วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกข้อมูลการตายสำหรับjhcis version 22กุมภาพันธ์ 2559

การบันทึกข้อมูลการตายเพื่อส่งออกแฟ้มdeath สำหรับjhcis เวอร์ชั่น 22 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ว่าไปแล้วก็ไม่แตกต่างจากเวอร์ชั่นที่ผ่านๆมาหรอกครับ ก็ยังคงบันทึกเหมือนเดิม ที่ต้องหยิบยกขึ้นมาเขียนในวันนี้เพราะยังเห็นมีหลายแห่งก็ยังบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนอยู่
เริ่มต้นเลยนะครับ ก็ให้ไปที่หน้าข้อมูลพื้นฐานบุคคล หรือที่เราชอบเรียกว่ากันว่าหน้าperson
จากนั้นก็ให้เริ่มบันทึกการตายด้วยการไปคลิ๊กที่ปุ่ม "สาเหตุการจำหน่าย" จากนั้นก็ให้เลือก "ตาย" ตามภาพข้างล่าง
จากนั้นก็ไปที่กรอบบันทึกการตาย บันทึกข้อมูลตามทีู่กศรชี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ
คราวนี้หลายๆคนก็บอกว่าคีย์แบบนี้หละ แต่ทำไมยังมีerrorอยู่หละ กติกาของแฟ้มDEATH มีอยู่ว่าตามนี้ครับ 
1.ที่ฟิลด์cdeatha ห้ามให้รหัสการตายที่ขึ้นต้นด้วยรหัส S,TและZ และการวินิจฉัยต้องเป็นไปตามกฎการให้รหัสโรคICD10 เช่นI50 วินิจฉัยไม่ได้ถือว่าผิดเพราะยังรหัสต่อได้อีกเช่นI50.9
2.ที่ฟิลด์deadcause ก็ใช้อันเดียวกันคือ ห้ามให้รหัสการตายที่ขึ้นต้นด้วยรหัส S,TและZ และการวินิจฉัยต้องเป็นไปตามกฎให้รหัสโรคICD10(เหมือนข้อ1)
3.ข้อมูลวันตาย จำเป็นต้องลงวันที่ตายของคนที่ตายให้ถูกต้องและครบถ้วน
4.สถานที่ตาย ก็ให้เลือกไปว่าเป็นในสถานบริการหรือนอกสถานบริการ ถ้าเป็นในสถานบริการให้ระบุลงไปด้วยว่ารหัสสถานบริการนั้นคือรหัสอะไร
5.ถ้าเป็นผู้หญิง ต้องระบุด้วยว่าเกี่ยวข้องการตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรหรือไม่
เพียงเท่านี้การบันทึกข้อมูลการตายก็ถือว่าถูกต้อง ครบถ้วน แล้วครับ พบกับใหม่บทความถัดไปครับ




วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การตรวจสอบผลงานการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ

พอดีอาทิตย์นี้ผมได้ออกไปประเมินตำบลติดดาว กับอำเภอติดดาว ที่จังหวัดหนองคาย ก่อนอื่นก็ต้องชื่นชมในผลงานทั้งของคปสอ.และรพ.สต.ที่ทีมผมลงไปประเมินนะครับ  ทีมประเมินเห็นในความมุ่งมั่น และความพยายามที่จะทำให้ทั้งตำบล และอำเภอท่านผ่านติดดาวจากเขตครับ ขอเป็นกำลังใจ คราวนี้ก็วกกลับมาที่งานเราดีกว่า สิ่งที่ผมตกใจอย่างมากคือรพ.สต.แห่งหนึ่งผลงานการตรวจครรภ์ก่อน12อาทิตย์ผลงานเป็น0 ซึ่งจากการสอบถามก็พบว่ามีการตรวจสอบแต่แก้ไขไม่เป็น ผมก็เลยจะมาแชร์ไอเดียว่าทำอย่างไรผลงานการฝากครรภ์(ซึ่งเป็นผลงานที่มีเงินกลับคืนมามากที่สุดในQOF )ถึงจะได้ครบตามเกณฑ์ ตอนนี้เราคงต้องเริ่มจากเทมเพลทที่HDC เค๊าตั้งไว้ชัดเจนเลยทั้งตรวจครรภ์ก่อน12wksและฝากครรภ์ครบ5ครั้งคุณภาพ ว่าผลงานจะนับจากหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรแล้วเท่านั้น
ทริคง่ายๆในการบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์ให้ครบทั้ง2ข้อคือ เมื่อท่านคีย์คลอดเสร็จแล้ว ขอให้ท่านตามกลับไปตรวจสอบดูประวัติการฝากครรภ์ทั้งในสมุดสีชมพูและในjhcisว่าท่านได้ตกหล่นข้อมูลไปในช่วงใดหรือไม่ ถ้ามีขาดหล่นก็ให้บันทึกข้อมูลเข้าไปใหม่ 

