ตามที่สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน (สบจ.) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยนอกและข้อมูลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล (OP/PP Individual Data) ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ สำนักบริหารการจัดสรรกองทุนร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตต่างๆ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อรับทราบปัญหาและให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูลฯ ทั้งนี้จากการดำเนินงานดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปและกำหนดหลักเกณฑ์การบันทึกข้อมูลฯ เพื่อแจ้งหน่วยบริการ โดยข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาบันทึกในระบบข้อมูลผู้ป่วยนอก มีดังนี้
๑) ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการเอง เช่น ให้ อสม. ออกสำรวจ เป็นต้น
๒) ข้อมูลการรับบริการใน ๑ ครั้ง นำมาแยกบันทึกเป็นหลายๆวันและหลายครั้ง
๓) ข้อมูลที่ไม่ได้เกิดการให้บริการจริง นำมาบันทึกและใส่รหัสการวินิจฉัยโรค
๔) การบันทึกข้อมูลรหัสหัตถการ ที่ไม่ได้มีการทำหัตถการกับผู้มารับบริการจริง หรือใช้รหัสที่ไม่มีความหมาย เช่น รหัสที่มีความหมายว่า อื่นๆ (Other)รวมถึงหัตถการปัญญาอ่อน เป็นต้น
๕) การบันทึกข้อมูลการให้ยา โดยไม่ได้มีการจ่ายยาให้กับผู้มารับบริการจริง
ทั้งนี้หากมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเข้ามาและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบพบ จะดำเนินการระงับการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยตามอัตราการใช้บริการไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
สุดท้ายผมว่าตอนนี้เรามาทำข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์จริงๆในงานสาสุขเราดีกว่า หยุดMOหยุดMAKE ดีกว่าครับ เอาตามจริงตรงไปตรงมา
สปสช.นี่คิดช้าจังเขา make ข้อมูลโกยเงินเข้ากระเป๋าหลายล้านบาทแล้วเ้พิ่งตื่นหรือ ลุงหนวดอยากจะหัวเราะให้ฟันหัก
ตอบลบ