วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกop/pp individual data 2555

ผมขออนุญาตสรุปโดยภาพรวมนะครับเนื่องจากเอกสารที่ได้มาตั้ง40หน้า บทความนี้ผมขอเน้นเฉพาะที่ข้อมูลผู้ป่วยนอกนะครับ
1.ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก(OP Individual Data)
    การตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกจะตรวจสอบจากชุดข้อมูลผู้ป่วยนอก(OP Package) ที่กำหนดซึ่งได้แก่แฟ้ม PERSON SERVICE DIAG PROCED และDRUG ตามโครงสร้างมาตรฐาน18แฟ้ม เชื่อมโยงให้เกิดข้อมูลการให้บริการซึ่งสรุปได้ดังนี้
              มาตรฐานโครงสร้าง                  แฟ้มที่ใช้ตรวจสอบ                  ฟิลด์ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล
                         18แฟ้ม                          person.txt*                                       pid
                                                              service.txt*                                      seq
                                                              diag.txt*                                          date_serv
                                                              proced.txt                                        clinic
                                                              drug.txt        *=จำเป็นต้องมีข้อมูล
เงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก
1.ตรวจสอบข้อมูลให้ครบและถูกต้องตามฟิลด์ที่กำหนดในแต่ละแฟ้ม
2.ตรวจสอบPCUCODE ต้องมีรหัสอยู่ใน สนย.รหัส5หลัก
3.ต้องสามารถเชื่อมโยงการการให้บริการกับข้อมูลบุคคล(เชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มservice กับแฟ้มperson โดยฟิลด์pid  ทั้งนี้หากข้อมูลในแฟ้มperson ตรวจสอบไม่ผ่านจะถือว่าไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลได้
4.รหัสคลินิกถูกต้องตามาตรฐานที่กำหนด โดยตรวจสอบจากตำแหน่งที่2-3
5.ต้องมีข้อมูลการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเชื่อมโยงการให้บริการได้(สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในแฟ้มdiag กับ service ได้โดยใช้ฟิลด์pid seq date_serv clinic ทั้งนี้การให้รหัสการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง มีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องมีการให้รหัสโรคหลัก (principle diagnosis)อย่างน้อย1รหัสที่ถูกต้องตามicd10หรือ icd10tm
- หากให้รหัสโรคถูกต้องตามหลักการให้รหัสโรคตามicd10 จะตรวจสอบความสอดคล้องของการให้รหัสโรคตาม appendixA3-A4 ของ DRG4.0
- ตรวจสอบประเภทการวินิจฉัยต้องมีค่าตั้งแต่1-5
เงือนไขการคิดpoint
1.เป็นข้อมูลการให้บริการตั้งแต่1 กรกฎาคม 2554- 30 มิถุนายน 2555
2.มีเลขประชาชน13หลักในฐานข้อมูลประชากรของ สปสช.