ตามภาพเริ่มต้นจากการบันทึกการคลอดก่อน
เมื่อบันทึกคลอดเสร็จ(ตามภาพบน) เราก็ไปบันทึกข้อมูลเด็กเกิด
หลังจากบันทึกคลอดเสร็จ ท่านก็ไปจัดการเยี่ยมหลังคลอดอีกให้ครบ3ครั้งตามเกณฑ์ไป คราวนี้เราก็วกกลับมาที่เรื่องฝากครรภ์เราต่อ หลังจากที่ท่านบันทึกการคลอดเสร็จสิ้นแล้ว คราวนี้ก็ถึงคราวที่ท่านต้องตามไปตรวจสอบแล้วเคสนี้ท่านจะผ่านตามตัวชี้วัดทั้ง2ข้อนั้นหรือไม่ โดยเริ่มจากไปที่หน้าความครอบคลุมงานอนามัยแม่และเด็ก
ขอให้ท่านตรวจสอบประวัติการฝากครรภ์ว่าครบ5ครั้งหรือไม่ ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน12สัปดาห์หรือไม่ โดยดูข้อมูลจากสมุดฝากครรภ์(สีชมพู) กับโปรแกรมJHCIS ถ้าเกิดมีข้อมูลที่ตกหล่นไปท่านก็สามารถบันทึกความครอบคลุมเข้าไปได้ครับ จากนั้นท่านก็ส่งออกแฟ้ม ANC ใหม่โดนส่งตั้งแต่วันที่เคสนั้นๆมาฝากครรภ์ครั้งแรก จนถึงการฝากครรภ์ครั้งสุดท้าย เมื่อส่งข้อมูลออกมาแล้ว ก็ขอให้ท่านตามไปดูที่text fileที่ส่งออกมาด้วยว่าผลงานเคสนี้มีออกมาหรือไม่ ถ้ามีครบ ก็อัพข้อมูลข้อHDCไป เห็นมั๊ยครับ การบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์5ครั้ง และการฝากครรภ์ก่อน12อาทิตย์นั้นง่ายนิดเดียว 

ตรวจสอบแบบนี้ทุกเคสรับรองผลงานท่านไม่ตกหล่นแน่ๆ พบกันใหม่เรื่องถัดไปครับ
ขอบคุณแฟนๆบล๊อคของผมทุกท่านที่ยังอุตส่าห์ติดตามผม จะพยายามหาเรื่องราวของjhcisมาเขียนให้ทุกท่านได้อ่านครับ ขอบคุณครับ






วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การคีย์ข้อมูลในjhcisเพื่อให้ข้อมูลไปขึ้นที่hdcหมวดทันตกรรมข้อ9,10,11

