เนื่องจากหลายท่านอาจจะยังงงๆ หรือสงสัยว่าprinciple กับco-morbidity มันต่างกันอย่างไร วันนี้ผมก็เลยไปรวบรวมข้อมูลมาให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ
PRINCIPAL DIAGNOSIS (การวินิจฉัยหลัก)
การวินิจฉัยร่วมและการให้รหัส
EXTERNAL
CAUSE OF INJURY AND POISONING (สาเหตุภายนอก)
PRINCIPAL DIAGNOSIS (การวินิจฉัยหลัก)
การวินิจฉัยหลัก
(principal diagnosis หรือ main condition)
ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1.
การวินิจฉัยหลักมีได้เพียงการวินิจฉัยเดียวเท่านั้น
แพทย์ผู้บันทึกต้องเขียน
คำวินิจฉัยโรคไว้เพียงโรคเดียว
2. การวินิจฉัยว่าโรคใดเป็นการวินิจฉัยหลักให้กระทำเมื่อสิ้นสุดการรักษาแล้ว
เท่านั้น เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย (final diagnosis) ซึ่งจะเป็นคำวินิจฉัยโรค
ที่ละเอียดชัดเจนมากที่สุด ดังนั้นการวินิจฉัยหลักอาจแตกต่างไปจากการวินิจฉัย
เมื่อแรกรับ (admitting หรือ provisional diagnosis)
คำวินิจฉัยโรคไว้เพียงโรคเดียว
2. การวินิจฉัยว่าโรคใดเป็นการวินิจฉัยหลักให้กระทำเมื่อสิ้นสุดการรักษาแล้ว
เท่านั้น เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย (final diagnosis) ซึ่งจะเป็นคำวินิจฉัยโรค
ที่ละเอียดชัดเจนมากที่สุด ดังนั้นการวินิจฉัยหลักอาจแตกต่างไปจากการวินิจฉัย
เมื่อแรกรับ (admitting หรือ provisional diagnosis)
3.
ในกรณีของผู้ป่วยใน
โรคที่บันทึกเป็นการวินิจฉัยหลักต้องเป็นโรคที่เกิดขึ้น
ในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาล มิใช่โรคแทรกที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
ถึงแม้โรคแทรกที่เกิดมาภายหลังจะทำให้สูญเสียทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายในการรักษา
มากกว่า แพทย์ก็มิอาจเลือกโรคแทรกมาบันทึกเป็นการวินิจฉัยหลักได้
ในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาล มิใช่โรคแทรกที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
ถึงแม้โรคแทรกที่เกิดมาภายหลังจะทำให้สูญเสียทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายในการรักษา
มากกว่า แพทย์ก็มิอาจเลือกโรคแทรกมาบันทึกเป็นการวินิจฉัยหลักได้
4.
ในผู้ป่วยที่มีโรคหลายโรคปรากฏขึ้นพร้อมๆกันตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาใน
โรงพยาบาล ให้เลือกโรคที่ได้ทำการรักษาเป็นการวินิจฉัยหลัก หากรักษาหลายโรค
พร้อมๆกัน ให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก หากโรคที่รักษาพร้อมๆกัน
หลายโรคมีความรุนแรงใกล้เคียงกัน ให้เลือกโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุด
เป็นการวินิจฉัยหลัก
โรงพยาบาล ให้เลือกโรคที่ได้ทำการรักษาเป็นการวินิจฉัยหลัก หากรักษาหลายโรค
พร้อมๆกัน ให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก หากโรคที่รักษาพร้อมๆกัน
หลายโรคมีความรุนแรงใกล้เคียงกัน ให้เลือกโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุด
เป็นการวินิจฉัยหลัก
5.