3.การให้บริการผู้ป่วยนอก1คนใน1วันจะได้1point
4.การคิดpoint จะพิจารณาเฉพาะรหัสการวินิจฉัยที่เป็นการให้บริการผู้ป่วยนอกเท่านั้น(ข้อมูลจากการสำรวจ การเยี่ยมบ้านที่ไม่ใช่บริการ ไม่สามารถนำมาบันทึกเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอกและสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้
หมายเหตุ สปสช. จะมีการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอก(op) เพิ่มเติม โดยหากหน่วยบริการใดมีอัตราการใช้บริการ(utilization rate) เบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานเกินจริง(ค่ามาตรฐานจะแยกตามระดับหน่วยบริการและสปสช.เขต)จะถูกระงับจ่ายไว้ก่อน(pending)เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการนั้นต่อไป
ที่มา: สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน สปสช

               
                                                             

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการติดตามการจัดทำข้อมูลOP/PPของสปสช.กลาง

เครดิต: สสจ.ยโสธร
ประเด็นที่สปสช.ติดตาม
1.ข้อมูลOP/PP individual records ที่มีอยู่ใน รพ.สต.มีความถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน และน่าเชื่อถือเพียงใด สามารถเชื่อมโยงให้เห็นภาพของการให้บริการระดับปฐมภูมิเพียงใด
2.เจ้าหน้าที่ของรพ.สต.มีความเข้าใจเรื่ิองOP/PP Individual Records ที่มีในรพ.สต.เพียงใด จะต้องพัฒนาในด้านใดบ้าง
ผลการติดตาม สปสช.แยกเป็น4ด้านดังนี้
1.ด้านข้อมูล
2.ด้านเจ้าหน้าที่
3.ด้านโครงสร้างIT
4.ด้านการบริหารจัดการ
1.ด้านข้อมูล
1.1 ข้อมูลมีความผิดปกติ โดยสปสชได้สุ่มทั้งหมด24แห่ง จาก12จังหวัด (ในที่นี่ไม่ขอเปิดเผยชื่อรพ.สต.นะครับ)สรุปผลการตรวจคือทุกแห่งจะมีvisitที่สูงมาก ซึ่งเมื่อแยกเป็นผู้ป่วยOpที่แท้จริง โดยตัดการวินิจฉัยโรคในกลุ่มZ ที่มิใช่เป็นการวินิจฉัยผู้ป่วยนอกออกแล้ว พบว่ามีสัดส่วนลดลงมาก ซึ่งรหัสZที่พบมากๆคือ Z71.9, Z13.6, การให้บริการในกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ(PP) ANC FP EPI PP เป็นต้น
ต่อมาคือความผิดปกติของจำนวนหัตถการ เทียบสัดส่วนต่อจำนวนvisit รวมนั้นดูสูงมาก ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของหัตถการพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยโรค และอาการของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังเอารหัสหัตถการที่ไม่มีความหมายว่าเป็นหัตถการมาใข้ เช่น9999 เป็นการบันทึกเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของadd on เท่านั้น
ต่อมาเป็นความผิดปกติของการจ่ายยาในบางรายการสูงมากผิดปกติ หรือจ่ายยาไม่เหมาะสมเช่นจ่าย paracetamol ครั้งละ1-2เม็ด หรือ20เม็ด ในผู้รับบริการเยี่ยมบ้าน คัดกรอง หรือบริการส่งเสริมอื่นๆ
1.2 การบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลของผู้มารับบริการมากกว่าความเป็นจริง โดยการบันทึกเพิ่มผู้มารับบริการที่มาเพียง1ครั้งให้เป็นการมารับบริการ2-3ครั้ง และแยกเป็นหลายๆวัน
- นำข้อมูลการคัดกรองต่างๆเช่นตรวจมะเร็งเต้านม เยี่ยมบ้าน และส่งเสริมป้องกันมาเป็นOP โดยเฉพาะข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้บริการเอง
- นำข้อมูลบริการอนามัยโรงเรียนเช่นการจ่ายยาFBC ป้องกันโรคโลหิตจางในนักเรียนมาบันทึกเป็นข้อมูลOP โดยมีการวินิจฉัยโรคและจ่ายยาFBC คนละเม็ดทุกสัปดาห์
- บันทึกรหัสโรค ICD10 ไม่สัมพันธ์ักับอาการ และยาที่ใช้ และมีการหลีกเลี่ยงการให้รหัสโรคในกลุ่มZ โดยเลือกรหัสICD10 อื่นๆแทนโดยการสุ่มตามใจชอบ
- บันทึกรายการยาไม่ถูกต้อง
- ใช้เทคนิคด้านIT เพื่อนำเข้าและปรับปรุงข้อมูล
- ไม่บันทึกข้อมูลผู้รับบริการลงในเอกสารหรือทะเบียนรายงาน ส่งผลให้ข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ไม่ตรงกับเอกสาร
- มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล มาช่วยบันทึกข้อมูลใน รพ.สต.ซึ่งลูกจ้างเหล่านี้ไม่มีความรู้ในระบบงานการให้บริการสาธารณสุข จึงบันทึกข้อมูลได้ไม่ถุกต้อง
- ละเลยการบันทึกข้อมูลOP เนื่องจากคิดว่ามีความยุ่งยาก และมีขั้นตอนในการบันทึกมาก
2. ด้านเจ้าหน้าที่
2.1 ทัศนคติในการจัดทำข้อมูล
- มีจุดมุ่งหมายในการบันทึกข้อมูลเพื่อเอาเงินกับสปสช.
