วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการติดตามการจัดทำข้อมูลOP/PPของสปสช.กลาง

เครดิต: สสจ.ยโสธร
ประเด็นที่สปสช.ติดตาม
1.ข้อมูลOP/PP individual records ที่มีอยู่ใน รพ.สต.มีความถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน และน่าเชื่อถือเพียงใด สามารถเชื่อมโยงให้เห็นภาพของการให้บริการระดับปฐมภูมิเพียงใด
2.เจ้าหน้าที่ของรพ.สต.มีความเข้าใจเรื่ิองOP/PP Individual Records ที่มีในรพ.สต.เพียงใด จะต้องพัฒนาในด้านใดบ้าง
ผลการติดตาม สปสช.แยกเป็น4ด้านดังนี้
1.ด้านข้อมูล
2.ด้านเจ้าหน้าที่
3.ด้านโครงสร้างIT
4.ด้านการบริหารจัดการ
1.ด้านข้อมูล
1.1 ข้อมูลมีความผิดปกติ โดยสปสชได้สุ่มทั้งหมด24แห่ง จาก12จังหวัด (ในที่นี่ไม่ขอเปิดเผยชื่อรพ.สต.นะครับ)สรุปผลการตรวจคือทุกแห่งจะมีvisitที่สูงมาก ซึ่งเมื่อแยกเป็นผู้ป่วยOpที่แท้จริง โดยตัดการวินิจฉัยโรคในกลุ่มZ ที่มิใช่เป็นการวินิจฉัยผู้ป่วยนอกออกแล้ว พบว่ามีสัดส่วนลดลงมาก ซึ่งรหัสZที่พบมากๆคือ Z71.9, Z13.6, การให้บริการในกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ(PP) ANC FP EPI PP เป็นต้น
ต่อมาคือความผิดปกติของจำนวนหัตถการ เทียบสัดส่วนต่อจำนวนvisit รวมนั้นดูสูงมาก ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของหัตถการพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยโรค และอาการของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังเอารหัสหัตถการที่ไม่มีความหมายว่าเป็นหัตถการมาใข้ เช่น9999 เป็นการบันทึกเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของadd on เท่านั้น
ต่อมาเป็นความผิดปกติของการจ่ายยาในบางรายการสูงมากผิดปกติ หรือจ่ายยาไม่เหมาะสมเช่นจ่าย paracetamol ครั้งละ1-2เม็ด หรือ20เม็ด ในผู้รับบริการเยี่ยมบ้าน คัดกรอง หรือบริการส่งเสริมอื่นๆ
1.2 การบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลของผู้มารับบริการมากกว่าความเป็นจริง โดยการบันทึกเพิ่มผู้มารับบริการที่มาเพียง1ครั้งให้เป็นการมารับบริการ2-3ครั้ง และแยกเป็นหลายๆวัน
- นำข้อมูลการคัดกรองต่างๆเช่นตรวจมะเร็งเต้านม เยี่ยมบ้าน และส่งเสริมป้องกันมาเป็นOP โดยเฉพาะข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้บริการเอง
- นำข้อมูลบริการอนามัยโรงเรียนเช่นการจ่ายยาFBC ป้องกันโรคโลหิตจางในนักเรียนมาบันทึกเป็นข้อมูลOP โดยมีการวินิจฉัยโรคและจ่ายยาFBC คนละเม็ดทุกสัปดาห์
- บันทึกรหัสโรค ICD10 ไม่สัมพันธ์ักับอาการ และยาที่ใช้ และมีการหลีกเลี่ยงการให้รหัสโรคในกลุ่มZ โดยเลือกรหัสICD10 อื่นๆแทนโดยการสุ่มตามใจชอบ
- บันทึกรายการยาไม่ถูกต้อง
- ใช้เทคนิคด้านIT เพื่อนำเข้าและปรับปรุงข้อมูล
- ไม่บันทึกข้อมูลผู้รับบริการลงในเอกสารหรือทะเบียนรายงาน ส่งผลให้ข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ไม่ตรงกับเอกสาร
- มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล มาช่วยบันทึกข้อมูลใน รพ.สต.ซึ่งลูกจ้างเหล่านี้ไม่มีความรู้ในระบบงานการให้บริการสาธารณสุข จึงบันทึกข้อมูลได้ไม่ถุกต้อง
- ละเลยการบันทึกข้อมูลOP เนื่องจากคิดว่ามีความยุ่งยาก และมีขั้นตอนในการบันทึกมาก
2. ด้านเจ้าหน้าที่
2.1 ทัศนคติในการจัดทำข้อมูล
- มีจุดมุ่งหมายในการบันทึกข้อมูลเพื่อเอาเงินกับสปสช.
- ไม่ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจจะตามมาจากการทำข้อมูลที่ขาดคุณภาพ
- มีความเข้าใจว่าการจัดทำข้อมูลของ รพ.สต. ในปัจจุบันนั้นถูกต้องเนื่องจากว่าหลายๆแห่งก็ทำและไม่มีใครทักท้วง
2.2 ขาดความรู้
- ขาดความรู้เรื่องการให้รหัสโรคICD10 รหัสหัตถการ และการให้ยาที่ถูกต้อง
- ขาดความรู้ความเข้าใจในเงื่อนไขการตรวจสอบ และระบบรับ-ส่งข้อมูลของสปสช.
