ผมขออนุญาตสรุปโดยภาพรวมนะครับเนื่องจากเอกสารที่ได้มาตั้ง40หน้า บทความนี้ผมขอเน้นเฉพาะที่ข้อมูลผู้ป่วยนอกนะครับ
1.ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก(OP Individual Data)
การตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกจะตรวจสอบจากชุดข้อมูลผู้ป่วยนอก(OP Package) ที่กำหนดซึ่งได้แก่แฟ้ม PERSON SERVICE DIAG PROCED และDRUG ตามโครงสร้างมาตรฐาน18แฟ้ม เชื่อมโยงให้เกิดข้อมูลการให้บริการซึ่งสรุปได้ดังนี้
มาตรฐานโครงสร้าง แฟ้มที่ใช้ตรวจสอบ ฟิลด์ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล
18แฟ้ม person.txt* pid
service.txt* seq
diag.txt* date_serv
proced.txt clinic
drug.txt *=จำเป็นต้องมีข้อมูล
เงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก
1.ตรวจสอบข้อมูลให้ครบและถูกต้องตามฟิลด์ที่กำหนดในแต่ละแฟ้ม
2.ตรวจสอบPCUCODE ต้องมีรหัสอยู่ใน สนย.รหัส5หลัก
3.ต้องสามารถเชื่อมโยงการการให้บริการกับข้อมูลบุคคล(เชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มservice กับแฟ้มperson โดยฟิลด์pid ทั้งนี้หากข้อมูลในแฟ้มperson ตรวจสอบไม่ผ่านจะถือว่าไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลได้
4.รหัสคลินิกถูกต้องตามาตรฐานที่กำหนด โดยตรวจสอบจากตำแหน่งที่2-3
5.ต้องมีข้อมูลการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเชื่อมโยงการให้บริการได้(สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มdiag กับ service ได้โดยใช้ฟิลด์pid seq date_serv clinic ทั้งนี้การให้รหัสการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง มีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องมีการให้รหัสโรคหลัก (principle diagnosis)อย่างน้อย1รหัสที่ถูกต้องตามicd10หรือ icd10tm
- หากให้รหัสโรคถูกต้องตามหลักการให้รหัสโรคตามicd10 จะตรวจสอบความสอดคล้องของการให้รหัสโรคตาม appendixA3-A4 ของ DRG4.0
- ตรวจสอบประเภทการวินิจฉัยต้องมีค่าตั้งแต่1-5
เงือนไขการคิดpoint
1.เป็นข้อมูลการให้บริการตั้งแต่1 กรกฎาคม 2554- 30 มิถุนายน 2555
2.มีเลขประชาชน13หลักในฐานข้อมูลประชากรของ สปสช.
3.การให้บริการผู้ป่วยนอก1คนใน1วันจะได้1point
4.การคิดpoint จะพิจารณาเฉพาะรหัสการวินิจฉัยที่เป็นการให้บริการผู้ป่วยนอกเท่านั้น(ข้อมูลจากการสำรวจ การเยี่ยมบ้านที่ไม่ใช่บริการ ไม่สามารถนำมาบันทึกเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอกและสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้
หมายเหตุ สปสช. จะมีการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอก(op) เพิ่มเติม โดยหากหน่วยบริการใดมีอัตราการใช้บริการ(utilization rate) เบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานเกินจริง(ค่ามาตรฐานจะแยกตามระดับหน่วยบริการและสปสช.เขต)จะถูกระงับจ่ายไว้ก่อน(pending)เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการนั้นต่อไป
ที่มา: สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน สปสช
อ.แรมโบ้คะ มีคำถามในการปริ้นส์ใบสั่งยา เพราะหนองสิม มีจุดที่หนึ่ง ค้นบัตรเข้าคิว จุดที่สองตรวจรักษา - จุดทำแผลฉีดยา และจะมีห้องยาแยกต่างหาก แต่ในการคีย์ตรวจรักษาแล้วลงยาอะไรเรียบร้อย ถ้าจะให้ส่งออกไปห้องยามันไม่ได้ มันจะสิ้นสุดอยู่ปริ้นที่ห้องตรวจรักษา พี่ปริ้นส์ใบสั่งยาให้คนไข้ถือไปห้องยา อาจารย์มีวิธีที่จะให้มันออกที่ห้องยาอย่างไรคะ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณ
ตอบลบป้าเตี้ย