- ไม่ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจจะตามมาจากการทำข้อมูลที่ขาดคุณภาพ
- มีความเข้าใจว่าการจัดทำข้อมูลของ รพ.สต. ในปัจจุบันนั้นถูกต้องเนื่องจากว่าหลายๆแห่งก็ทำและไม่มีใครทักท้วง
2.2 ขาดความรู้
- ขาดความรู้เรื่องการให้รหัสโรคICD10 รหัสหัตถการ และการให้ยาที่ถูกต้อง
- ขาดความรู้ความเข้าใจในเงื่อนไขการตรวจสอบ และระบบรับ-ส่งข้อมูลของสปสช.
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม เช่น JHCIS HOSXP
- ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพ
3.โครงสร้างด้านIT
3.1 HARDWARE
-  ขาดการบำรุงรักษา ซ่อมแซม บางแห่งมีมากเกินความจำเป็น
3.2 Software ในที่นี่ขอพูดถึงเฉพาะโปรแกรมJHCISนะครับ
- มีการออกแบบฟังก์ชั่นที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อเงื่อนไขการจ่ายเงินของ สปสช.มากกว่าการประโยชน์ของรพ.สต.เช่น มีการวินิจฉัยอัตโนมัติ  มีฟังก์ชั่นการจ่ายยาเป็นชุด  การออกรายงานบางชนิดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง(สปสช.ได้แจ้งทีมงานJHCISในการปรับโปรแกรมให้มีความถูกต้องแล้ว)
3.3 Network
- มีระบบinternet ความเร็วสูงในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
- มีระบบสำรองทดแทนเช่น aircard modem
3.4 ระบบความปลอดภัย
- มีการสำรองข้อมูล แต่ในบางรพ.สต. ก็ยังไม่มีการบันทึกข้อมูล
- การป้องกันไวรัสยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
4.ด้านการบริหารจัดการ
- นโยบายด้านข้อมูลOP/PP Individual ของสสจ เจ้าหน้าที่รพ.สต.ไม่ได้ปฏิบัติตาม
- สสอ.กำหนดKPI ในการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ไม่เหมาะสมทำให้สร้างแรงกดดันกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
- ปัญหาการจัดสรรเงินจากCUPล่าช้า
บทสรุป(จากสปสช)
1. เจ้าหน้าที่รพ.สต.มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการจัดทำข้อมูล รวมทั้งขาดความรู้ในเชิงด้านสาธารณสุขเช่นการให้รหัสโรคที่ถุกต้อง การให้หัตถการที่ถุกต้อง
2. โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูงฃลมีการบิดเบือนข้อมูลไปจากข้อเท็จจริง
3. ระบบบริหารจัดการตลอดจนนโยบายมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินงานOP/PP Individual
4. ขาดการประชาสัมพันธ์ และการประสานงานระหว่าง สสจ สสอ และรพ.สต.
ข้อเสนอแนะ(นี่ก็จากสปสช,นะครับ)
1.ควรมีการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ ในเรื่องการจัดทำข้อมูลOP/PP Individual ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากรพสต.