ในผู้ป่วยบางรายที่แพทย์วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดไม่ได้จนสิ้นสุดการรักษาแล้ว
(ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้ป่วยเสียชีวิตโดยยัง
วินิจฉัยโรคไม่ได้ หรือส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลอื่น) ให้แพทย์บันทึกอาการ
(symptom) หรือ อาการแสดง (sign) หรือ กลุ่มอาการที่สำคัญที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก
(ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้ป่วยเสียชีวิตโดยยัง
วินิจฉัยโรคไม่ได้ หรือส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลอื่น) ให้แพทย์บันทึกอาการ
(symptom) หรือ อาการแสดง (sign) หรือ กลุ่มอาการที่สำคัญที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก
ตัวอย่างที่ 1 ผู้ป่วยประวัติเดิมเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง, โคเลสเตอรอลสูง
ได้รับการรักษาต่อเนื่องมาตลอด ครั้งนี้มีอาการปวดศีรษะ แพทย์ตรวจพบว่า
ความดันโลหิตสูง 200/140 mm Hg วินิจฉัยว่าเป็น malignant hypertension
รับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ได้รับการรักษาต่อเนื่องมาตลอด ครั้งนี้มีอาการปวดศีรษะ แพทย์ตรวจพบว่า
ความดันโลหิตสูง 200/140 mm Hg วินิจฉัยว่าเป็น malignant hypertension
รับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การวินิจฉัยหลัก
:
Malignant hypertension
การวินิจฉัยร่วม
:
Diabetes mellitus type 2, Hypercholesterolemia
…………………………………………………………………………
การวินิจฉัยร่วมและการให้รหัส
การวินิจฉัยร่วม (Comorbidity
/ Pre-admission
comorbidity)
โรคที่เป็น การวินิจฉัยร่วม (comorbidity) คือ โรคที่ปรากฏร่วมกับโรคที่เป็น
การวินิจฉัยหลักและเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความ
เสี่ยงชีวิตสูงมากขึ้น หรือมีการดำเนินการตรวจ วินิจฉัย
หรือรักษาเพิ่มขึ้นระหว่าง
การรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนั้น
A. องค์ประกอบที่สำคัญตามคำจำกัดความของโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วม
ได้แก่
1. เป็นโรคที่พบร่วมกับการวินิจฉัยหลัก หมายความว่า
เกิดขึ้นก่อน
หรือ พร้อมๆ
กับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก
คือเป็นโรคที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้
รักษาในโรงพยาบาล
มิใช่โรคแทรกที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก
เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือ
พิการระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ต้อง
เพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์
ต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติมจากแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญแผนกอื่นๆ
ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. แพทย์สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1
โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุด
ที่จะบันทึกได้
B. โรคที่มักเป็นการวินิจฉัยร่วม
ได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ไตวายเรื้อรัง
โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคประจำตัวผู้ป่วย เช่น systemic lupus
erythematosus, old cerebrovascular accident ฯลฯ
ในกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บ
หลายตำแหน่ง
มักมีบาดแผลต่างๆที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบาดแผลหลักเป็นโรคร่วม
อยู่เสมอ
Common comorbid
diseases accompanying principal diagnosis
Chronic diseases
-
Diabetes mellitus type 2 - Chronic renal failure
-
Rheumatoid arthritis - Hypertension
-
Ischemic heart disease - Systemic
lupus erythematosus
การให้รหัสการวินิจฉัยร่วม
(Comorbidity
/ Pre-admission
