10บาท
อย่าลืมฉีดแล้วกรุณาคีย์เก็บไว้ในโปรแกรมJHCIS ด้วยครับ เสียดายเงินที่มันหายไป
 ถ้าท่านอยากทราบเรื่องใดเกี่ยวกับโปรแกรมjhcis ก็ส่งหัวข้อที่ท่านต้องการทราบมาได้ที่jettapol.a@gmail.com แล้วผมจะมาเขียนให้ท่านอ่าน
เจอกันบทความหน้าครับ

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปัญหาการอัพจากเวอร์ชั่น8มีนาคม2554เป็น6พฤษภาคม2554

จากหัวข้อด้านบนปัญหานี้คงเกิดกับหลายๆรพ.สต.เหมือนกัน เนื่องจากว่าก็มีหลายแห่งเหมือนกันโทรเข้ามาว่าเมื่อปรับjhcisเป็นเวอร์ชั่น6 พฤษภาคม 2554 แล้ววินิจฉัยโรคก็ไม่ได้ จ่ายยาก็ไม่ได้ (จริงๆแล้วผมว่าปัญหามันน่าจะมาตั้งแต่เวอร์ชั่น8มีนาคม 2554แล้วหละ)ไม่เป็นไรปัญหาปัญญามีแก้ไขได้ วิธีแก้ไขให้ดำเนินการดังนี้
1. ปรับโครงสร้างในเวอร์ชั่น6 พฤษภาคม 2554ให้เรียบร้อย
2.หลังจากปรับแล้วให้นำเข้ารหัสยา24หลักใหม่ โดยเมื่อคลิ๊กนำเข้ารหัสยา24หลักใหม่ให้เลือกข้อ1.1ข้อเดียวก็พอ
3.หลังจากนำเข้ารหัสยา24หลักเสร็จแล้วก็ให้นำเข้ารหัสโรคicd10tm (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมีอยู่3ข้อย่อย)
ถ้าโปรแกรมjhcisมันหาไฟล์ที่ชื่อว่าicd10tmv4.exe ที่อยู่ในC:jhcis-file-componant เจอปัญหานี้ก็จบ
แต่ถ้าทำทั้ง3ข้อแล้วมันยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคและจ่ายยาได้อีก ก็backup ฐานข้อมูลแล้วก็บีบอัดไฟล์มาจะzipหรือrarก็แล้วแต่ถนัด ส่งมาที่ jettapol.a@gmail.com ผมจะช่วยดูให้อีกที

รหัสยาสุนไพร24หลัก

เนื่องจากมีหลาย รพ.สต.ที่ยังไม่อัพรหัสยาในโปรแกรมoppp2554 จึงทำให้เกิดerrorยาสมุนไพรขึ้นมา
เพื่อไม่ให้errorยาสมุนไพรเกิดขึ้นอีก ผมจึงได้รวบรวมรหัสยาสมุนไพร24หลักซึ่งส่วนใหญ่เป็นของบริษัทสมุนไพรไทย แต่ถ้าท่านใช้ยาสมุนไพรของบริษัทอื่นแล้วหาไม่เจอก็ส่งชื่อยา ชื่อการค้าและบริษัทที่ผลิตมาที่mailผม jettapol.a@gmail.com
ยาอมมะแว้ง=420000005349120020382755
ขมิ้นชันแคปซูล=410000000109135020182755
ฟ้าทะลายโจรแคปซูล=410000000479135020182755
ยาแก้ไอมะแว้งน้ำดำ=420000001679502094782755
เจลว่านหางจระเข้=410000000599608740282755
เจลพริก=410000000399390340282755
พญายอ=410000000389300440182755
อยากได้รหัสยาสมุนไพรตัวใหนเพิ่มก็ส่งเข้าmailผมมาครับ แล้วจะไปหารหัสมาให้

diag รหัสZ ยังได้เงินหรือไม่

เป็นคำถามที่ผมได้รับมากช่วงนี้ จากการที่ผมได้ไปประชุมร่วมกับทีมงานITของสปสช.มา ก็ขอแจ้งให้ทราบว่าในปีงบประมาณ2554 ยังได้เงินตามปกติครับ