2.ควรมีการอบรมให้ความรู้และทักษะเรื่องการให้รหัสโรค รหัสหัตถการ และการจ่ายยาที่ถูกต้อง
3.ควรส่งเสริมให้มีการปรับเทคนิค ขั้นตอนให้บริการ และการบันทึกข้อมูลแบบ Real Time
4.กรณีการจ้างลูกจ้างบันทึกข้อมูล ต้องมีการควบคุมคุณภาพ และอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด
5.โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูล ควรปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล หน้าจอรับข้อมูล ตลอดจนฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีผลทำให้ผู้ใช้บันทึกข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
6.สนับสนุนให้มีการใช้ข้อมูลOP/PP Individual Records เพื่อการวางแผนงานหรือโครงสร้างงานด้านสาธารณสุข
7.มีกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานOP/PP Individual Records จากทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
8.ควรมีการทบทวนเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การตรวจสอบข้อมูลของสปสช.ส่วนกลางให้มีความรัดกุมมากขึ้น
9.ควรมีการปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของสปสช.ในกรณีOP/PP Individul Records จากรูปแบบGlobal budget รายเขต เป็นGlobal Budget รายจังหวัด ภายใต้ขอบของเขต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระบบจัดสรร และลดการแข่งขันในการจัดทำข้อมูลระหว่างจังหวัด
10.ควรมีเกณฑ์หรือแนวทางในควบคุมการจัดทำข้อมูล OP/PP Individul Records ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง
11.ควรปรับลดหรืองดการจัดสรรเงินในกลุ่มAdd On
12.ควรจัดให้มีงบประมาณหรือรางวัลที่มากพอในการสร้างแรงจูงใจในการจัดทำข้อมูลให้มีคุณภาพ และควรมีการลงโทษในกรณีที่เจตนาหรือตั้งใจทำข้อมูลให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

จากข้อมูลที่ทางสปสช.ออก audit รพ.สต. จำนวน 24แห่ง จาก12จังหวัด ก็พอจะชี้ให้เห็นแล้วนะครับว่า เราควรจะทำข้อมูลให้มีคุณภาพ ทำข้อมูลจากความจริงสู่ความจริงไม่มีการบิดเบือนข้อมูล ทำข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านสาธารณสุขจริงๆ ไม่ใช่ทำข้อมูลเพื่อมุ่งเน้นที่เอาเงินจาก สปสช.ฝ่ายเดียว ตั้งแต่นี้ต่อไปการบันทึกข้อมูลคงต้องเน้นที่การบันทึกข้อมูลแบบ Real Time เน้นการให้รหัสโรคให้ถูกต้อง ให้หัตถการที่ถูกต้อง และต้องจ่ายยาให้ถูกต้องโดยต้องสัมพันธ์กับอาการและการวินิจฉัยโรค  และสุดท้ายเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็อย่าลืมสำรองข้อมูลเก็บไว้ด้วยนะครับ
ถ้าเป็นแบบนี้คงพอจะมองเห็นแล้วว่าขณะนี้ทั้งสปสช.และสนย.ได้พยายามร่วมกันผลักดันให้ทีมงานรพ.สต.เราให้ผลิตข้อมูลOP/PP Individul Records ให้มีคุณภาพ(ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมโยงการให้บริการในระดับปฐมภูมได้)




วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คีย์วัคซีนBCG และHBVอย่างไรไม่ให้error

คำถามนี้มาบ่อยมากครับช่วงนี้ ทำไมแฟ้มepi error แก้ไขอย่างไร พอไล่ไปดูจริงๆพบว่าตัวที่ทำให้errorคือbcg กับ hbv การคีย์วัคซีนทั้ง2ตัวนี้ ถ้าตั้งใจจะเข้าไปคีย์แบบความครอบคลุม ของวัคซีนทั้ง2ตัวคีย์ยังงัยก็error ครับ ผมจึงขอเสนอวิธีแก้ไขง่ายๆดังนี้คือ ปกติเราเจอกับเด็กที่มารับวัคซีนที่ รพ.สต.อายุประมาณ2-3เดือนเป็นครั้งแรก(หรือคนใหม่ที่เพิ่งมารับวัคซีนที่เราและเป็นคนในเขตเราด้วย) ก็ให้เราดึงเด็กเข้าบริการตามปกติ พอไปหน้าโภชนาการ&วัคซีน  ก็ระบุวัคซีนที่เค๊าจะได้รับไป จากนั้นให้ไปคลิ๊กที่บันทึกความครอบคลุมวัคซีน คราวนี้หละครับเราค่อยระบุวันที่ที่เด็กวัคซีนตามสมุดสีชมพู(ปกติไม่น่าจะเกิน48ชั่วโมงหลังเกิด) จากนั้นก็ไประบุสถานที่ที่เด็กรับวัคซีน ถ้าคีย์แบบนี้แฟ้มepiไม่errorแน่นอนครับ ที่ต้องคีย์แบบนี้เพราะเราต้องอาศัยเอาseq จากวัคซีนที่เด็กได้รับไป ขออนุญาตยกตัวอย่าง
เด็กชายเจตพล อายุ2เดือน มารับบริการฉีดวัคซีนที่ รพ.สต. โดยที่ยังไม่ได้บันทึกวัคซีนbcgกับhbv
เริ่มต้นก็ดึงเด็กชายเจตพล เข้ามารับบริการ จากนั้นไปที่หน้าโภชนาการ&วัคซีน ให้วัคซีน DHB1กับOPV1 แล้วให้ที่บันทึกความครอบคลุมการรับวัคซีน ก็จะมีตารางโผล่ขึ้นมา จากนั้นก็ให้ระบุวันที่ที่เด็กรับวัคซีนลงไป แล้วก็บันทึกวัคซีน BCG และHBVลงไป จากนั้นก็ไประบุสถานที่ที่เด็กรับวัคซีนมา(ส่วนใหญ่ก็เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอ) แล้วก็ไปวินิจฉัยโรค Z27.1 principle Z24.6 co-morbidity และ Z24.0 co-morbidity ในกรณีนี้ไม่ต้องวินิจฉัยbcgกับhbv จ่ายหัตถการออกไปหนึ่งเอา9038170 ก็ได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การลงโปรแกรมjhcisบนwindows7ทั้ง32และ64bit

เนื่องจากสมาชิกหลายๆท่านแจ้งเข้ามามาก ว่าช่วยเขียนวิธีลงโปรแกรมJHCIS บนwindows 7 ทั้ง32bit และ 64 bit พอดีวันนี้ไม่มีงานหนักๆเข้ามาก็เลยต้องเขียนให้ทุกๆได้อ่านตามที่สัญญาครับ(แต่คงไม่ลงรายละเอียดมากนักเนื่องจากว่าขั้นตอนการลงมันก็มีหลายขั้นตอนเหมือนกัน เน้นเฉพาะในส่วนหลักๆที่มักจะเป็นปัญหาเวลาinstall ข้อมูล)
เริ่มแรกขั้นตอนที่1 เราต้องไปหักเขี้ยวเล็บของwindows 7 ก่อน โดยที่ control panal แล้วก็ไปที่action center
จากนั้นก็ให้มองไปที่มุมบนด้านซ้ายมือของจอหาตัวที่ชื่อว่าchange user account control settings คลิ๊กเข้าไปจะเจอเหมือนสเกล ปกติมันจะอยู่ตรงกลางให้ลากสเกลนั้นลงมาที่ต่ำสุด(never notify) เท่านี้windows7 ก็หมดเขี้ยวเล็บไปหนึ่ง ตอนนี้ท่านสามารถแตกไฟล์อัพเดทjhcisได้ โดยที่ไม่ต้องคลิ๊กขวาrun as asministrator แต่ถ้าไม่ทำขั้นตอนดังกล่าวก็จะเกิดปัญหาในการแตกไฟล์ตามมา
ขั้นตอนที่2 อันนี้ใช้แก้ไขกรณีที่โปรแกรมjhcis แสดงผลเป็นภาษาต่างดาว หรือ???????
