วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกข้อมูลโภชนาการ0-60เดือน



คู่มือการบันทึกโภชนาการเด็ก0-60 เดือน
Jhcis version ที่ใช้จัดทำคู่มือฉบับนี้คือ 1 กรกฎาคม 2557
เขียนและเรียบเรียง โดย เจตพล  เกษแก้ว
แก้ไข ครั้งที่ 2 11/07/2557
          การบันทึกข้อมูลงานโภชนาการสำหรับเด็กอายุ 0-60 เดือน ปกติจะทำการบันทึกกันในเดือน ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม (แต่ในปีงบประมาณ2558นี้ รายละเอียดยังไม่ได้แจ้งออกมา ฉะนั้นเราเคยทำอย่างไรก็ควรทำอย่างนั้นไปก่อนนะครับ จนกว่าจะมีหนังสือหรือเอกสารให้เปลี่ยนแปลง) การบันทึกข้อมูลในjhcis ก็สามารถบันทึกได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล การบันทึกข้อมูลเริ่มต้นดังนี้
1.       Log in เข้าjhcisไปด้วย userที่สามารถให้บริการได้
2.       คลิ๊กเข้าไปที่เมนู เด็ก0-227 เดือน ชั่งน้ำหนัก วัคซีน ตรวจพัฒนาการ
เมื่อคลิ๊กเข้าไปได้แล้วให้คลิ๊กที่เลือกที่ หมู่บ้าน  วันที่ตรวจ และติ๊กเครื่องหมายถูกหน้ากล่องข้อความ แรกเกิด-5ปี(60เดือน)
การเลือกเด็กกลุ่มเป้าหมายแนะนำให้เลือกเป็น 0,1,3
คราวนี้ก็มาการบันทึกข้อมูลโภชนาการกันแล้วนะครับ
วิธีที่ 1 ให้นำเม้าท์ไปคลิ๊กที่ชื่อเป้าหมายแล้วคลิ๊กขวา เลือกที่เมนู บันทึกการตรวจโภชนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เมื่อคลิ๊กเลือกจะปรากฏกล่องข้อความตามภาพ
ให้กดที่ปุ่ม yes จะปรากฏตามภาพ
ให้บันทึกข้อมูล น้ำหนัก โดยให้บันทึกเป็นกิโลกรัม และบันทึกส่วนสูง โดยให้บันทึกเป็นเซนติเมตร จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม บันทึก
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าการบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็กคนนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ต่อไปจะเป็นพิสูจน์ว่า เมื่อบันทึกด้วยวิธีการนี้แล้ว ผลงานจะถูกส่งออกมาหรือไม่ ดูกันต่อไปครับ เมื่อเราไปที่เมนูรายงานเพื่อส่งออก21แฟ้ม เรียบร้อยเมื่อมาตรวจสอบที่text fileที่แฟ้มnutri จะพบข้อมูลดังนี้

ซึ่งก็สรุปได้ว่าถ้าบันทึกข้อมูลตามวิธีการข้างต้น เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลถูกส่งออกแน่นอน
วิธีที่ 2 การบันทึกข้อมูลโภชนาการผ่านเมนู บันทึกโภชนาการของเด็กทุกคนตามรายชื่อที่ปรากฏ
เมื่อคลิ๊กเข้าได้ตามเมนู เสร็จก็ให้บันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง ตามภาพ
สมมุติว่าบันทึกข้อมูลเสร็จทุกคนแล้วก็ให้คลิ๊กปิดกากบาทที่แดงออกไป
คราวนี้เรามาตามไปดูว่า2 คนที่เราบันทึกไปเมื่อกี้ เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลออกมาหรือไม่ สังเกตนะครับว่าตอนที่ผมส่งออก21แฟ้ม ผมไม่ได้ติ๊กส่งออกโภชนาการนะครับ
เมื่อไปตรวจสอบที่ text file แฟ้ม nutri จะเห็นว่ามีข้อมูลถูกส่งออกมา ดังนั้น การบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็ก0-60 เดือน ตามทั้ง 2 วิธีถ้าส่ง21แฟ้ม จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน และการส่งออก21 แฟ้มก็ไม่จำเป็นต้องไปติ๊กที่ส่งออกโภชนาการ 
          สุดท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่า การบันทึกข้อมูลไม่มีความจำเป็นต้องไปบันทึกข้อมูลอะไรที่เยอะแยะจนทำให้คนคีย์เกิดความเบื่อหน่าย จนไม่อยากจะคีย์ เช่น การบันทึกภาวะโภชนาการ บางท่านแนะนำให้คีย์ตรวจฟันเด็กไปด้วย คีย์เยี่ยมบ้านไปด้วย ในความเป็นจริงขณะที่เราเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกปฏิบัติงานในหมู่บ้านเช่นการชั่งน้ำหนักเด็กเราสามารถตรวจฟันเด็กไปพร้อมได้ด้วยครับ แต่เราไม่สามารถตามไปเยี่ยมบ้านเด็กที่มาชั่งน้ำหนักกับเราจนครบทุกคนได้แน่ๆในหนึ่งวัน ดังนั้นการบันทึกข้อมูลควรบันทึกไปตามความเป็นจริงที่เราไปปฏิบัติมา ทำอะไรก็บันทึกไปเท่านั้นครับ  
          ขอบคุณครับพบกันเรื่องต่อไป อยากทราบวิธีการคีย์เรื่องใดเสนอแนะมาได้ที่  
                  https://www.facebook.com/groups/689473301121036/
                                                                                RAMBO_ZAA
                                                                                  11/07/2557


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น