วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แก้ปัญหาerrorที่แฟ้มPPและMCH

เนื่องจากขณะนี้หลายๆจังหวัดได้ให้ทุกหน่วยบริการสาธารณสุขส่งออก21แฟ้ม
อาจจะทุกวันหรือทุกสัปดาห์(สาเหตุที่จังหวัดต้องให้ส่งแบบนี้เพื่อเป็นการลดขนาดของฐานข้อมูล
ทำให้ฐานข้อมูลมันเล็กลง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการส่งข้อมูลไปที่สปสช.)
ปัญหามันก็เลยมีอยู่ว่า เมื่อเราบันทึกข้อมูลในแฟ้มPPและMCHเมื่อไหร่ มันมักจะerror
เพราะข้อมูลที่เราคีย์เข้าไปยังมีไม่ครบ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ท่านตกใจกับerror
ผมจึงขอเสนอแนะว่าให้มาคีย์ข้อมูลในแฟ้มPPและMCHเมื่อมีข้อมูลครบ2ครั้งแล้วเท่านั้น
ซึ่งขณะนี้หลายๆท่านก็ได้ทำตารางควบคุมวันที่ที่จะต้องคีย์ข้อมูล2แฟ้มนี้อยู่แล้ว
ข้อควรจำ คีย์ข้อมูลแฟ้มPPและMCH เมื่อมีข้อมูลครบ2ครั้งแล้วเท่านั้น 


การส่งข้อมูล21แฟ้มอย่างไรไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน

สืบเนื่องจากขณะนี้หลายๆจังหวัด ได้ให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่งส่งข้อมูล21แฟ้ม
โดยมีทั้งการส่งแบบทุกวัน ทุกแบบส่งสัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ จะแบบใหนก็ตาม
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการส่งข้อมูลซ้ำซ้อน ในการส่งออก21แฟ้มแต่ละครั้ง
ขอให้จำให้ได้ว่า(หรือบันทึกไว้ว่า)ได้ส่งออกข้อมูล21แฟ้มถึงวันที่เท่าไหร่แล้ว
เพราะถ้าท่านลืมหรือบังเอิญส่งข้อมูลชุดที่ท่านเคยส่งเข้าไปแล้ว มันก็จะเกิดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน
ตัวอย่าง การส่งข้อมูลทุกสัปดาห์เช่น ครั้งที่ส่งระหว่างวันที่ 1-7
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 8-14
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 15-22
              ครั้งต่อไปก็ส่งระหว่างวันที่ 23-30 เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การคีย์เยี่ยมหลังคลอด

ทำไมมันเป็นปัญหากันจัง ทั้งๆที่มันก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่พวกเรากลับทำให้มันเป็นเรื่องยาก
ปัญหานี้จะไม่เกิดเลย ถ้าท่านไปอ่านกติกาการตรวจแฟ้มPP และMCHของสปสช.มา
สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาไปอ่านกฎ กติกา มารยาท ในการคีย์ ผมจึงขอสรุปง่ายๆให้ดังนี้
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 1 คุณจะเยี่ยมวันใหนแล้วแต่คุณ ขอแค่ให้คีย์ก่อนวันที่14
หลังจากวันที่เด็กเกิดแล้วครับ (คือตั้งแต่วันที่เด็กเกิดถึงวันที่14)
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 2 สปสช.เขียนกติกาไว้ชัดเจนว่า ต้องเยี่ยมครั้งที่2ห่างจาก
วันที่เด็กเกิด16วัน (โดยสรุปก็คีย์เยี่ยมครั้งที่2คีย์ได้หลังจากเด็กเกิด 16วันจนถึง29วัน
การเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 3ก็ตั้งแต่วันที่ 30ไปจนถึวันที่ 45ครับ
แต่โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรที่จะสามารถคีย์เยี่ยมหลังคลอดให้ได้2ครั้งในเดือน
สำหรับบางท่านหรือหลายๆท่านก็ไปงงหรือไปยึดกับสูตรในการเยี่ยมจนเกินไป
ผมก็เลยขอแนะนำว่าให้ปรับไปตามกฎ กติกา ด้านบนที่ผมได้เขียนไว้ เช่น
สมมุติว่าเด็กเกิดวันที่ 15 ตุลาคม 2554 จะคีย์อย่างไร เริ่มแรกก็ให้ไปคีย์คลอดก่อน
ในวันที่ 15 ตุลาคม 2554ให้เรียบร้อย จากนั้นก็คีย์เยี่ยมหลังคลอดครั้งที่1ในวันที่ 20 ตุลาคม2554
ส่วนการคีย์เยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 2ก็เป็นวันที่ 31 ตุลาคม 2554 ก็ได้ หรือหลังจากนี้ก็ได้
ส่วนการคีย์เยี่ยมครั้งที่ 3ต้องห่างจากวันเกิด 43 วัน