วิธีทำคือ ไปที่ control panal >>>region and language>>ที่format ให้เลือกเป็นthai(Thailand) ในช่องshortdate ให้เลือกเป็น dd/MM/yyyy จากนั้นให้มองไปที่มุมบนแถบที่2ที่ชื่อว่าLocation
ในช่อง current location ให้เลือกเป็นthailand  จากนั้นก็ให้มองไปที่มุมบนที่แถบที่4asministrative
เลือกหาปุ่มที่ชื่อว่า change system local  คลิ๊กเข้าไปแล้วให้ตรวจสอบว่าที่current system locale ใช่
thai(Thailand)ถ้าไม่ใช่ให้เปลี่ยนเป็นthai แต่ถ้าเป็นthaiอยู่แล้ว ก็ถือว่าจบขั้นตอนการกำหนดเรื่องภาษาสำหรับjhcisแล้วครับ ต่อไป
ขั้นตอนที่3 กำหนดปิด firewall  ควรจะปิดขณะลงโปรแกรม วิธีทำก็ไปที่ windows firewall >>turn windows firewall on or off ให้เลือกที่turn off windows firewall
ก็หมด3ขั้นตอนในการเตรียมเครื่องเพื่อให้สามารถลงโปรแกรมjhcisได้อย่างไม่มีปัญหา
ส่วนการinstall โปรแกรมjhcis ในwindows xp และ windows 7 32bit การลงเหมือนกันครับ(ทำตามคู่มือเดิมที่ทางอาจารย์ทำออกมาก็ได้) ส่วนที่แตกต่างกันwindows7 64 bit เค๊าจะมีprogram files อยู่2ตัว การinstall โปรแกรม ก็เหมือนกับ xp และ32 bit แต่ที่แตกต่างคือถ้าเป็น64bit มันจะมี(x86) เวลาinstall โปรแกรม jhcis ก็แค่ให้ลบ(x86)ทิ้งไป ให้เหลือแค่ C:program file\jhcis
windows 7 64 bit ให้ลบ(x86)ออกทุกครั้งที่เจอเวลาinstall โปรแกรม เท่านี้การลงโปรแกรมjhcis บนwindows7 ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร 
หลายๆท่านที่เป็นuserจริงๆอาจจะไม่เข้าใจเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้เนื่องการลงโปรแกรมมันค่อนข้างจะละเอียด เดี๋ยวผมจะทำfile vdo การinstall jhcis อย่างละเอียดให้ในโอกาสหน้านะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

jhcis version 3 สิงหาคม 2554

หลายๆท่านคงได้ทดสอบการกันไปแล้วนะครับ แล้วหลายๆท่านก็ประสบปัญหาพบว่าไม่สามารถวินิจฉัยโรคและจ่ายยาได้(จริงๆแล้วด้วยความเห็นส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับทีมงานjhcis ที่ต้องการกำหนดให้แต่userมีหน้าที่อะไร ทำอะไรได้บ้าง) ผมขอแนะนำวิธีการง่ายๆเพื่อให้แต่ละuser สามารถวินิจฉัยโรค จ่ายยา หรือทำกิจกรรมอื่นๆได้ ดังนี้ 
1.เข้าjhcis ด้วย log in adm 
2. ไปที่ ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3. ไปที่ปุ่ม ผู้ใช้งานโปรแกรม(users)&แพทย์แผนไทย
4. จากนั้นให้คลิ๊กขวาที่ชื่อผู้ใช้(คนที่คุณต้องการกำหนดสิทธิให้) แล้วให้เลือกแถบที่3 กำหนดสิทธิการใช้งานเมนูบริการ (tab 1-8)จากนั้นก็กำหนดว่าuserนี้จะสามารถทำอะไรได้บ้างหรือจะกำหนดหมดทั้ง8ข้อโดยมีหัวข้อดังนี้
