วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำนำหน้าชื่อที่ขึ้นต้นด้วย00X

ก่อนอื่นผมต้องขออภัยด้วยสำหรับหลายๆท่านที่ได้ติดบล็อกของผมมาโดยตลอด วันนี้ผมเพิ่งได้รับความกระจ่างจากทั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูลของสนย.และอาจารย์ของพวกเราอาจารย์สัมฤทธิ์ เรื่องคำนำหน้าชื่อที่จำเป็นต้องเป็น00X แทนที่จะเป็นเด็กชาย เด็กหญิง หรืออื่นๆเรื่องของเรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ ทางสนย.ต้องการคำนำหน้าชื่อเป็น 001 002 003 004 005 ฯลฯ แต่ผู้ใช้ของjhcisทั้งหลายกลับงงหรือไม่เข้าใจกับคำนำหน้าชื่อที่มันต้อง00x หลายๆคนอันนี้รวมถึงผมด้วย ก็เลยไปจัดการเปลี่ยนซะด้วยคำสั่ง mysql ที่หลายท่านคงได้ใช้ไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือเวลาที่ท่านเข้าไปที่เมนูประชากรแล้วดึงคนขึ้นมาปรับปรุงข้อมูลสิ่งที่ปรากฎคือคำนำหน้ามันหายไปต้องมาคลิ๊กใส่ใหม่ทุกครั้ง
สาเหตุที่เป็นแบบนั้น เพราะที่หน้าข้อมูลพื้นฐานประชากรมันจะแสดงค่าเป็น00X แล้วมันก็จะลิ้งค์ไปที่ตารางctitle จากนั้นที่ตารางctitle จะแปลค่าจาก00X มาแสดงที่หน้าข้อมูลพื้นฐานประชากรเป็น เด็กชาย เด็กหญิง ฯลฯ สำหรับท่านที่ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก00Xเป็นเด็กชาย ฯลฯ  แล้วนั้นขอให้ปฏิบัติดังนี้
log in เข้า jhcis ด้วย adm แล้วไปที่ ระบบข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
จากนั้นไปที่เมนูเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเดิม(free  text)เป็นรหัสคำหน้าชื่อ
เท่านี้jhcis ของท่านก็กลับมาเป็นปกติ สามารถส่งมูลข้อไปได้ทั้ง สนย.และสปสช.ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การคีย์ข้อมูลในJHCISเพื่อให้ออกที่แฟ้ม 19 20 21

การคีย์ข้อมูลในJHCISเพื่อให้ออกที่แฟ้ม 19 20 21
หลายๆท่านอาจกำลังสับสนว่าจะคีย์ข้อมูลอย่างไรในJHCIS ให้ปฏิบัติตามนี้นะครับ

1. แฟ้ม ncdscreen.txt => บันทึกที่เมนู .ระบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
2. แฟ้ม chronicfu.txt => บันทึกเพิ่มเติม ที่เมนู บริการ / คลิ๊กที่ปุ่มฯ NCD Screen & FU
3. แฟ้ม labfu.txt => บันทึกเพิ่มเติม ที่เมนู บริการ ดังนี้
3.1 คลิ้กที่ปุ่ม นํ้าตาล (ได้รหัส Lab 01 - 04) ดังนี้
01=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากหลอดเลือดดำ (FBS) หลังอดอาหาร
02=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากหลอดเลือดดำ (FBS) โดยไม่อดอาหาร
03=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากเส้นเลือดฝอย (DTX) หลังอดอาหาร
04=ตรวจนํ้าตาลในเลือด จากเส้นเลือดฝอย (DTX) โดยไม่อดอาหาร
3.2 ที่แทร็บตรวจมะเร็ง & บริการอื่น / คลิ้กที่ปุ่มฯ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น …(ได้รหัส Lab 05 – 13 )
ที่เมนูบริการ คลิ้กเลือกแทร็บ ตรวจมะเร็ง & บริการอื่น / แล้วคลิ้กที่ปุ่มฯ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น (Trigriceride - ….) โดยข้อมูลจะบันทึกลงตาราง visitlabchcyhembmsse และได้ข้อมูลออกมาในแฟ้ม LABFU.txt ในคอลัมภ์ LABTEST ( รหัส 05 - 13) โดยรหัส 05 – 13 นี้จะอยู่ในกลุ่ม Lab Chemeclinic ( กลุ่ม Chemeclinic(เคมีคลีนิค) โดยรหัสแล็ป ขึ้นต้นด้วย CH ) ดังนี้
05 – CH99 -> HbA1c
06 – CH25 -> Triglyceride
07 – CH07 -> Total Cholesterol
08 – CH14 -> HDL Cholesterol
09 – CH17 -> LDL Cholesterol
10 – CH04 -> BUN
11 – CH09 -> Creatinine
12 – Cha1 -> albumin ในปัสสาวะ(Urine Protein)
13 – CHc1 -> Creatinine ในปัสสาวะ
โดยข้อมูลจะบันทึกลงตาราง visitlabsugarblood และได้ข้อมูลออกมาในแฟ้ม LABFU.txt ในคอลัมภ์ LABTEST
เครดิต: อาจารย์ไชยาภรณ์  ใจอู่  สสจ.นนทบุรี ที่กรุณานำมาเผยแพร่ 

