วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รหัสICD10ที่ถูกยกเลิกในงานระบาด

รหัส506        ICD10-TM             ชื่อโรคภาษาอังกฤษ                    เหตุผลที่ยกเลิก
4                    A04               Other bacterial intestinal infection            ยกA04ไปไว้ที่acute diarrhea
7                    A01                Typhoid and paratyphoid fevers             A01เป็นICD10รวมของA010-A014
13                 B171               Acute hepatitis C                                  ติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งไม่  
                                                       ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำและไม่มีผลกระทบต่อการควบคุมโรค
32และ34     A15และA16    Respiratory tuberculosis                         โรคในกลุ่มTBควรใช้ระบบTB registy
33                A17,A18 A19 B20 J65 K230 K930 K673 M011 M490 N330 N740 N741
35               A30                   Leprosy                                                 ควรใช้ข้อมูลจากระบบleprosy registy
47 48 49 50 51 ยกเลิกเพราะโรคในกลุ่มEn-Occและinjury มีการพัฒนาระบบรายงาน506/2และinjury
                                                                                                                                                 surveillance
56 57 58 59 60 61 62 63 64 67 69 75 77 ถูกยกเลิก
กลุ่มโรคที่เพิ่มคือ 85 A051 Botulism  เหตุผลที่เพิ่มคือขอแยกจากfood poisoning อื่นๆเนื่องจากมีความรุนแรงสูง

การแยกประเภทเตียงในโปรแกรมhome visit

เนื่องจากหลายท่านได้สอบถามเข้ามามากว่าประเภทเตียงในโปรแกรมhome visit เป็นอย่างไรและแยกอย่างไรวันนี้ผมก็เลยขอมาอธิบายในส่วนนี้นะครับ
1.การจัดระบบ Home Ward 
         โดยใช้เขตหมู่บ้านเป็นขอบเขตของward และมีครัวเรือนเป็นเตียง โดยแบ่งภาวะสุขภาพครอบครัว(เตียง)เป็น3ประเภทคือ ดี/เสี่ยง/ป่วย/ผู้พิการ เน้นในกลุ่มเป้าหมาย CANDO
2.การจัดแยกประเภทเตียง
         ในครอบครัวที่มีปัญหาด้านสุขภาพและมีความจำเป็นต้องติดตามเยี่ยมบ้าน(Round ward)อย่างต่อเนื่องและให้แบ่งประเภทเตียงเป็น3ประเภทตามระดับความต้องการการดูแล

เตียงประเภทที่3 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซับซ้อน มีความยุ่งยากในการดูแล ต้องการการดูแลจากผู้อื่นเกือบทั้งหมด มีสหสาขาวิชาชีพร่วมการดูแลกับพยาบาลประจำ รพ.สต.และนสค.ประจำหมู่บ้าน มีผู้ดูแล(care giver) ดูแลประจำทุกวันและเป็นcare giver ที่สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายได้จริง ผ่านการฝึกอบรม หรือฝึกทักษะการดูแลเฉพาะราย

เตียงประเภทที่2 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาทางสุขภาพหรือเจ็บป่วยและเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนแต่ยังสามารถดูแลตัวเองได้บางส่วน พยาบาลประจำ รพ.สต.และนสค.ประจำบ้านสามารถดูแลได้ และส่งปรึกษากับสหวิชาชีพ/ผู้เชี่ยวชาญในรายที่มีความจำเป็น มีcare giver/อสม./นสค.ประจำบ้านเป็นผู้ดูแล

เตียงประเภทที่1 หมายถึงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี มีนสค.ประจำบ้านและอสม.ประจำคุ้มเป็นผู้ดูแล
3.จัดลำดับตามความสำคัญในการดูแลโดยการ Round Ward

เตียงประเภทที่3 Round ward โดย NP/RN+นสค.ประจำบ้าน+อสม+Care giver+สหวิชาชีพ ในสัปดาห์ที่
1-2 และRound Ward อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)จนกว่าจะย้ายเป็นเตียงประเภท2

เตียงประเภทที่2 Round ward โดยพยาบาลประจำรพ.สต.และนสค.ประจำบ้าน+อสม.+care giver ในสัปดาห์ที่2-3และเยี่ยมอย่างน้อย3เดือนต่อครั้ง(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)เมื่อมีความจำเป็นจนกว่าจะย้ายเป็นเตียงประเภท1

เตียงประเภทที่ 1 Round ward โดยนสค.ประจำบ้าน+อสม.ประจำคุ้ม และเยี่ยมทุก6เดือน(ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละโรค)

สำหรับครอบครัวสุขภาพดีและสุขภาพเสี่ยง ให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลคัดกรองภาวะเสี่ยงตามกลุ่มอายุ โดยทีมสุขภาพของ รพ.สต.+นสค.ประจำบ้าน+อสม.1ครั้ง/ปี