1.วินิจฉัย-จ่ายยา
2.ตรวจครรภ์(anc)
3.คลอด(บันทึกรายละเอียดการคลอดทั้งมารดาและทารก)
4.ดูแลมารดาหลังคลอด
5.ดูแลทารกหลังคลอด
6.โภชนาการ&วัคซีน
7.วางแผนครอบครัว
8.ตรวจมะเร็ง(เฉพาะการตรวจมะเร็ง)
เท่านี้แต่ละuser ก็สามารถทำอะไรได้ตามที่กำหนดไว้ครับ

การคีย์เยี่ยมหลังคลอดสำหรับjhcisตั้งแต่เวอร์ชั่น6กรกฎาเป็นต้นไป

จากการที่หลายๆท่านได้ทดลองใช้โปรแกรมjhcis version 6 กรกฎาคม แล้วก็มา22 กรกฎาคมและล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม 2554 นั้น พบว่าเมื่อส่งออก18แฟ้ม ปรากฎว่าข้อมูลที่แฟ้มPP.txt และMCH.txt ไม่มีข้อมูลออกมาทั้งๆที่ก็คีย์ข้อมูลเข้าไป ผมขอแนะนำการคีย์เยี่ยมหลังคลอดอีกครั้ง เพื่อให้สามารถส่งออก18แฟ้ม ได้ครบทุกแฟ้ม โดยที่ไม่ขาดแฟ้ม pp และ mch(ตามโปรแกรมjhcis )
มาตรฐานครั้งที่ 1 คือเยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ไม่เกิน 7 วันนับถัดจากวันคลอด(หรือไม่เกิน 8 วันนับจากวันคลอด)
มาตรฐานครั้งที่ 2 คือ
เยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ตั้งแต่ 8 วัน และไม่เกิน 15 วันนับถัดจากวันคลอด
มาตรฐานครั้งที่ 3 คือเยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ตั้งแต่ 16 วัน และไม่เกิน 45 วันนับถัดจากวันคลอด(หากมีการตรวจครั้งที่ 3 โปรแกรมฯ จะบันทึกไว้ในฐานข้อมูล แต่จะไม่ส่งออกมาใน mch.txt และ pp.txt)
ข้อมูลในแฟ้ม mch.txt และ pp.txt จะไม่ถูกส่งออกมา
หากการบันทึกข้อมูลการตรวจหลังคลอด(มารดา และทารก) ยังไม่ครบ 2 ครั้งมาตรฐานในรอบการส่งนั้น
(แม้จะบันทึกข้อมูลครบ 2 ครั้ง แต่ถ้า 2 ครั้งนั้นไม่เข้าเกณฑ์ การตรวจตามมาตรฐาน ก็จะไม่ส่งออกมาเช่นกัน 
)
เนื่องจากสปสช.ออกเกณฑ์การตรวจสอบปี55ออกมาใหม่ เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการคีย์ใหม่เพื่อให้ได้2point  กติกาคือ
pcare3>pcare2>pcare1 โดยกติกาการตรวจครั้งที่2ต้องห่างจากวันที่เกิดไม่น้อยกว่า16วัน
โดยสรุปเพื่อทุกท่านจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับวันที่ผมแนะนำว่าครั้งที่1คือห่างจากวันคลอด5วัน ครั้งที่2ห่างจากวันคลอด20วัน และครั้งที่3ห่างจากวันคลอด 35 วัน(5,20,35) เด็กที่เกิดหลังจากวันที่ 21ของแต่ละเดือนให้ยกยอดไปคีย์คลอดและเยี่ยมหลังคลอดในเดือนถัดไป เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ จะทำให้ท่านสามารถคีย์ข้อมูลการเยี่ยมหลังคลอดทั้งแม่และลูกได้ถูกต้อง

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการตรวจสอบข้อมูลการป่วยและตาย(สนย.)