ป้องกันเงินหายได้อย่างไรเมื่อท่านต้องจ่ายยาสมุนไพร

หายๆแห่งประสบปัญหาจ่ายยาสมุนไพรไปตั้งเยอะ ทำไมมันถึงได้เงินจัดสรรมาน้อยจัง ทั้งๆที่ก็จ่ายยาสมุนไพรไปตั้งเยอะ  และสปสช.เอาข้อมูลมาจากใหนมาจัดสรร ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เงินในส่วนของการจ่ายยาสมุนไพรของเราหายไปโดยไร้ร่องรอย ให้มาดำเนินการดังนี้
1.กรณีที่มีแพทย์แผนไทย ที่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ก็ให้ใส่เลขใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยลงไป(คนส่วนน้อยของประเทศ)
2.กรณีที่ไม่มีแพทย์แผนไทย มีแต่เจ้าหน้าที่ทั่วไปเช่น พยาบาลวิชาชีพ(จะNP หรือRNก็แล้วแต่)
 นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข รวมถึงผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้คือคนส่วนใหญ่ในวงการสาธารณสุขและคนกลุ่มนี้ก็ไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ให้เอาเลขบัตรประชาชน13หลักใส่แทนในช่องใบวิชาชีพแผนไทย
login เข้าJHCIS ไปด้วย adm แล้วไปที่ ระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แล้วไปที่ผู้ใช้งานโปรแกรม(user)&แพทย์แผนไทย ที่ฟิลด์สุดท้ายเลขใบวิชาชีพแผนไทย ให้ใส่เลขที่บัตรประชาชน13หลักของเจ้าหน้าที่แต่ละคนเข้าไป เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วแถมวินิจฉัยโรคแพทย์แผนไทยได้ด้วย
คราวนี้ก็คำถามต่อไป  ใครหละที่จ่ายยาสมุนไพรได้ คำตอบคือใครก็จ่ายยาสมุนไพรได้ครับ จากการชี้แจงของสปสช.ในระยะแรกให้ใส่เลขที่บัตรประชาชนเข้าไปก่อน จากนั้นสปสช.เค๊าจะไปวิเคราะห์ดูว่ามียาสมุนไพรที่จ่ายโดยผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยกี่คน และจ่ายยาสมุนไพรโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยกี่คน
        ดังนั้นเราต้องติดตามสปสช.อย่างตาไม่กระพริบว่า หลังจากที่สปสช.ได้บอร์ดบริหารใหม่แล้ว แต่ละกองทุนกองทุนใหนบ้างมันจะเปลี่ยนไป
  

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การคีย์แพทย์แผนไทย

พอดีวันนี้คนที่คุ้นเคยจากสปสช.เขต โทรศัพท์มาแจ้งเรื่องการคีย์ข้อมูลแพทย์ไทยในโปรแกรมjhcis เพื่อรองรับการจ่ายเงินในกองทุนแพทย์แผนไทยปี 2555 ท่านได้แจ้งว่าข้อมูลแพทย์แผนไทยในปี  2555 ให้คีย์ออนไลน์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึง ธันวาคม 2554 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 สปสช.จะเอาข้อมูลมาจาก 21 แฟ้ม แล้วพวกเราหน่วยบริการทั้งหลายต้องอย่างไรบ้างหละ
1.ทุกสถานบริการที่เปิดนวด ต้องไปลงทะเบียนผู้ให้บริการนวดที่เวปสปสช.(เวปเดิมที่เคยคีย์ออนไลน์นั่นหละครับ)เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการmap ผู้นวดกับ21แฟ้ม
2.ในjhcis ที่เมนูuser เราต้องไปเพิ่มรายชื่อผู้ให้บริการนวดไว้
3.ในส่วนของเลขที่ใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ถ้าท่านใดมีก็ใส่ไปให้เรียบร้อย ส่วนท่านใดที่ไม่มีเลขประกอบวิชาชีพ ตอนนี้ข้อแนะนำที่ผมแนะนำให้ได้คือใส่เลขอะไรก็ได้ไปก่อน(เพื่อให้ท่านสามารถวินิจฉัยโรครหัสU ได้
4.เมื่อมีผู้มารับบริการนวดในรพ.สต. ให้วินิจฉัยโรคเป็น2ตัว คือมีรหัสM เป็น principle และมีรหัสUเป็น co-morbidity เช่น นาง ก.มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อหลายตำแหน่ง ตรวจแล้วแนะนำให้รักษาด้วยการนวด
วินิจฉัยโรค= M79.10 principle และ  U75.05 co-morbidity
จ่ายยา =9997811การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสำนักที่ไม่ระบุตำแหน่ง(ไม่ได้fixตายตัวรหัสนี้รหัสเดียว หัตถการก็จ่ายตามจริงตามตำแหน่งที่นวดครับ)
5.ในการคีย์ผู้ที่มารับบริการนวดในJHCISต้องใช้ login ของผู้ที่ลงทะเบียนนวดกับสปสช.ไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ log in ของผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนผู้นวดกับสปสช. ไปคีย์บริการนวดเด็ดขาด
ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านที่ได้ติดตามblogของผมมาโดยตลอด ที่ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้โพสบทความให้อ่าน พอดีช่วงนี้งานเข้าผมเยอะมากครับ เคลียร์ทุกวันงานก็ยังออกไม่หมดซะที