ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ติดตามบล็อคผมมาโดยตลอดที่ไม่ได้มาอัพข่าวสารในบล็อคตั้งนาน เนื่องจากช่วงนี้ติดภาระกิจอะไรก็ไม่ทราบครับ ติดรับนิเทศ รับประเมิน วงการสาธารณสุขเราก็คงเป็นแบบนี้หละมั้งครับ นิเทศ ประเมิน เสร็จแล้วก็ประเมินและประเมิน ผมว่าเรากลับมาที่หัวข้อที่ผมตั้งไว้ดีกว่า ทำไมผมถึงว่าPPE specific เป็นขุมทรัพย์สำคัญสำหรับรพ.สต.ที่ใช้jhcis คำตอบง่ายนิดเดียวก็เพราะคีย์ข้อมูลง่ายๆมากๆแล้วก็ได้เงินมาง่ายมากแถมได้เงินมากด้วย ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักก่อนนะครับว่าเจ้าPPE specific นี่มีอะไรบ้าง หลักๆก็กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด, เด็ก 0-5 ปี ,เด็ก6-12ปี,กลุ่มอายุ30-60ปี และสุดท้ายอายุ60ปีขึ้นไป
กลุ่มที่1 หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดมีอะไรบ้าง และเราต้องคีย์อะไรบ้างในjhcis
1.1 ANC 4 ครั้งคุณภาพ เป้าหมายที่ทางสปสช.ตั้งมาคือ7%ของหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ25-45ปี ความครอบคลุมคิดที่100% (อันนี้คงแล้วแต่จังหวัด และสปสช.เขตนะครับ บางที่ก็แค่ANCครบตามเกณฑ์แต่อายุไม่อยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้เงิน) ANC 4 ครั้งคุณภาพ ที่จังหวัดอุดรธานีให้เลย 2100 บาท
ดังนั้นการที่ท่านจะคีย์ข้อมูลANCในJHCIS ต้องให้ครบ4ครั้งคุณภาพนะครับ เพราะเงินที่ได้มันคุ้มค่ากับการบันทึกข้อมูลครับ
1.2 PNC อันนี้ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่แค่ท่านไปเยี่ยมหลังคลอดมาให้ครบ2ครั้งแล้วก็คีย์เข้าไปในJHCISให้ครบทั้ง2ครั้ง เท่านี้ก็ได้เงินแล้วครับครั้งละ120 บาท 2ครั้งก็240บาทต่อคน การคีย์เยี่ยมหลังคลอดก็คีย์ทั้งแม่และลูกนะครับ หวังว่าคงจำได้คีย์อย่างไร
1.3 FP อันนี้ก็แค่บันทึกไม่กี่ฟิลด์ในJHCIS ก็ได้แล้วครับ ครั้งละ100 บาท
1.4 Depression screening หญิงตั้งครรภ์และคลอด อันนี้ท่านก็ใช้หลัก 2Q ท่านผ่านทั้ง2ข้อก็ปกติ แต่ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง2ข้อ ก็ถือว่าเสี่ยงหรือมีภาวะซึมเศร้า ท่านก็ใช้ตัว9Qคัดกรองต่อ แต่เนื่องจากว่าในJHCISไม่มี2Q หรือ9Q เวลาที่ท่านจะบันทึกการคัดกรองในjhcis แนะนำให้ถามก่อนที่จะบันทึกข้อมูลนะครับ เพราะว่ามันบันทึกข้อมูลตรงนี้ง่ายมากแค่ไปที่ปุ่ม"กรองเฉพาะโรค"ที่ฟิลด์โรคที่คัดกรองก็คลิ๊กเลือกที่C01 โรคซึมเศร้า แล้วที่ผลการคัดกรองถ้าใครผ่าน2Qก็ลงผลได้เลยปกติครับ ส่วนใครไม่ผ่าน2Qก็ลงไปเลยผิดปกติ แล้วก็ไปที่หน้าวินิจฉัยพร้อมกับวินิจฉัยว่าZ13.3 จะเป็น principleหรือ co-morbidity หรือotherก็แล้วแต่กรณีที่มารับบริการครับ อ้อลืมบอกไปครับค่าคัดกรองข้อนี้ได้55 บาทต่อคนครับ