วันนี้เรามาศึกษาวิธีการว่าจะคีย์ในjhcisอย่างไรเพื่อให้ผลงานไปขึ้นที่hdcข้อ9,10และ11
ขั้นตอนที่1 ดึงหญิงตั้งครรภ์เข้ามารับบริการ
ลงข้อมูลสัญญาณชีพให้ครบ อาการก็ระบุลงไปครับว่าตรวจช่องปากหญิงมีครรภ์และสอนแปรงฟัน
จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่มแฟ้ม dental
ที่หน้าแฟ้มdentalนี้ให้บันทึกข้อมูลฟันของหญิงมีครรภ์ให้ครบตามที่ตรวจฟันเจอ
ทริคก็คือที่ ผู้ให้บริการ ให้เปลี่ยนชื่อไปเป็นน้องทันตาภิบาลในรพ.สต.ของท่าน
การวินิจฉัยถ้านัดหญิงมีครรภ์มาตรวจฟันอย่างเดียวก็สามารถใช้Z01.2 เป็นprincipleได้เลย หรือถ้าบันทึกข้อมูลในวันที่หญิงตั้งครรภ์มาตรวจท้อง ก็ให้ใช้Zตรวจครรภ์เป็นprinciple ส่วนหัตถการต้องประกอบไปด้วยหัตถการรหัส 2330011,2338610,2338611
เพียงเท่านี้เมื่อท่านส่งออก43แฟ้มแล้วอัพขึ้นhdcผลงานของท่านข้อ9,10,11ก็จะมาแล้วครับ




วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สถานที่ฉีดวัคซีนมันหายไปได้งัยหว่า

วันนี้อยู่เวรครับก็เลยได้ถือโอกาสสะสางงานซะหน่อย พอดีน้องพยาบาลวิชาชีพเค๊าไปเยี่ยมหลังคลอดมา แล้วฝากให้บันทึกข้อมูลให้หน่อย ก็เลยต้องบันทึกข้อมูลให้เค๊าหน่อย ปรากฎว่าหลังจากบันทึกข้อมูลการคลอดเรียบร้อย บันทึกการเยี่ยมหลังคลอดเรียบร้อย ผมก็เลยไปคลิ๊กที่ปุ่มความครอบคลุมวัคซีน เพื่อลงความครอบคลุมของการรับวัคซีน ผมก็ลงข้อมูลไปตามปกติตามภาพเลยครับ
จากภาพจะเห็นว่าผมก็ลงข้อมูลไปครบสมบูรณ์แล้วนะ ทั้งวัคซีนที่รับ วันที่รับวัคซีน และสถานที่รับวัคซีน
หลายๆคนก็คงจะคิดว่าก็ลงบันทึกข้อมูลไปครบแล้วนี่ แล้วมันจะมีปัญหาอะไรหละ หลังจากผมบันทึกข้อมูลของน้องคนนี้ไปจนเสร็จสมบูรณ์ ผมก็เลยไปลองรันคิวรี่หาเด็กที่มีสถานที่ฉีดวัคซีนเป็นค่าว่าง ปรากฎว่าเจ้าเด็กที่ผมเพิ่งคีย์ไปมะกี้ฟ้องว่า BCG ไม่มีสถานที่ให้วัคซีน อ้าวแล้วเกิดอะไรขึ้นหละนี่ผมก็เพิ่งคีย์ไปทุกๆท่านก็คงจะเห็นตามภาพ แต่พอผมกลับมาบริการย้อนหลังแล้วไปดูที่ความครอบคลุมวัคซีนของเด็กคนนี้ คุณพระ สถานที่รับวัคซีนมันหายไปจริงๆ
ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ผมก็คงบอกทุกท่านไม่ได้อะครับ แต่อยากจะฝากทุกท่านไว้ว่า เมื่อเราบันทึกความครอบคลุมวัคซีนของเด็กเรียบร้อย เราควรจะย้อนกลับเข้าไปดูอีกรอบว่าที่เราบันทึกข้อมูลลงไป ได้มีข้อมูลอะไรหลุดหายไปมั๊ย และถ้ามีหลุดเราก็จัดการบันทึกข้อมูลอีกครั้งให้มันสมบูรณ์ซะ

เด่วเจออะไรแปลกๆอีกจะนำมาเขียนให้อ่านใหม่นะครับ สำหรับตอนนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านนะครับที่ติดตามบล๊อคของผมมาโดยตลอด จะพยายามหาอะไรเกี่ยวกับjhcisมาเขียนให้ทุกท่านได้อ่านครับ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การลบและการเพิ่มสถานะนักเรียน