1.การตรวจสอบรหัสโรคสำหรับการป่วย
       1.1 การให้รหัสโรคครบทุกคนที่มารับบริการ หรือไม่อย่างน้อย1รหัสโรค(คน/ครั้ง)
       1.2 การจำแนกประเภทของผู้รับบริการ ถูกต้องหรือไม่ จำแนกได้4ประเภท แยกเป็น
       1.2.1 มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ (ควบคุม ป้องกัน)เช่น ANC EPI FP รวมถึงการมาตรวจคัดกรองในโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
      1.2.2 มาบำบัดรักษาโรคและความเจ็บป่วย
      1.2.3 การดูแลติดตามหลังรักษา เช่นผู้ป่วยที่นัดมารับบริการที่รพ.สต.
      1.2.4 มารับบริการอื่นๆ เช่น มาขอใบส่งตัว ใบรับรองการรักษา
2. การตรวจสอบความถูกต้องการให้รหัส
    2.1 การให้รหัสผู้มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ และการให้บริการอื่นๆ รหัสICDจะใช้ในบทที่21
ระหว่าง Z00-Z99
    2.2 การให้รหัสบำบัดรักษาโรค แบ่งเป็น2กรณี
    2.2.1 ให้บริการรักษา
    2.2.1.1 ถ้าสามารถวินิจฉัยโรคได้ ให้รหัสICD ของโรคนั้นๆใช้รหัส A00-Q99,S00-T99
    2.2.1.2 ถ้าวินิจฉัยโรคไม่ได้ ให้ใช้อาการเป็นรหัสในการวินิจฉัยใช้รหัส R00-R99
    2.2.2 ให้บริการหลังการรักษาหรือผู้ป่วยทีนัดหมายไว้แบ่งได้ตามอาการดังนี้
    2.2.2.1 อาการหรือโรคเดิมหายไปแล้ว ให้รหัสZ099
    2.2.2.2 อาการหรือโรคเดิมยังไม่หายแต่ดีขึ้น ให้รหัส Z54.8
    2.2.2.3 อาการคงเดิมให้รหัสเดิมที่เป็นอยู่
3. การตรวจสอบสาเหตุการตาย
    3.1 ต้องเลือกสาเหตุการตาย ที่เป็นสาเหตุต้นกำเนิด ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาจนทำให้ตาย
    3.2 ไม่บันทึกอาการและรูปแบบการตายที่เป็นสาเหตุการตาย เช่นหัวใจล้มเหลว ชรา ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ฯลฯ คือรหัสที่อยู่ในR00-R99
    3.3 สาเหตุการตายจากการบาดเจ็บ ให้เอาสาเหตุของการบาดเจ็บเป็นสาเหตุการตาย เช่น การบาดเจ็บเกิดจาก พลัดตก หกล้ม จมน้ำ อุบัติเหตุการจราจรให้บอกชนิดของยานพาหนะ รหัสที่ใช้จะอยู่ระหว่างW00-Y99
    3.4 S,T เป็นรหัสที่บอกถึงการบาดเจ็บของอวัยวะไม่ใช่สาเหตุการตาย
    3.5 ตรวจสาเหตุการตายว่าเป็นของเพศชาย เพศหญิง หรือเด็กตายต่ำกว่า1ปี เช่น แม่ตายรหัสO00-O09 เด็กตายต่ำกว่า 1ปี รหัสP00-P99 เป็นต้น
4. การบันทึกอาการ ให้บันทึกให้ละเอียดโดยยึดหลัก 5W+2H บันทึกให้ครอบคลุม
5. การวินิจฉัยโรคให้วินิจฉัยจากอาการและวินิจฉัยโรคให้ครบตามอาการที่บันทึกไว้
6. การจ่ายยาให้จ่ายยาให้สอดคล้องกับวินิจฉัยและอาการ
ตัวอย่าง นาย ก. มาด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ เป็นมาแล้ว2วัน ตรวจร่างกายพบทอลซิลอักเสบ และมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
วินิจฉัย= J03.8 principle และ M79.10 co-morbidity
จ่ายยา= para500  amoxy250 ยาอมมะแว้ง norgesic diclofenac50mg.