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม เช่น JHCIS HOSXP
- ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพ
3.โครงสร้างด้านIT
3.1 HARDWARE
-  ขาดการบำรุงรักษา ซ่อมแซม บางแห่งมีมากเกินความจำเป็น
3.2 Software ในที่นี่ขอพูดถึงเฉพาะโปรแกรมJHCISนะครับ
- มีการออกแบบฟังก์ชั่นที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อเงื่อนไขการจ่ายเงินของ สปสช.มากกว่าการประโยชน์ของรพ.สต.เช่น มีการวินิจฉัยอัตโนมัติ  มีฟังก์ชั่นการจ่ายยาเป็นชุด  การออกรายงานบางชนิดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง(สปสช.ได้แจ้งทีมงานJHCISในการปรับโปรแกรมให้มีความถูกต้องแล้ว)
3.3 Network
- มีระบบinternet ความเร็วสูงในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
- มีระบบสำรองทดแทนเช่น aircard modem
3.4 ระบบความปลอดภัย
- มีการสำรองข้อมูล แต่ในบางรพ.สต. ก็ยังไม่มีการบันทึกข้อมูล
- การป้องกันไวรัสยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
4.ด้านการบริหารจัดการ
- นโยบายด้านข้อมูลOP/PP Individual ของสสจ เจ้าหน้าที่รพ.สต.ไม่ได้ปฏิบัติตาม
- สสอ.กำหนดKPI ในการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ไม่เหมาะสมทำให้สร้างแรงกดดันกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
- ปัญหาการจัดสรรเงินจากCUPล่าช้า
บทสรุป(จากสปสช)
1. เจ้าหน้าที่รพ.สต.มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการจัดทำข้อมูล รวมทั้งขาดความรู้ในเชิงด้านสาธารณสุขเช่นการให้รหัสโรคที่ถุกต้อง การให้หัตถการที่ถุกต้อง
2. โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูงฃลมีการบิดเบือนข้อมูลไปจากข้อเท็จจริง
3. ระบบบริหารจัดการตลอดจนนโยบายมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินงานOP/PP Individual
4. ขาดการประชาสัมพันธ์ และการประสานงานระหว่าง สสจ สสอ และรพ.สต.
ข้อเสนอแนะ(นี่ก็จากสปสช,นะครับ)
1.ควรมีการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ ในเรื่องการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากรพสต.
2.ควรมีการอบรมให้ความรู้และทักษะเรื่องการให้รหัสโรค รหัสหัตถการ และการจ่ายยาที่ถูกต้อง
3.ควรส่งเสริมให้มีการปรับเทคนิค ขั้นตอนให้บริการ และการบันทึกข้อมูลแบบ Real Time
4.กรณีการจ้างลูกจ้างบันทึกข้อมูล ต้องมีการควบคุมคุณภาพ และอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด
5.โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูล ควรปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล หน้าจอรับข้อมูล ตลอดจนฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีผลทำให้ผู้ใช้บันทึกข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
6.สนับสนุนให้มีการใช้ข้อมูลOP/PP Individual Records เพื่อการวางแผนงานหรือโครงสร้างงานด้านสาธารณสุข
7.มีกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานOP/PP Individual Records จากทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
8.ควรมีการทบทวนเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การตรวจสอบข้อมูลของสปสช.ส่วนกลางให้มีความรัดกุมมากขึ้น
9.ควรมีการปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของสปสช.ในกรณีOP/PP Individul Records จากรูปแบบGlobal budget รายเขต เป็นGlobal Budget รายจังหวัด ภายใต้ขอบของเขต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระบบจัดสรร และลดการแข่งขันในการจัดทำข้อมูลระหว่างจังหวัด
10.ควรมีเกณฑ์หรือแนวทางในควบคุมการจัดทำข้อมูล OP/PP Individul Records ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง
11.ควรปรับลดหรืองดการจัดสรรเงินในกลุ่มAdd On
12.ควรจัดให้มีงบประมาณหรือรางวัลที่มากพอในการสร้างแรงจูงใจในการจัดทำข้อมูลให้มีคุณภาพ และควรมีการลงโทษในกรณีที่เจตนาหรือตั้งใจทำข้อมูลให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

จากข้อมูลที่ทางสปสช.ออก audit รพ.สต. จำนวน 24แห่ง จาก12จังหวัด ก็พอจะชี้ให้เห็นแล้วนะครับว่า เราควรจะทำข้อมูลให้มีคุณภาพ ทำข้อมูลจากความจริงสู่ความจริงไม่มีการบิดเบือนข้อมูล ทำข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านสาธารณสุขจริงๆ ไม่ใช่ทำข้อมูลเพื่อมุ่งเน้นที่เอาเงินจาก สปสช.ฝ่ายเดียว ตั้งแต่นี้ต่อไปการบันทึกข้อมูลคงต้องเน้นที่การบันทึกข้อมูลแบบ Real Time เน้นการให้รหัสโรคให้ถูกต้อง ให้หัตถการที่ถูกต้อง และต้องจ่ายยาให้ถูกต้องโดยต้องสัมพันธ์กับอาการและการวินิจฉัยโรค  และสุดท้ายเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็อย่าลืมสำรองข้อมูลเก็บไว้ด้วยนะครับ
ถ้าเป็นแบบนี้คงพอจะมองเห็นแล้วว่าขณะนี้ทั้งสปสช.และสนย.ได้พยายามร่วมกันผลักดันให้ทีมงานรพ.สต.เราให้ผลิตข้อมูลOP/PP Individul Records ให้มีคุณภาพ(ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมโยงการให้บริการในระดับปฐมภูมได้)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น