เนื่องจากปีงบประมาณ2559 จะได้มีการนำแฟ้มที่ชื่อstudentมาใช้ประโยชน์ การบันทึกข้อมูลนักเรียนในโปรแกรมjhcis จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ผิดพลาดไม่ได้เลย สำหรับรพ.สต.ใดที่มีการปรับปรุงข้อมูลนักเรียนมาโดยตลอดก่อนไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ก็มีหลายรพ.สต.ที่ไม่ค่อยได้มาปรับปรุงข้อมูลนักเรียน ทำให้ข้อมูลนักเรียนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มจัดการสถานะนนักเรียนกันเราควรมาตรวจสอบก่อนว่า ตอนนี้ข้อมูลนักเรียนของเราถูกต้องเป๊เวอร์หรือยัง ตรวจสอบได้จากเมนูรายงาน >>รายการนักเรียนและโภชนาการ>>จำนวนนักเรียนแยกตามโรงเรียน ให้เลือกเป็นปีการศึกษาที่1 2558
จากนั้นให้ทำการตรวจสอบจำนวนนักเรียนว่าตรงกับจำนวนจริงที่ท่านได้รับข้อมูลมาจากโรงเรียนหรือไม่
เมื่อท่านตรวจสอบแล้วข้อมูลตรงตามที่ท่านได้มาก็ถือว่าจบ แต่ผมเดาว่าคงจะมีหลายที่เหมือนกันที่ข้อมูลนักเรียนไม่ตรงกับข้อมูลนักเรียนที่ท่านได้มาจากโรงเรียน ผมเสนอว่าถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องผมแนะนำให้ท่านทำการลบสถานะนักเรียนที่มีในเครื่องท่านทิ้งให้หมดทุกคนเลย จากนั้นท่านก็ค่อยๆเพิ่มข้อมูลสถานะเข้าไปใหม่ ทำแบบนี้ท่านอาจจะเหนื่อยนิดหน่อยแต่เมื่อแลกกับการที่ท่านได้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ผมก็ยังว่ามันคุ้มค่าความเหนื่อยอยู่นะครับ สำหรับขาเก๋าที่ใช้jhcisมานานการจัดการเรื่องนักเรียนนี้คงจะเป็นเรื่องหมูๆสำหรับท่านนะครับ ส่วนน้องใหม่ที่เพิ่งใช้jhcisก็คงจะงงๆงวยๆ พอสมควร งั้นเรามาเริ่มจัดการข้อมูลนักเรียนกันเลยดีกว่า เข้าjhcisด้วยlog in ที่ชื่อStudent_Updateครับ
จากนั้นไปที่เมนู ข้อมูลพื้นฐาน >>>นักเรียน สถานประกอบการ ชมรม
หลายท่านจะเข้ามาเมนูทำไมอะ ทำไมไม่เข้าที่เมนูเด็กอายุ1-18ปี(ข้อมูลนักเรียน) อ๋อผมบอกให้ก็ได้สาเหตุที่มาที่เมนูนี้เพื่อมาตรวจสอบดูว่า โรงเรียนที่ท่านได้สร้างไว้มันถูกต้องหรือไม่ โรงเรียนที่ท่านสร้างไว้จะต้องเป็นเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของท่านเท่านั้น โรงเรียนนอกเขตไม่ต้องไปเพิ่มเข้ามา ถ้าเพิ่มไว้ผมก็ยังแนะนำว่าให้ลบออกดีกว่า นักเรียนถ้ารพ.สต.ทุกแห่งบันทึกข้อมูลนักเรียนในเขตรับผิดชอบของตนให้ครบ เมื่อข้อมูลถูกส่งไปที่HDC ข้อมูลก็ครบเองหละครับ  นักเรียนไม่มีคำว่านอกเขตหรือในเขตนักเรียนมีแต่คำว่าโรงเรียนเท่านั้น สมมุติว่ามีเด็กนอกเขตพื้นที่ตำบลของท่านมาเรียนในโรงเรียนในเขตของท่าน ท่านต้องเพิ่มเด็กคนนี้ที่เมนูเพิ่มประชากรก่อน จากนั้นก็ค่อยเอาเด็กคนนี้เข้าโรงเรียนในเขตท่านและชั้นเรียนต่อไป กรณีเดียวกันเด็กในตำบลท่านไปเรียนที่ตำบลอื่น ท่านก็ไม่จำเป็นต้องไปเพิ่มโรงเรียนนอกเขตและเอาเด็กท่านไปเพิ่มเข้าโรงเรียนนั้น  ปล่อยให้พื้นที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนนั้นจัดการไป (เขียนไปเขียนมาก็ชักจะเริ่มงงๆแล้ว  ไม่งงนะครับ) เรามาตรวจสอบดูดีกว่าว่าเราได้สร้างโรงเรียนไว้ในjhcisเราไว้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
ตามข้อมูลที่ผมแสดงในเขตตำบลที่ผมรับผิดชอบมีโรงเรียนทั้งหมด3แห่ง ก็แสดงว่าข้อมูลนักเรียนที่ผมสร้างไว้ครบถ้วน แต่ถ้าตรวจสอบแล้วโรงเรียนมันเกินจากที่เราสร้างไว้(เจ้าหน้าที่คนที่รับผิดชอบก่อนหน้านี้เค๊าได้สร้างไว้ให้ก่อนเค๊าย้ายไป)น้องใหม่ที่เพิ่งมารับงานข้อมูลก็ต้องบอกว่า ตายหละหว่าจะลบมันยังงัยหละเนี่ย ยังไม่ตายหรอกครับ ง่ายนิดเดียวการลบทั้งโรงเรียนและลบสถานะนักเรียน แค่คลิ๊กขวาแล้วก็ยืนยันลบสถานะมันก็เสร็จแล้วครับ  สมมุติอีกแล้ว สมมุติว่ามีโรงเรียนที่เกินมาเราจะจัดการยังงัย ในกรณีที่ท่านได้ไปสร้างโรงเรียนนอกเขตไว้ก็ให้ท่านไปเลือกหมู่บ้านนอกเขตขึ้นมา พอเลือกหมู่บ้าน โรงเรียนที่เราสร้างไว้ในบ้านนั้นก็จะปรากฎขึ้นมา
สมมุติว่าหมู่บ้านและโรงเรียนที่ปรากฎตามภาพเป็นโรงเรียนที่ท่านได้สร้างขึ้นมาผิดและต้องการลบทั้งโรงเรียนและนักเรียนออกหมดเลยท่านจะทำอย่างไร เหมือนที่ผมบอกครับง่ายนิดเดียวแค่คลิ๊กขวา