การดูแลลูกครั้งที่ 1  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 1 - 15 วันหลังคลอด 
การดูแลลูกครั้งที่ 2  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 16 - 42 วันหลังคลอด 
การดูแลลูกครั้งที่ 3  หมายถึง การดูแลลูกตั้งแต่ 43 วันหลังคลอด 
ที่มาจาก สนย


แล้วถ้าเด็กที่เกิดหลังจากวันที่16 ของแต่ละเดือนหละทำอย่างไร ก็ยกยอดไปคีย์คลอด
และเยี่ยมหลังคลอดในเดือนถัดไปครับ
ดังนั้นการคีย์เยี่ยมหลังคลอดจะไม่เป็นปัญหาต่อไป ถ้าท่านทำตามกฎ กติกาที่สปสช.เขียนไว้
ปรับเปลี่ยนวันในการเยี่ยมให้ลงตัว 
โดยจำไว้ว่าเยี่ยมครั้งที่2ต้องห่างจากวันที่เด็กเกิดอย่างน้อย16วัน แต่ไม่เกิน30วัน





วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาอัพเจเวอร์ชั่น1ตุลา แล้วเพิ่มประชากรไม่ได้

ครับนี่ก็เป็นอีกคำถามนึงที่ผมได้รับมามากในช่วงนี้ครับ บอกว่าพออัพเดทJHCIS
เป็นเวอร์ชั่น1 ตุลาคม 2554 แล้วมันไม่สามารถเพิ่มคนทั้งในเขตและนอกเขตได้
ถ้าเจอปัญหานี้ไม่ต้องตกใจนะครับ มันเกิดจากว่าปรับโครงสร้างเหมือนจะสำเร็จ
แต่ไม่สำเร็จครับ วิธีแก้ไขก็ให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลใหม่อีกครั้งนะครับ
ระหว่างปรับโครงสร้างฐานข้อมูล ขอความกรุณานั่งเฝ้าไปด้วยนะครับ ประมาณนาทีที่
20-25ถ้าผมจำไม่ผิดมันจะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือน ให้ตอบตกลง รออีกแปล๊บ
ก็เป็นอันว่ากระบวนการปรับโครงสร้างฐานข้อมูลเสร็จสมบูรณ์จริงๆ คราวนี้รับรองว่า
เพิ่มประชากรได้แน่นอนครับไม่ว่าในเขตหรือนอกเขต

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กฎเหล็ก5ข้อในการจัดทำข้อมูลOPPPปี55

เป็นการสรุปจากการบรรยายของสปสช.จากหลายๆเวที แล้วผมนำมาประมวลเอานะครับ
1. การคีย์ข้อมูลผู้มารับบริการ มีผู้มารับบริการเท่าไหร่ให้คีย์เท่านั้น ไม่เอาที่มาขอรับคำปรึกษา
couselling unspecify(ไม่มีการmake ข้อมูลเพิ่ม)
2. ใช้รหัสต่างๆให้ตรงกับมาตรฐานที่กำหนด(ทั้งจากสนย.และสปสช.)
3. การให้หัตถการให้เน้นรหัสที่สำคัญ ทั้งหัตถการที่ต้องใช้เวลา ทรัพยากรเพื่อรักษาโรคในครั้งนั้น
โดยผู้เชี่ยวชาญเช่นแพทย์หรือพยาบาล (ไม่จ่ายหัตถการแบบมั่วๆเพื่อเอาadd on)
4. ระวังอย่าจงใจปั่นข้อมูลให้สูงจนเกินค่าปกติ เพราะจะเป็นที่สงสัยและจะโดนตรวจสอบ
ซึ่งอาจนำไปสู่การที่สปสช.จะไม่จ่ายเงินให้กับสถานบริการนั้นๆ
5. ข้อมูลจาก รพ.สต. ต้องเป็นชุดเดียวกันกับที่ส่งไปที่สสจ. สนย.และสปสช.
(สสจ.ห้ามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลของรพ.สต.สรุปคือต้นน้ำและปลายน้ำคือข้อมูลชุดเดียวกัน
)


วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แก้คำนำหน้าชื่อจากที่ขึ้นต้นด้วย00ให้กลับมาเหมือนเดิม