2.กลุ่มเด็กอายุ0-5 ปี อันนี้ก็คือการคีย์วัคซีนปกติที่ทุกท่านเคยคีย์นั่นหละครับ อันนี้ไม่ยากรายละเอียดก็แยกไปตามนี้สำหรับจังหวัดอุดรธานีนะครับ ส่วนจังหวัดอื่นก็แล้วจังหวัดจะพิจารณาตั้งค่าวงเงินเอาไว้
0-1 ปี 60 บาท/ครั้ง 2-3 ปี 30 บาท/ครั้ง4-5 ปี 20 บาท/ครั้ง แถมถ้ามีตรวจพัฒนาการร่วมด้วย เอาไปอีก10บาท/ครั้ง ดังนั้นทุกครั้งที่ฉีดวัคซีนอย่าลืมตรวจพัฒนาการเด็กด้วยนะครับ
3.กลุ่มเด็ก6-12 ปี กิจกรรมก็มี
3.1 การตรวจสุขภาพทั่วไป/การติดตามการเจริญเติบโต
3.2 ตรวจการได้ยิน
3.3 ตรวจวัดสายตา
3.4 EPI เด็ก ป1.และป.6
เงินที่ได้แยกจากการคีย์MMR+ตรวจตา หู 70 บาท/ครั้ง dT+ตรวจตา หู 70บาท/ครั้ง
4.กลุ่มอายุ30-60ปี
4.1 คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ก็รับไป250บาท/คน
4.2 คัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็รับไป55 บาท/ครั้ง การคีย์เหมือนที่ได้แนะนำไปแล้ว
4.3 คัดกรองmetabolic และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็รับไป25 บาท/ครั้ง การคีย์ในJHCIS ก็ไปที่หน้าคัดกรองโรคNCD จากนั้นท่านก็กรอกข้อมูลเข้าไปให้ครบประมาณไม่เกิน10ฟิลด์ วินิจฉัยในกิจกรรมนี้คือZ13.8 และZ13.1
5.กลุ่มผู้สูงอายุ
5.1คัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็รับไป55 บาท/ครั้ง การคีย์เหมือนที่ได้แนะนำไปแล้ว
5.2 คัดกรองmetabolic และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็รับไป25 บาท/ครั้ง
จากกิจกรรมจาก5กลุ่มหลักๆถ้าเราบันทึกข้อมูลในJHCISครบทุกกิจกรรม ก็เป็นอันยืนยันได้ว่าท่านจะได้เงินจากกองทุนPPE Specific เป็นกอบเป็นกำแน่ครับ
จำไว้ว่า ให้บันทึกทุกกิจกรรมที่ทำ ส่วนมันจะเป็นop หรือ pp ค่อยว่ากันทีหลัง และที่สำคัญเราทำข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลครับ ส่วนเงินที่ได้ตามมาถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ
พบกันบทความหน้าครับ
ขออนุญาตเผยแพร่นะครับ ครูบา
ตอบลบขอบคุณครับพี่
ตอบลบขอบคุณครับ สรุปมาซะแน่นเลย..
ตอบลบสอบถามนะคะว่าทางอุดร ตรวจสอบว่า รพ.สต.แต่ละแห่งคีย์ผลงาน PPE spec. โดยใช้แฟ้มใดบ้างของJHCIS
ตอบลบคำนำหน้าชื่อของประชากรหายกดดูตรงที่มีให้เลือำกแล้วไม่มี พิมพ์เข้ามันก็ไม้โชว์ตามที่พิมพ์ ต้องทำยังไงค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ รอบทความต่อไป
ตอบลบขออนุญาตเผยแพร่นะครับ (สสอ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว)
ตอบลบแล้วปีนี้ปีงบประมาณ 57 แนวทางเดียวกันเลยมั้ยคับ
ตอบลบ