ให้ท่านคลิ๊กขวาแล้วเลือกที่ ลบโรงเรียนและนักเรียนแล้วจะข้อความขึ้นมาแจ้งตามภาพ
ให้ท่านเลือกที่กรอบสีแดง okยืนยันการลบโรงเรียนและลบข้อมูลนักเรียนโรงเรียนนี้ เมื่อท่านกดOK ก็จะมีข้อความขึ้นมาเตือนอีกครั้ง ก็ให้ท่านกดok ต่อไปจนลบโรงเรียนและนักเรียนในโรงเรียนนี้ เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถลบโรงเรียนนอกเขตพร้อมนักเรียนที่เจ้าหน้าที่คนก่อนเค๊าสร้างไว้ให้ท่านเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเรายกเลิกสถานะนักเรียนกันครับ คงมีพี่ๆน้องๆเราหลายคนที่ไปลบสถานะนักเรียนด้วยวิธีนี้ใช่มั๊ยเอ่ย คือไปที่เมนูเด็กอายุ1-18ปี(ข้อมูลนักเรียน)แล้วเลือกข้อมูลตามภาพ
จากนั้นก็คลิ๊กขวาแล้วเลือกลบทีละคนใช่มั๊ยเอ่ย
จริงๆแล้วก็ลบสถานะนักเรียนด้วยวิธีนี้ได้เหมือนกันนะครับ แต่ถ้าท่านมีนักเรียนที่ต้องจัดการซั๊ก3000คน ท่านมิต้องมานั่งคลิ๊กไปอีก3000ครั้ง เหรอ ผมมีอีกวิธีมาเสนอครับ ก็เป็นวิธีเดียวกันกับการลบโรงเรียนและนักเรียนที่ท่านดันเอาเข้าไว้ที่โรงเรียนนอกเขตนั่นหละครับ ขั้นตอนเริ่มที่ท่านจะดำเนินการกับโรงเรียนใหนก็ไปเลือกบ้านนั้นขึ้นมา พอเลือกบ้านขึ้นมาโรงเรียนที่เราสร้างไว้ก็จะขึ้นมาตามครับ
จากนั้นท่านดำเนินการคลิ๊กขวาแล้วลบโรงเรียนและนักเรียนเลยครับ(เหมือนกันกับลบโรงเรียนนอกเขต
ออกอะครับ)
ท่านก็กดok ไปจนลบโรงเรียนและนักเรียนในโรงเรียนนี้หมดไป เห็นมั๊ยครับว่ามันเร็วกว่าเยอะสมมุติอีกหละ ว่าโรงเรียนนี้มีนักเรียน500คน ถ้าทำตามวิธีก่อนหน้านั้นท่านก็ต้องคลิ๊กลบไป500ครั้งหละ แต่ถ้าทำตามที่ผมแนะนำท่านจะได้กดไม่เกิน5ครั้ง ท่านก็สามารถลบทั้งโรงเรียนและลบสถานะนักเรียนออกได้เรียบร้อย แล้วก็มีคำถามมาต่อว่าอ๊าวอาจารย์ลบโรงเรียนในเขตหนูทิ้งแล้ว หนูจะเอาโรงเรียนจากใหนมาให้นักเรียนหนูอยู่หละ นั่นสิน๊อ555 ไม่ยากครับเราลบโรงเรียนทิ้งไปแล้ว เราก็สร้างโรเรียนขึ้นมาใหม่ครับสร้างโรงเรียนในjhcisมันไม่ได้ยากเหมือนสร้างโรงเรียนจริงๆหรอกครับ เมื่อท่านลบโรงเรียนและลบสถานะนักเรียนของโรงเรียนในเขตเสร็จแล้ว จากนั้นเราก็มาสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่เพื่อจะได้นำนักเรียนเข้าชั้นเรียนต่อไปครับ เริ่มจากย้อนกลับไปที่เมนูโรงเรียน สถานประกอบการ ชมรมครับ
จากนั้นก็ไปที่หมู่บ้านที่มีโรงเรียนตั้งอยู่แล้ว(โรงเรียนที่เราลบโรงเรียนและลบสถานะนักเรียนออก)
เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่หลังจากที่ท่านได้ลบโรงเรียนและสถานะนักเรียนในโรงเรียนนั้นออกไป ต่อมาเราก็มาเอานักเรียนเข้าชั้นเรียนกันครับ เริ่มต้่นไปที่หน้าข้อมูลพื้นฐานครับ
บันทึกข้อมูลตามกรอบสีแดงให้ครบครับ เลือกโรงเรียน ชั้นเรียน ห้องเรียน ปีการศึกษา2558 กดบันทึก เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นแล้วครับสำหรับการบันทึกสถานะนักเรียน ต่อไปกรณีเด็กนอกเขตมาเรียนในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของเราต้องจัดการอย่างไร เริ่มต้นจากถ้าเด็กคนนี้ยังไม่มีประวะติในฐานข้อมูลท่าน ท่านต้องทำการเพิ่มข้อมูลประชากรของเด็กคนนี้ก่อน
จากนั้นก็เพิ่มสถานะนักเรียนของเด็กคนนี้เข้าไปครับ
เพียงเท่านี้หละครับ การลบโรงเรียน ลบสถานะนักเรียนและเพิ่มสถานะนักเรียน ผมหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆที่เพิ่งมารับงานข้อมูลใหม่นะครับ ขอบคุณน้องคนที่ถามเข้ามาเมื่อวานนะครับว่าหนูจะทำอย่างไรให้ข้อมูลเด็กนักเรียน และโรงเรียนของหนูถูกต้องครบถ้วน คงขอจบบทความเพียงเท่านี้ครับ หากท่านอยากทราบเรื่องการบันทึกข้อมูลในjhcisเรื่องใดก็แจ้งมาได้นะครับที่บล๊อคผมหรือที่เฟสบุ๊ค หรือไลน์ของผมก็ได้นะครับ
facebook=https://www.facebook.com/rambo.jhics
line id=rambo.jhcis
ขอขอบคุณและสวัสดีครับ หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขกับการใช้โปรแกรมjhcis




















วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การแก้ไขกรณีหมู่บ้านนอกเขตหาย

สวัสดีครับหลังจากที่ผมได้ห่างหายการอัพข้อมูลในบล๊อคผมซะตั้งนาน พอดีมันมีงานหลายอย่างเข้ามาก็เลยไม่ได้มาอัพเดทข้อมูลอะไรเกี่ยวกับjhcis พอดีส่วนใหญ่ช่วงนี้โพสแต่ที่ทางเฟสบุ๊คครับ วันนี้ผมขออธิบายซั๊กเรื่องดีกว่า ตอนนี้ไม่ไหวจะรีโมทไปแก้ไขข้อมูลให้แล้ว ในกรณีที่หมู่บ้านนอกเขตหายไปกลายมาเป็นหมู่บ้านในเขตหมด การแก้ไขก็ไม่ได้ยากมากมายอะไรหรอกครับ ทำตามขั้นตอนนี้นะครับ
1. ท่านต้องไปหาให้ได้ก่อนว่าคนนอกเขตของท่านมีhcode เป็นเท่าไหร่ ง่ายสุดตอนนี้ก็เปิดnavicatขึ้นมาแล้วไปที่คิวรี่ เลือก new query จากนั้นพิมพ์คำสั่งนี้เข้าไปครับ