จากที่หลายๆท่านประสบปัญหาที่ว่าหลังจากอัพเดทjhcis เป็นเวอร์ชั่น1ตุลาคม2554
แล้วนั้น พบว่าคำนำหน้าชื่อได้เปลี่ยนไปเป็น 001 002 003 004 005 ทำให้หลายๆ
ท่านตกใจว่ามีอะไรผิดไปหรือเปล่า จริงๆแล้วมันก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับแต่คนดู
อาจจะดูแปลกๆไป วันนี้ผมก็เลยจะพาท่านมาเขียนคำสั่งsql ง่ายๆเอาไว้ใช้กัน
เริ่มต้นจากให้เปิดโปรแกรมที่เขียนtext ได้ ตัวที่มีในทุกเครื่องก็น่าจะเป็นnotepad
หลังจากเปิดnotepad ขึ้นมาแล้วก็เริ่มต้นเขียนคำสั่งกันเลยนะครับ
สิ่งที่เราจะทำกันก็คือเปลี่ยนคำนำหน้า(ฟิลด์prename) จาก001 002 003 004 005
ให้เป็น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว และนาง ครับ คำสั่งคือ
update person set prename='เด็กชาย' where prename='001';
update person set prename='เด็กหญิง' where prename='002';
update person set prename='นาย' where prename='003';
update person set prename='นางสาว' where prename='004';
update person set prename='นาง' where prename='005';
จากนั้นก็บันทึกครับ ตั้งชื่อว่า เปลี่ยนคำนำหน้า.sql ส่วนด้านล่างให้เลือกเป็นall files
ส่วนencoding ให้เลือกเป็น utf8 กดบันทึกก็เป็นอันจบการเขียนคำสั่งครับ
ต่อไปจะเอาคำสั่งนี้ไปใช้ยังงัยก็ไปเปิด mysql query brower ขึ้นมาครับ
เลือกที่ เมนู file แล้วเลือก open script จากนั้นก็เลือกมาที่ไฟล์ที่เราเขียนคำสั่งไว้
เสร็จแล้วก็excute
เท่านี้คำนำหน้าชื่อก็จะกลับมาเหมือนเดิมครับ จะได้ไม่งงกับ00xต่อไป
ขอให้สนุกสนานกับการใช้โปรแกรมJHCIS ครับ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

งงมากครับกับOPPP2554 version2.0

                  นี่คือflow การตรวจสำหรับแฟ้มperson นะครับ
pe1101      จะเกิดเมื่อไม่มี pcucodeครบ5หลัก
pe1102      จะเกิดเมื่อไม่มี cid ครบ13หลัก
pe1103      จะเกิดเมื่อไม่มี pid ไม่เป็นค่าว่าง
pe1107      จะเกิดเมื่อไม่มี sex=1 or 2
pe1109      จะเกิดเมื่อไม่มีbirth=yyyymmdd yyyyเป็นปีค.ศ.
pe1110      จะเกิดเมื่อไม่มี mstatus=1-6 or 9
pe1111      จะเกิดเมื่อไม่มี occupaมีครบ 3-4หลัก
pe1112      จะเกิดเมื่อไม่มี nation มีครบ3หลัก
pe1140      จะเกิดเมื่อไม่มี typearea=0-4
                  แล้วก็จบการตรวจ
พอเรามาตรวจกับOPPP2554 version 2.0 01102554
ในtext file ก็มีเห็นๆอยู่ว่าoccupa มี3หลักครบ แต่กลับerrorที่ OPPP2554
ผมเองก็โง่ไปได้ตามโครงสร้าง4.0 อาชีพมันต้องเป็นเลข4หลัก
งั้นเราก็มาลองแก้ไขรหัสอาชีพให้มันเป็น4หลัก แล้วลองมาตรวจดูOPPP2554ดู
ปรากฏว่าผ่านหมดครับ งั้นก็พอจะบอกได้แล้วนะครับว่า ทำยังงัยถึงจะผ่านในทุกแฟ้ม
เมื่อตรวจข้อมูลด้วยOPPP2554 version2.0
แต่วันนี้4 ตุลาคม 2554สปสช.ได้ออกOPPP2554 version 2.0.1 ออกมาแล้ว อาชีพเดิมของjhcis
ซึ่งเป็น3หลัก พอเอาตรวจผ่านOPPP v2.0.1 ก็พบว่าผ่านทุกแฟ้ม
งั้นผมขอสรุปเลยแล้วกันนะครับว่าอาชีพในjhcis พวกเราก็ยังคงใช้ตัวเดิมอยู่ต่อไปครับ