comorbidity coding)
การให้รหัสโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วมทุกรหัส
ต้องมีการวินิจฉัยโรคอย่างเป็น
ลายลักษณ์อักษรของแพทย์ผู้ดูแล
หรือร่วมกันรักษาเป็นหลักฐานรับรองการบันทึกรหัสเสมอ
ผู้ให้รหัสไม่สามารถนำเอาผลการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ
หรือการตรวจพิเศษอื่นใด
ที่มิใช่คำวินิจฉัยโรคของแพทย์มาตีความเป็นการวินิจฉัยร่วมเองโดยพลการ
ถ้าหากมีข้อสงสัย
ว่าผู้ป่วยจะมีโรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วมอื่นใดที่แพทย์ลืมบันทึก
ผู้ให้รหัสอาจส่งเวชระเบียน
ให้แพทย์พิจารณาทบทวนวินิจฉัยโรคเพิ่มเติมได้ก่อนให้รหัส
ตัวอย่าง ผู้ป่วยเดินข้ามถนนถูกรถยนต์ชน ไม่รู้สึกตัว
แพทย์ตรวจพบว่าความดันต่ำ
ไม่ค่อยรู้สึกตัว ทำผ่าตัดช่องท้อง พบ ruptured spleen ทำผ่าตัด splenectomy
ตรวจ CT Scan ศีรษะพบ left frontal cerebral contusion รักษาโดยให้ยาลดสมองบวม
ตรวจ X-rays pelvis พบ fracture pubic rami รักษาโดยใส่ external fixator
ไม่ค่อยรู้สึกตัว ทำผ่าตัดช่องท้อง พบ ruptured spleen ทำผ่าตัด splenectomy
ตรวจ CT Scan ศีรษะพบ left frontal cerebral contusion รักษาโดยให้ยาลดสมองบวม
ตรวจ X-rays pelvis พบ fracture pubic rami รักษาโดยใส่ external fixator
ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล 30 วัน จึงกลับบ้าน
การวินิจฉัยที่ผิด
การวินิจฉัยหลัก : Car accident with ruptured spleen with cerebral contusion with
fracture pelvis
การวินิจฉัยหลัก : Car accident with ruptured spleen with cerebral contusion with
fracture pelvis
การวินิจฉัยร่วม :
-
External
cause
: -
การวินิจฉัยที่ถูก
การวินิจฉัยหลัก : Ruptured spleen
การวินิจฉัยหลัก : Ruptured spleen
การวินิจฉัยร่วม
:
Cerebral contusion left frontal, Fracture pelvis
External
cause
: Pedestrian in collision with car in traffic accident
(กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)
กลไกการบาดเจ็บหรือกลไกการได้รับพิษ (external cause of injury and
poisoning)
คือ ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าบาดเจ็บมาอย่างไร
เป็นอุบัติเหตุ
ถูกทำร้าย ฆ่าตัวตาย ฯลฯ
เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเป็นสาเหตุ
ให้สูญเสียประชาชนไทยก่อนวัยอันควร
แพทย์ต้องระบุกลไกการบาดเจ็บของผู้ป่วย
บาดเจ็บทุกราย
A. องค์ประกอบที่สำคัญของ กลไกการบาดเจ็บ ได้แก่
1.
บอกลักษณะกลไกการบาดเจ็บได้อย่างละเอียด เช่น
บรรยายว่านั่งซ้อนท้ายรถ
จักรยานยนต์จะไปทำงาน แล้วรถจักรยานยนต์สะดุดก้อนหินลื่นล้มเอง
หรือ
บรรยายว่าถูกฟันด้วยมีดอีโต้ขณะไปเที่ยวที่งานวัด
2.
ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย หรือเป็นการฆ่าตัวตาย
หรือ
ทำร้ายตัวเอง
B. ผู้ให้รหัสมีหน้าที่สำคัญยิ่งในการบันทึกรหัสผู้ป่วยบาดเจ็บ
ถ้าหากแพทย์ไม่ระบุ
กลไกการบาดเจ็บ หรือ ระบุกลไกไม่ชัดเจน
ผู้ให้รหัสต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
จากเวชระเบียน เพื่อให้รหัส external cause ได้ครบถ้วนและถูกต้องตรงตามมาตรฐาน
การให้รหัสผู้ป่วยบาดเจ็บ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสกิจกรรม, รหัสสถานที่เกิดเหตุ และ
รหัสตำแหน่งผู้ป่วยในยานพาหนะแต่ละแบบ
ในกรณีตัวอย่างการเดินข้ามถนนแล้วถูกรถชน น่าจะใช้รหัสวินิจฉัยโรคหลักเป็น v03.1 : Pedestrian injured in collision with car, pick-up trunk or van at Traffic accident ซึ่งจะทำให้วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพได้ถูกต้องกว่า
ตอบลบรบกวนสอบถามอาจารย์นอกประเด็นนิดนึงครับ JHCIS ที่ใช้มีปัญหาเรื่องสิทธิการรักษาไม่ขึ้นในหน้าบริการครับ ขึ้นเป็นเรียกเก็บเงิน หลังจาก Updateเป็น 15 12 54 ครับ มีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ...ขอบคุณครับ....วัชรพงษ์
ตอบลบ