SELECT pid,hcode
FROM person
WHERE mumoi='0' OR '00';
เท่านี้ท่านก็จะได้ว่าคนนอกเขตของท่านมีhcodeเท่ากับเท่าไหร่
2. เมื่อท่านได้hcodeมาแล้ว ก็ให้เปิดตารางที่ชื่อว่า house ขึ้นมา เลื่อนหาhcodeที่ท่านได้จากข้อ1 
 สมมุตินะครับว่าได้hcode=1 มา จากนั้นให้ท่านไปทำการเปลี่ยนเลข2หลักสุดท้ายที่ฟิลด์villcode โดยแก้ไขเลข2หลักสุดท้ายเป็น "00"
เพียงเท่านี้ท่านก็ได้หมู่บ้านนอกเขตของท่านกลับคืนมาแล้วครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขการใช้JHCISครับ 
พบกันใหม่บทความต่อไปครับ จะพยายามมาอัพเดทข้อมูลให้ทุกสัปดาห์นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกข้อมูลโภชนาการ0-60เดือน



คู่มือการบันทึกโภชนาการเด็ก0-60 เดือน
Jhcis version ที่ใช้จัดทำคู่มือฉบับนี้คือ 1 กรกฎาคม 2557
เขียนและเรียบเรียง โดย เจตพล  เกษแก้ว
แก้ไข ครั้งที่ 2 11/07/2557
          การบันทึกข้อมูลงานโภชนาการสำหรับเด็กอายุ 0-60 เดือน ปกติจะทำการบันทึกกันในเดือน ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม (แต่ในปีงบประมาณ2558นี้ รายละเอียดยังไม่ได้แจ้งออกมา ฉะนั้นเราเคยทำอย่างไรก็ควรทำอย่างนั้นไปก่อนนะครับ จนกว่าจะมีหนังสือหรือเอกสารให้เปลี่ยนแปลง) การบันทึกข้อมูลในjhcis ก็สามารถบันทึกได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล การบันทึกข้อมูลเริ่มต้นดังนี้
1.       Log in เข้าjhcisไปด้วย userที่สามารถให้บริการได้
2.       คลิ๊กเข้าไปที่เมนู เด็ก0-227 เดือน ชั่งน้ำหนัก วัคซีน ตรวจพัฒนาการ
เมื่อคลิ๊กเข้าไปได้แล้วให้คลิ๊กที่เลือกที่ หมู่บ้าน  วันที่ตรวจ และติ๊กเครื่องหมายถูกหน้ากล่องข้อความ แรกเกิด-5ปี(60เดือน)
การเลือกเด็กกลุ่มเป้าหมายแนะนำให้เลือกเป็น 0,1,3
คราวนี้ก็มาการบันทึกข้อมูลโภชนาการกันแล้วนะครับ
วิธีที่ 1 ให้นำเม้าท์ไปคลิ๊กที่ชื่อเป้าหมายแล้วคลิ๊กขวา เลือกที่เมนู บันทึกการตรวจโภชนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เมื่อคลิ๊กเลือกจะปรากฏกล่องข้อความตามภาพ
ให้กดที่ปุ่ม yes จะปรากฏตามภาพ
ให้บันทึกข้อมูล น้ำหนัก โดยให้บันทึกเป็นกิโลกรัม และบันทึกส่วนสูง โดยให้บันทึกเป็นเซนติเมตร จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม บันทึก
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าการบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็กคนนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ต่อไปจะเป็นพิสูจน์ว่า เมื่อบันทึกด้วยวิธีการนี้แล้ว ผลงานจะถูกส่งออกมาหรือไม่ ดูกันต่อไปครับ เมื่อเราไปที่เมนูรายงานเพื่อส่งออก21แฟ้ม เรียบร้อยเมื่อมาตรวจสอบที่text fileที่แฟ้มnutri จะพบข้อมูลดังนี้