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำสั่ง sql อัพหมอประจำบ้าน

update person
set privatedoc='xxxx  xxxx'# ใส่ ชื่อ  นามสกุลของหมอประจำบ้านเข้าไป
where mumoi='x'#'ใส่หมู่บ้านที่รับผิดชอบ'
and subdiscodemoi='xx' #เลขตำบล2หลัก
ถ้าจะให้ดี ควรมีsubdiscodemoiด้วย เผื่อพลาดครับให้เข้าเฉพาะตำบลที่เราผิดชอบ

การวินิจฉัยโรคกรณีที่จ่ายยาสมุนไพร

จากการที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนที่ทำงานที่สปสช.หลายๆเขต เพื่อนๆผมหลายๆคนได้เสนอมาว่าในกรณีที่เราจ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้มารับบริการ เพื่อป้องกันการขาดตกบกพร่องของข้อมูลหลายท่านๆได้แนะนำว่าเมื่อเราวินิจฉัยโรคตามicd10ของWHOแล้ว ให้วินิจฉัยโรครหัสUตามไปด้วยเช่น
นาย ส.มารับบริการที่รพ.สต.แห่งหนึ่งด้วยอาการไข้สูง ไอ เจ็บคอ เป็นมาแล้ว 3 วัน จากการตรวจร่างกายพบว่าทอนซิลบวมแดงทั้ง 2 ข้าง และในcaseเราต้องการจ่ายยาสมุนไพรออกไปกรณีนี้ก็จะมี
ทอนซิลอักเสบ"J03.8" เป็นprinciple และมี
ทอนซิลอักเสบ "U65.31" เป็นco-morbidity
ผมก็เลยถามว่าทำไมต้องวินิจฉัยรหัสUร่วมด้วย ได้รับคำตอบแบบไม่มีคำตอบว่า ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ในเรื่องนี้จาก..... แต่ทำแบบนี้ไว้เผื่อกันพลาด เนื่องจากเงินของกองทุนแพทย์แผนไทยก็เยอะเหมือนกัน ดังนั้น ณ บัดนี้
"เมื่อคุณจ่ายยาสมุนไพรออกมา ขอให้มีวินิจฉัยร่วมรหัสUเสมอ" 

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการลงโปรแกรมhome visit

http://dl.dropbox.com/u/28878454/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20home%20visit.doc
ดาวน์โหลดไปอ่านเลยครับ

โปรแกรม home visit

วันนี้ขออนุญาตใช้บล๊อกตัวเอง แนะนำโปรแกรมที่ตัวเองร่วมพัฒนากับอาจารย์มรกต พิมพาเลีย หน่อยนะครับ เนื่องจากว่าตอนนี้หลายๆค่ายก็ปล่อย application ที่ทำงานบนipad หรือandroid เช่น jhcis for ipad ,ffc for android แล้วคราวนี้สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเราๆที่ไม่มีทั้งipad และ galaxy tab แต่มีnotebook คู่ใจ หรือnetbook คู่ใจ แล้วอยากไปเยี่ยมบ้านแบบsmart ได้งานกลับมาโดยที่ไม่ต้องมีคีย์ซ้ำจะทำอย่างไร
นี่คือทางออกสำหรับท่านที่มีnotebook หรือnetbook ที่อยากออกไปเยี่ยมบ้านโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน เยี่ยมบ้านแบบsmart  แถมสุดท้ายมีรายงานที่ตอบสนองต่อผู้บังคับบัญชาด้วย" Home visit" คือคำตอบตรงนี่ครับ
ดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้ได้ครับ ไม่กั๊ก ไม่มีหมดอายุ ที่สำคัญใช้ฟรีครับ ดาวน์โหลดได้เลยที่
203.157.168.8/homevisit
เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ 2.0.11นะครับ เวอร์ชั่นนี้สามารถส่งผลการเยี่ยมบ้านจากhome visitกลับเข้ามาที่jhcis และncd screen ได้โดยที่ไม่ต้องกลับมาคีย์ซ้ำครับ เวอร์ชั่นหน้าทางทีมงานเราคุยกันไว้ว่าจะให้ออกรายงานได้มากกว่านี้ อันนี้ก็คงแล้วผู้ใช้ที่ต้องการรายงานแบบใหน(เสนอแบบรายงานได้ด้วยการส่งแบบฟอร์มรายงานที่ต้องการมาที่ jettapol.a@gmail.com ) สามารถถ่ายรูปได้ ลงพิกัดหลังคาเรือนแล้วให้ส่งค่ามาเก็บที่JHCISได้ครับ
            ส่วนการ install โปรแกรมจะนำเสนอในบทความต่อไปครับ