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การอัพโปรแกรมOPPP2554

เนื่องจากมีหลาย รพ.สต.ที่ยังไม่ได้อัพโปรแกรมOPPP2554 เป็นเหตุให้พอท่านตรวจสอบออกมาเมื่อไหร่ มันก็errorตลอดเลย การอัพทำได้ดังนี้ เออผมลืมบอกไป OPPP2554 เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ1.2.4
1.ไปโหลดไฟล์ที่ชื่อว่า drug.zip กับ icd9_op.zip ได้ที่เวป opppของสปสช.(เวปหน้าเขียว)
2. จากนั้นเปิดเข้าoppp2554 แล้วไปที่ตารางที่เกี่ยวข้อง เลือกตารางรหัสหัตถการ เลือกนำเข้า ให้ท่านเลือกไปหาfile icd9_op.zip รอจนมันนำเข้าเสร็จ
3.ต่อไปเป็นการนำเข้ารหัสยาอันนี้สำคัญมากเพราะมันมีรหัสยาสมุนไพร24หลักใหม่มาด้วย การนำเข้าก็ไปที่ตารางที่เกี่ยวข้อง เลือกตารางรหัสยา แล้วก็ให้เลือกไปหาที่drug.zipรอจนมันนำเข้าเสร็จ
แค่นี้หละครับโปรแกรมoppp2554ท่านก็เป็นปัจจุบันแล้ว
เจอกันบทความต่อไปครับ

การอัพเดทโปรแกรมJHCIS เป็นเวอร์ชั่น 6 พฤษภาคม 2554

จากการที่ผมได้ไปตะลอนๆในหลายๆอำเภอ พบว่ายังมีหลายรพ.สต.ที่ยังคงอยู่ในกลุ่มอนุรักษ์นิยมคือไม่ยอมอัพเดทเวอร์ชั่นของโปรแกรมJHCIS แล้วก็เจอปัญหาerror ตามมาอีกมากมายดังนั้น
ผมขอแนะนำให้ท่านทำดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ท่านตกยุค
1.ไปโหลดตัวอัพเวอร์ชั่นของโปรแกรมJHCIS เวอร์ชั่นล่าสุดวันที่ 6 พฤษภาคม 2554
2.เมื่อโหลดได้แล้วก็ให้ทำการอัพเดทโดยdouble click ที่file jhcis-server.exe (ในกรณีที่เป็นเครื่องแม่หรือserver) และdouble click ที่file jhcis-client (ในกรณีที่เป็นเครื่องลูกหรือclient)
3.จากนั้นเข้าโปรแกรมjhcis ด้วยusr_db เพื่อเข้าไปปรับโครงสร้างฐานข้อมูล อาจใช้เวลานานพอสมควรถ้าท่านกระโดดข้ามมาหลายเวอร์ชั่น
4.เมื่อปรับโครงสร้างเสร็จแล้ว ให้ท่านไปนำเข้ารหัสยา24หลัก โดยให้จัดการทั้ง5ข้อย่อย
5.เมื่อเสร็จข้อ4แล้วก็ให้ดำเนินการนำเข้ารหัสโรคicd10tm ให้ดำเนินการทั้ง3ข้อย่อย
ปัญหาที่พบในการปรับโครงสร้างคือ
1.ตัวอัพเวอร์ชั่นที่ท่านโหลดมามีปัญหา แนะนำให้โหลดตามเวปที่เชื่อถือได้
2.การทำข้อ4และข้อ5อาจจะมีปัญหาถ้าท่านไม่มีไฟล์ที่ชื่อว่าicd10tmv4.exe ซึ่งเก็บไว้ที่drive c: ในfolderที่ชื่อว่าjhcis-file-componant
หวังว่าบทความนี้คงพอที่จะช่วยให้หลายท่านที่ไม่สามารถปรับโครงสร้างฐานข้อมูลได้ สามารถทำได้
เจอกันในบทความต่อไปครับ