ซึ่งก็สรุปได้ว่าถ้าบันทึกข้อมูลตามวิธีการข้างต้น เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลถูกส่งออกแน่นอน
วิธีที่ 2 การบันทึกข้อมูลโภชนาการผ่านเมนู บันทึกโภชนาการของเด็กทุกคนตามรายชื่อที่ปรากฏ
เมื่อคลิ๊กเข้าได้ตามเมนู เสร็จก็ให้บันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง ตามภาพ
สมมุติว่าบันทึกข้อมูลเสร็จทุกคนแล้วก็ให้คลิ๊กปิดกากบาทที่แดงออกไป
คราวนี้เรามาตามไปดูว่า2 คนที่เราบันทึกไปเมื่อกี้ เมื่อส่งออก21แฟ้มจะมีข้อมูลออกมาหรือไม่ สังเกตนะครับว่าตอนที่ผมส่งออก21แฟ้ม ผมไม่ได้ติ๊กส่งออกโภชนาการนะครับ
เมื่อไปตรวจสอบที่ text file แฟ้ม nutri จะเห็นว่ามีข้อมูลถูกส่งออกมา ดังนั้น การบันทึกข้อมูลโภชนาการของเด็ก0-60 เดือน ตามทั้ง 2 วิธีถ้าส่ง21แฟ้ม จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน และการส่งออก21 แฟ้มก็ไม่จำเป็นต้องไปติ๊กที่ส่งออกโภชนาการ 
          สุดท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่า การบันทึกข้อมูลไม่มีความจำเป็นต้องไปบันทึกข้อมูลอะไรที่เยอะแยะจนทำให้คนคีย์เกิดความเบื่อหน่าย จนไม่อยากจะคีย์ เช่น การบันทึกภาวะโภชนาการ บางท่านแนะนำให้คีย์ตรวจฟันเด็กไปด้วย คีย์เยี่ยมบ้านไปด้วย ในความเป็นจริงขณะที่เราเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกปฏิบัติงานในหมู่บ้านเช่นการชั่งน้ำหนักเด็กเราสามารถตรวจฟันเด็กไปพร้อมได้ด้วยครับ แต่เราไม่สามารถตามไปเยี่ยมบ้านเด็กที่มาชั่งน้ำหนักกับเราจนครบทุกคนได้แน่ๆในหนึ่งวัน ดังนั้นการบันทึกข้อมูลควรบันทึกไปตามความเป็นจริงที่เราไปปฏิบัติมา ทำอะไรก็บันทึกไปเท่านั้นครับ  
          ขอบคุณครับพบกันเรื่องต่อไป อยากทราบวิธีการคีย์เรื่องใดเสนอแนะมาได้ที่  
                  https://www.facebook.com/groups/689473301121036/
                                                                                RAMBO_ZAA
                                                                                  11/07/2557